Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34382
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณศิลป์ พีรพันธุ์
dc.contributor.authorบุษบง ชัยเจริญวัฒนะ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-08-08T10:06:36Z
dc.date.available2013-08-08T10:06:36Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745648906
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34382
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en_US
dc.description.abstractสงขลาเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญที่สุดจังหวัดหนึ่งของภาคใต้ ทั้งนี้เนื่องจากมีพื้นที่ที่มีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาอยู่ในระดับสูง อีกทั้งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ยังได้กำหนดให้สงขลา/หาดใหญ่ เป็นเมืองหลักของภาคใต้ โดยมีโครงการพัฒนาที่สนับสนุนนโยบายนี้หลายโครงการด้วยกัน ในส่วนรวมแล้วย่อมจะส่งผลให้เกิดความเจริญเติบโตทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดสงขลา และพื้นที่โดยรอบเป็นอย่างมาก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาสภาพพื้นฐานและศักยภาพในการพัฒนาของพื้นที่จังหวัดสงขลา ทั้งในด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งศึกษาถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ตลอดจนลักษณะและโครงสร้างของปัญหาเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อที่จะนำไปสู่การเสนอแนะรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาที่เหมาะสมต่อไป ผลของการศึกษา สรุปได้ว่า ในระดับจังหวัดนั้น จังหวัดสงขลามีระดับการพัฒนาในปัจจุบัน และศักยภาพในการพัฒนาต่อไปในอนาคตค่อนข้างสูง เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณารายละเอียดย่อยลงไปในระดับอำเภอและตำบล จะพบว่า ระดับการพัฒนาของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนศักยภาพในการรองรับการพัฒนายังมีความแตกต่างกันอยู่มาก โดยเฉพาะในระดับอำเภอนั้น เมื่อจำแนกพื้นที่จังหวัดออกตามศักยภาพในการรองรับการพัฒนา พบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพในการรองรับการพัฒนาสูง ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอเมืองสงขลา พื้นที่ที่มีศักยภาพในการรองรับการพัฒนาปานกลาง ได้แก่ อำเภอสะเดา อำเภอระโนด อำเภอรัตภูมิ อำเภอสทิงพระ และอำเภอจะนะ และพื้นที่ที่มีศักยภาพในการรองรับการพัฒนาต่ำ ได้แก่ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย กิ่งอำเภอกระแสสินธ์ และกิ่งอำเภอนาหม่อม และเมื่อวิเคราะห์รายละเอียดของการพัฒนาลึกลงไปในระดับตำบล ก็พบว่า การที่ระดับการพัฒนามีความแตกต่างกันนั้น นอกจากจะเกิดขึ้นจากข้อจำกัด และปัญหาทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมแล้ว ยังเกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรต่างๆ ยังไม่เต็มที่ตามศักยภาพที่มีอยู่ เมื่อพิจารณารายละเอียดทั้งในด้านศักยภาพในการรองรับการพัฒนาสภาพปัญหา และความสัมพันธ์ต่อเนื่องของพื้นที่แล้ว สามารถแบ่งพื้นที่จังหวัดสงขลาออกได้ 4 บริเวณด้วยกัน คือ 1. เขตเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมก้าวหน้า เป็นพื้นที่ที่มีระดับการพัฒนาสูงสุด มีความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุด ได้แก่พื้นที่บริเวณตอนกลางของจังหวัด ซึ่งมีศูนย์กลางชุมชนหลักร่วมกัน 2 แห่ง คือ เทศบาลเมืองหาดใหญ่ และเทศบาลเมืองสงขลา ทำหน้าที่เป็นเมืองหลักที่จะเหนี่ยวนำการพัฒนา และกระจายบริการให้กับพื้นที่โดยรอบ 2. เขตพื้นที่แถบชายแดน เป็นพื้นที่ที่มีการเติบโตค่อนข้างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศกับประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย 3. เขตพื้นที่เกษตรที่ราบ ได้แก่ พื้นที่ทางตอนบนของจังหวัด ซึ่งเป็นที่ราบกว้างเหมาะต่อการทำนา ดังนั้น จึงเป็นแหล่งผลิตข้าวสำหรับป้อนจังหวัด สภาพเศรษฐกิจในเขตนี้ไม่เติบโตเท่าที่ควร และมีการย้ายออกของประชากรในพื้นที่มากกว่าที่อื่นๆ 4. เขตพื้นที่เกษตรกรรมที่สูง ได้แก่ พื้นที่ทางตอนใต้ของจังหวัด ซึ่งมีข้อจำกัดด้านกายภาพ เป็นพื้นที่ป่า และภูเขาเสียเป็นส่วนใหญ่ มีสมรรถนะดินเพื่อการเกษตรกรรมต่ำสภาพเศรษฐกิจในบริเวณนี้นับว่าล้าหลังที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่บริเวณอื่นๆ บทบาทของจังหวัดสงขลาในอนาคตที่มีต่อภูมิภาค คือ การเป็นศูนย์การพัฒนาเศรษฐกิจหลักของภาค มีลักษณะของการเป็นขั้วความเจริญ (Growth pole) นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางด้านต่างๆ ทั้งการคมนาคมขนส่ง การศึกษา การบริหาร และการปกครอง สำหรับแนวทางในการพัฒนาที่เสนอแนะนั้น ผู้ศึกษาได้จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างที่สำคัญๆ ได้แก่ ข้อเสนอแนะในการจัดรูปแบบการใช้ที่ดินในอนาคต การจัดระบบชุมชนที่เหมาะสม การจัดระบบและโครงข่ายการคมนาคมในอนาคต ตลอดจนการกำหนดโครงสร้าง แผนงาน และโครงการพัฒนาพื้นฐานอื่นๆ ซึ่งคาดว่าหากได้มีการนำเอาไปปฏิบัติอย่างจริงจังแล้วก็จะช่วยให้สามารถยกระดับการพัฒนาของพื้นที่ที่มีปัญหาให้สูงขึ้น รวมทั้งสามารถยกระดับและบทบาทของจังหวัดสงขลาในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางหลักของภาคใต้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาและนำเอาทรัพยากรในพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะช่วยลดความแตกต่างของการพัฒนาพื้นที่ และเปิดโอกาสให้ประชากรในเขตชนบทล้าหลังได้รับผลตอบแทนของการพัฒนาได้เท่าเทียมกับพื้นที่อื่นๆ
dc.description.abstractalternativeSongkhla becomes one of the most important provinces in southern Thailand because of its potentials and readiness for high development. The Fifth National Economic and Social Development Plan has set Songkhla/Ha-ad Yai as the secondary province of the South. There are many developing projects to support this policy which generates both economic and social growth in Songkhla and nearby provinces. This thesis is aimed to study basic conditions and development potentials of Songkhla physically, economically, and socially, including problems of the area as well as characteristics and structures of these problems. This will lead to suggestive paradigms and prospects of suitable development. The consequences of this thesis can be summarized as follows. Songkhla has high levels of present development and future potentials of development because of several factors facilitating development physically, economically and socially. However, by considering details of amphor and tambon levels, there are great differentiations of development levels in each area and potentials to support the development, especially at the amphor level. When the province is divided into amphor level in accordance with their potentialities, it is found that Amphor Ha-ad Yai and Amphor Muang Songkhla become areas of high potential development. Whilst Amphor Sadao, Amphor Ranode, Amphor Rattaphume, Amphor Sathingpra, and Amphor Jana become areas of medium potential development. And, Amphor Thaypa, Amphor Natawee, Amphor Sabayoy, King- Amphor Krasaesin, and King- Amphor Namom and areas of low potential development. When considering at tambon level, it is found that the differentiations occur not only because of limitations and problems physically, economically, and socially but also because of the abuse land uses and the inefficient uses of resources. By considering potentialities to support development, problems, and consequent relations of the areas, Songkhla Province can be divided into 4 sub-areas: 1. Sub-area of Economic and Progressive Industrial Area. This sub-area has the highest level of development : highest economic growth. This sub-area is the central part of the province which has 2 main centers : Ha-ad Yai Municipality and Songkhla Municipality. Both centers function as the inducement of development and service distribution of the outskirts. 2. Sub-area of Border Land. This sub-area grows rather rapidly because of economic activities, especially the international trade with Malaysia. 3. Sub-area of Agricultural Planin Land. This sub-area is the upper part of the province which is a wide plain land suitable for paddy. This sub-area, hence, becomes the major source of Province’s supply of rice. Economic activities in this sub-area do not grow well ; therefore, there is the highest out-migration. 4. Sub-area of Agricultural High Land. This sub-area is the southern part of the province which has physical limitations. Most of the land are forests and mountains. Agricultural soil potential is low. Economic activities in this area are worst. The role of Songkhla Province in the future with respect to the (Southern) Region is the center of economic development of the Region. It becomes the growth pole of the Region. Besides, it eminently functions as the centers of communication and transportation, education, administration, and government. This thesis proposes major development programs : proposals for future land use pattern, suitable community system, future communication system and network, structural set-ups, plans, and infrastructural projects. It is aimed that, if implemented efficiently it will up-grade the levels of development of the problem area as well as up-grading Songkhla as a central core of the southern region. This will induce not only the development of the peripheries efficiently but also the optimum development of resources. This will eliminate the disparities of development in the area and open opportunities for population in the backward areas to receive equal rewards of development spatially.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาชุมชน
dc.subjectสงขลา -- ภาวะเศรษฐกิจ
dc.subjectสงขลา -- ผังเมือง
dc.titleการศึกษาเพื่อวางแผนพัฒนาจังหวัดสงขลาen_US
dc.title.alternativeA study for Songkhla development planningen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการผังเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Butsbong_ch_front.pdf8.35 MBAdobe PDFView/Open
Butsbong_ch_ch1.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Butsbong_ch_ch2.pdf6.01 MBAdobe PDFView/Open
Butsbong_ch_ch3.pdf18.37 MBAdobe PDFView/Open
Butsbong_ch_ch4.pdf60.91 MBAdobe PDFView/Open
Butsbong_ch_ch5.pdf28.19 MBAdobe PDFView/Open
Butsbong_ch_ch6.pdf17.01 MBAdobe PDFView/Open
Butsbong_ch_back.pdf15.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.