Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34317
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดนีญา อุทัยสุข | - |
dc.contributor.author | สุมันต์ พัวสุริยัน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพมหานคร | - |
dc.date.accessioned | 2013-08-08T08:51:48Z | - |
dc.date.available | 2013-08-08T08:51:48Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34317 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์วิชาทฤษฎีดนตรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาระดับของการรับรู้ความสามารถของตนเองและระดับความสำคัญของปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองกับผลสัมฤทธิ์วิชาทฤษฎีดนตรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนที่เรียนวิชาเอกดนตรีสากล ที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2554 แผนการเรียน ศิลป์-ดนตรี ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวราราม จำนวน 5 คน นักเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป จำนวน 26 คน และนักเรียนโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร จำนวน 28 คน รวม 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านทฤษฎีดนตรี 3) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านทฤษฎีดนตรี และ 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยของการรับรู้ความสามารถของตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอ้างอิงโดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางด้านทฤษฎีดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับปานกลาง (M = 47.53, SD = 22.35) 2) คะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองทางด้านทฤษฎีดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.31, SD = .87) และคะแนนรวมระดับความสำคัญของปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับสูง (M = 109.07, SD = 21.52) โดยแบ่งออกเป็น 4 ปัจจัย ได้แก่ ระดับความสำคัญของปัจจัยด้านความสำเร็จจากการกระทำ อยู่ในระดับกลาง (M = 58.89, SD = 17.99) ระดับความสำคัญของปัจจัยด้านการได้เห็นประสบการณ์ของผู้อื่น อยู่ในระดับสูง (M = 70.9, SD = 17.22) ระดับความสำคัญของปัจจัยด้านการใช้คำพูดชักจูง อยู่ในระดับสูง (M = 67.67, SD = 17.38) และระดับความสำคัญของปัจจัยด้านสภาวะทางร่างกายและอารมณ์ อยู่ในระดับกลาง (M = 65.52, SD = 13.61) และ 3) คะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองทางด้านทฤษฎีดนตรี มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับผลสัมฤทธิ์วิชาทฤษฎีดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .66 ซึ่งมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง | en_US |
dc.description.abstractalternative | The methodology of this research was to survey. The objectives of research were 1) to study twelfth grade students’ music theoretical achievement 2) to study twelfth grade students’ self-efficacy perception and their self-efficacy factors perception and 3) to study the relationships between twelfth grade students’ self-efficacy perception and their music theoretical achievement. The sample of this research were 59 twelfth grade students from the music-focused basic education institutions in Bangkok and vicinity including five students from Watsuthiwararam school, twenty-six students from The College of Dramatic Arts and twenty-eight students from Mattayom Sangkeetwitaya Bangkok School. The research instruments were 1) personal information questionnaires 2) music theoretical achievement test 3) self-efficacy questionnaires and 4) self-efficacy’s factors questionnaires. The collected data were analyzed by descriptive statistics (calculating the frequency, percentage, M, SD) and inferential statistics by Pearson correlation. The results of the study revealed that: 1) the twelfth grade students received their music theoretical achievement score at the moderate level. (M = 47.53, SD = 22.35) 2) The twelfth grade students rated their self-efficacy perception at the moderate level (M = 2.31, SD = .87) and rated their self-efficacy factors perception at the high level (M = 109.07, SD = 21.52) including 4 factors from Enactive Attainment at the moderate level (M = 58.89, SD = 17.99), Vicarious Experience at the high level (M = 70.9, SD = 17.22). Verbal Persuasion at the high level (M = 67.67, SD = 17.38) and Physiological and Affective State at the moderate level (M = 65.52, SD = 13.61) and 3) Self-efficacy was positively correlated at the moderate level and significantly correlated with music theoretical achievement at the .01 level (r = .66). | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.442 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การรับรู้ตนเอง | en_US |
dc.subject | ดนตรี -- การศึกษาและการสอน | en_US |
dc.subject | Self-perception | en_US |
dc.subject | Music -- Study and teaching | en_US |
dc.title | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองกับผลสัมฤทธิ์ทางด้านทฤษฎีดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6: กรณีศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้หลักสูตรเน้นด้านดนตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล | en_US |
dc.title.alternative | A study of relationships between twelfth grade students’ self-efficacy and their music theoritical achievement : a case study of music-focused basic education institutions in Bangkok and vicinity | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ดนตรีศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | noonnin@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.442 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
suman_pu.pdf | 4.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.