Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34289
Title: โปรแกรมการพยาบาลเพื่อจัดการความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยมะเร็งวัยผู้ใหญ่ : การวิเคราะห์อภิมาน
Other Titles: Fatigue management program in adult patients with cancer : a meta-analysis
Authors: กิ่งกาญจน์ อาจเดช
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การดูแล
ความล้า -- การรักษา
Cancer -- Patients -- Care
Fatigue -- Treatment
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่ออธิบายคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับโปรแกรมการจัดการความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคมะเร็งวัยผู้ใหญ่ 2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลด้วยโปรแกรมการต่างๆต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคมะเร็งวัยผู้ใหญ่ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของงานวิจัยที่มีผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลด้วยโปรแกรมต่างๆต่อผลลัพธ์ความเหนื่อยล้าในแต่ละด้านในผู้ป่วยโรคมะเร็งวัยผู้ใหญ่ โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์ในประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2543- 2553 และรายงานวิจัยระหว่าง ค.ศ. 2000-2010 จำนวน 30 เรื่อง เครื่องมือที่นำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณณภาพงานวิจัย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา การหาความเที่ยง และนำข้อมูลไปหาค่าขนาดอิทธิพลตามแนวทางของ Borensteien และคณะ (2009) ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 135 ค่า ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ในประเทศส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (100%) สถาบันที่ทำวิจัยมากที่สุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (54.5%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยอยู่ในระดับดีมาก (83.5%) ต่างประเทศรายงานที่นำมาสังเคราะห์เป็นรายงานวิจัย (100%) ในสาขาการพยาบาล (36.8%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยอยู่ในระดับดี (80%) โปรแกรมการจัดการความเหนื่อยล้าที่ศึกษามากที่สุดคือ ลักษณะของกิจกรรมการออกกำลังกาย (50%) ลองลงมาคือลักษณะกิจกรรมการให้ข้อมูลความรู้ (28.6%) 2. ค่าขนาดอิทธิพลของโปรแกรมการปฏิบัติการพยาบาลด้วยโปรแกรมแพทย์ทางเลือกได้แก่ การนวดกดจุดสะท้อนมีผลลัพธ์ในด้านความเหนื่อยล้าโดยรวมมีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงที่สุด (d = 6.27) รองลงมาคือโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อมีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ย (d = 2.85) 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าขนาดอิทธิพล ได้แก่ ด้านเนื้อหาสาระที่มีความ สัมพันธ์กับค่าขนาดอิทธิพล ได้แก่ตัวแปรชนิดของกิจกรรม เวลาปฏิบัติกิจกรรมต่อครั้ง(นาที) จำนวนครั้งในการปฏิบัติ/วัน จำนวนวันที่ปฏิบัติ/สัปดาห์ ระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการทดลอง มะเร็งเต้านม มะเร็งโพรงมดลูก มะเร็งอวัยวะเพศหญิง มะเร็งปอด ชนิดของยาเคมีบำบัด จำนวนครั้งที่ได้รับเคมีบำบัด การบำบัดรักษา และขนาดกลุ่มตัวอย่างรวม แหล่งที่มาของกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ ประเภทเครื่องมือที่วัดตัวแปรตาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
Other Abstract: The objectives of this meta analysis are 1) To describe the characteristics of research on fatigue management program for adult cancer patients. 2) To analyze comparatively of the effect size for each patient with fatigue in adult cancer patients. 3) To analyze the characteristics of the research that has contributed to the variance of the effect size of the nursing program and the results of the fatigue in adult cancer patients. The study of research and study during 2001 - 2011 with 30 research. The instruments used to collect data as a summary and an evaluate of the research which was validated in validity, reliability. These data can determine the effect size as Borensteien (2009) and his team. The effect size is 135. Result were as follwings: 1. The majority of these studies in Thailand were Master,s thesis (100%), in Chulalongkron University (70%), is more than of them were at very good quality (83.5%). The international studies were journal (100%), in field of doctor (60%). Almost half of these studies were published between 2008 – 2010 (43.3%). Quasi experimental study were mostly used in the research studies, and more than half of them mid quality. A program fatigue management and intervention are mostly exercise and education program is same (50%), and second is comprementary program (30%). 2. The effect size of the intervention program with the alternative medicine, eg. the massage, reflexlogy have the result in the overall fatigue. It has the effect size with the highest average (d = 6.27) The. exercise program with muscle relaxation has an average effect size (d = 2.85). 3. Factors related to effect size eg. how to select the sample, the source of the samples, control variables, the reliability, validity, and construct the instrument, the activity time, the number of activities per day, number of days per week were performed, the amount of time used in all experiments, the experimental group.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34289
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.457
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.457
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kingkarn_ar.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.