Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34379
Title: รูปแบบที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Locational pattern of industry in Chiang Mai province
Authors: บุษกร สิงขรัตน์
Advisors: ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โรงงาน -- สถานที่ตั้ง
อุตสาหกรรม
การใช้ที่ดิน -- ไทย (ภาคเหนือ)
นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ -- ไทย -- เชียงใหม่
โรงงาน -- ไทย (ภาคเหนือ)
ผังเมือง -- เชียงใหม่
อุตสาหกรรม -- เชียงใหม่
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะและรูปแบบที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ และวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในความคิดเป็นของผู้ประกอบการ และนักวิชาการ เพื่อทราบถึงแนวโน้มรูปแบบที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งทราบถึงความสอดคล้องกันระหว่างแนวความคิดทางทฤษฎีและการนำไปปฏิบัติเพื่อเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ผลของการศึกษาพบว่า แนวโน้มการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมจะตั้งอยู่บริเวณชานเมือง และอำเภอรอบนอกใกล้เขตเมือง โดยตั้งอยู่ริมถนนสายสำคัญที่ใช้เป็นเส้นทางติดต่อกับเขตเมืองได้สะดวกและมีสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่จำเป็น โดยประเภทอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ อุตสาหกรรมประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหาร นอกจากนี้ในการทดสอบสมมุติฐานที่ว่า ลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการ และนักวิชาการไม่แตกต่างกัน ปรากฏผลว่ายอมรับสมมุติฐานดังกล่าว ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในความคิดเห็นของผู้ประกอบการ และนักวิชาการ ได้แก่ ปัจจัยการคมนาคมขนส่ง มีบริการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ปัจจัยแหล่งวัตถุดิบ ปัจจัยแหล่งตลาด และปัจจัยแหล่งแรงงาน ส่วนปัจจัยที่ให้ความสำคัญรองลงมาได้แก่ ปัจจัยที่ดิน ปัจจัยการเป็นแหล่งท่องเที่ยว ปัจจัยแหล่งพลังงาน ปัจจัยใกล้โรงงานที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน คล้ายกัน หรือเกี่ยวข้องกัน และปัจจัยแหล่งเงินทุน การทราบถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจะก่อประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาพื้นที่ การกำหนดย่านอุตสาหกรรมที่เหมาะสม ทั้งนี้ได้มีการหยิบยกเอานิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมาเป็นกรณีศึกษา ซึ่งพบว่านิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือไม่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะผู้ประกอบการในท้องถิ่น เนื่องจากผู้ประกอบการดังกล่าวได้นำเอาพฤติกรรมความรู้สึกส่วนตัว เช่น ความคุ้นเคย ค่านิยม ความพอใจ ความมีชื่อเสียงของพื้นที่ รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการมีที่ดินเป็นของตนเองอยู่แล้ว ประกอบกับราคาที่ดินในเขตนิคมอุตสาหกรรมสูง จึงเป็นการยากที่จะดึงความสนใจให้ผู้ประกอบการดังกล่าวเข้ามาตั้งโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม ส่งผลให้นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จากผลการศึกษา ได้เสนอแนะแนวทางไว้ดังนี้คือ 1) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้ว โดยพัฒนาการใช้ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพของเมือง และนโยบายต่างๆ ของรัฐ 2) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ สนับสนุนให้มีการกขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่รอบนอกที่มีปัจจัยสำคัญต่อการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละประเภทโดยทั้ง 2 แนวทางนี้ควรที่จะดำเนินการไปด้วยกันจึงจะก่อให้เกิดการเลือกที่ตั้งในการประกอบการอุตสาหกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของเมืองและทำให้การใช้ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมมีความเป็นระเบียบไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของเมือง อีกทั้งรัฐบาลที่จะวางแผนในการจัดบริการพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบการอุตสาหกรรมได้อย่างทั่วถึง สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมของจังหวัด ซึ่งจะเป็นการขยายบทบาทให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นแหล่งที่มีความสำคัญทางด้านอุตสาหกรรม และเป็นการขยายฐานทางเศรษฐกิจของจังหวัดให้กว้างขึ้นอีกด้วย
Other Abstract: The objectives of this thesis is to study characteristics and pattern of industrial location in Chiang Mai, including analyzing factors which influence to entrepreneur decision about industrial location in Chiang Mai. Besides, it’s to be preceive consonance between theoretical concept and practical conduction of industrial location. The results of the study found that tendency of industrial expansion is to be located in suburban and in adjoined district. They are mostly on main roads which easily link with urban area with providing infrastructure. The industries, having high expansion, are the tourism-integrated industry, and ago-industry. In addition to the hypothesis test about rank of factors influencing on decision about industrial location of entrepreneur and experts. It shows that their opinion difference does not make any statistical significant which are significant factors of entrepreneur and experts. The factors, having influenced on decision of industrial location, are as follows : transportation, infrastructure, raw-material, market and labour. The other important factors are land, tourism-place, energy source and accessibility to other businesses specializing in the same product. Knowing factors influent on decision of principal industrial location in advantageous for land-development planning and to designate appropriate industrial areas. In addition, the northern industrial estate has been educe as a case-study for the factor affected the interpreneur decision. It’s found that the northern industrial estate has no effect on decision of industrial location, especially local entrepreneur. It is on account that the mentioned entrepreneur have concentration their behavior, personal judgment on : acquaintance, value, statisfication, familiarity of location and being existing land-ownership. For a while, owing to high-cost of land in industrial estate, it’s difficult to arouse the above entrepreneur to locate plants in the industrial estate; resulting the industrial estate not to be successful as expected. The outcome of study generate guidelines as follow : 1) Should be developed for existing plants, the industrial landuse efficiently respond with urban condition and government policies. 2) For new-established plants, we should encourage the expansion in the other-areas which prossess the suitable infrastructure facilities. These two guidelines should be conducted simultaneously, thus these lead to decision of suitable industrial location which is in line with urban condition. Meanwhile, they lead to regulary industrial landuse and not to be detrimental’ to urban environment. Additionally, the government can plan to provide basic service thouroughly for industrial conformation. These quideline factors will generate the provincial industrial development in order to increase the role of Chiang Mai to be an industrial oriented province.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34379
ISBN: 9745773697
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Busakorn_si_front.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open
Busakorn_si_ch1.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open
Busakorn_si_ch2.pdf11.76 MBAdobe PDFView/Open
Busakorn_si_ch3.pdf10.99 MBAdobe PDFView/Open
Busakorn_si_ch4.pdf15.1 MBAdobe PDFView/Open
Busakorn_si_ch5.pdf36.46 MBAdobe PDFView/Open
Busakorn_si_ch6.pdf7.25 MBAdobe PDFView/Open
Busakorn_si_back.pdf10.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.