Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34392
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารกับความทันสมัยของผู้นำท้องถิ่น
Other Titles: The relationship between communication behavior and modernity of the community leaders
Authors: บุษบา สุธีธร
Advisors: จุมพล รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การสื่อสาร
ผู้นำชุมชน
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารกับความทันสมัยของผู้นำท้องถิ่น ครั้งนี้ ศึกษาเฉพาะผู้นำท้องถิ่นที่เข้าเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการปกครองท้องที่ รุ่นที่ 1 ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 727 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสื่อสาร กับความทันสมัย และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารกับความทันสมัยของผู้นำท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งส่งไปยังผู้นำท้องถิ่นทางไปรษณีย์ มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับเป็นจำนวน 585 คน คิดเป็นร้อยละ 80.47 ของกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ส่วนที่เป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) และส่วนที่เป็นการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าไคสแควร์ (Chi-square) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพาเชียล (Partial correlation) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSSx ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. การติดต่อกับสังคมภายนอก การสื่อสารระหว่างบุคคล มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อมวลชนเป็นค่าบวก ส่วนอายุและระดับการศึกษาเดิม พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อมวลชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ คนที่มีการติดต่อกับสังคมภายนอกสูงหรือมีการสื่อสารระหว่างบุคคลสูง มีแนวโน้มที่จะมีการเปิดรับสื่อมวลชนในระดับสูง แต่สำหรับความแตกต่างด้านอายุหรือระดับการศึกษาเดิม ไม่สามารถใช้เป็นตัวชี้ให้เห็นแนวโน้มของการเปิดรับสื่อมวลชนได้ 2. ตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ระดับการศึกษาเดิม การติดต่อกับสังคมภายนอก การสื่อสารระหว่างบุคคล ตัวแปรดังกล่าวแต่ละตัวแปรมีค่าความสัมพันธ์กับความทันสมัยเป็นค่าบวก ส่วนตัวแปรด้านอายุไม่มีความสัมพันธ์กับความทันสมัย กล่าวคือ คนที่มีระดับการศึกษาเดิมสูงหรือมีการติดต่อกับสังคมภายนอกสูงหรือมีการสื่อสารระหว่างบุคคลสูง มีแนวโน้มที่จะมีความทันสมัยในระดับสูง แต่สำหรับความแตกต่างด้านอายุไม่สามารถใช้เป็นตัวชี้ให้เห็นแนวโน้มของระดับความทันสมัยได้ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อมวลชนกับความทันสมัยเป็นค่าบวก กล่าวคือ คนที่มีการเปิดรับสื่อมวลชนในระดับสูง มีแนวโน้มที่จะมีความทันสมัยในระดับสูงด้วย 4. ค่าความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษาเดิม อายุ การติดต่อกับสังคมภายนอก การสื่อสารระหว่างบุคคล แต่ละตัวแปรกับความทันสมัย เมื่อยังมิได้ควบคุมความสัมพันธ์ของการเปิดรับสื่อมวลชนจะแตกต่างกับความสัมพันธ์ของตัวแปรดังกล่าว เมื่อควบคุมความสัมพันธ์ของการเปิดรับสื่อมวลชน แสดงให้เห็นว่า การเปิดรับสื่อมวลชนเป็นตัวแปรแทรกในกระบวนการทำให้ทันสมัย 5. การเปิดรับสื่อมวลชนเป็นตัวแปรที่อธิบายความทันสมัยได้ดีที่สุด โดยเฉพาะการเปิดรับหนังสือพิมพ์
Other Abstract: The purpose of this research project was to study communication behavior and modernity and to discover a relationship between communication behavior and modernity among 727 community leaders who enrolled in the first group for Sukhothai Thammathirat Open University’s Certificate Course in Local Administration. Data was collected by posting questionnaires to the community leaders and some 587 questionnaires, representing 80.47% of the total sent to the sample group, were returned. Analysis of the data was divided into two sections: a percentage value was obtained and was used in descriptive analysis; Chi-square, Pearson Product Moment Correlation, Partial Correlation and Multiple Regression were used to test the hypothesis. The SPSSx computer programme was used in data processing. The major results of this study were as follows: 1. There was a positive relationship between cosmopolite, interpersonal communication and mass media exposure. However, with regard to age and education no significant statistical correlation was observed. Those, who were highly cosmopolite or who demonstrated a high level of interpersonal communication, tended to have experienced a high degree of mass media exposure but differences in the variables such as age and education were not able to be used to reveal any particular level of mass media exposure. 2. There was a positive relationship between the degree of modernity and the variables : education, cosmopolite and interpersonal communication but the age variable was not significantly correlated. Thus, those with a relatively high level of education and/or cosmopolite and/or interpersonal communication tended to exhibit a high level of modernity, but this was unaffected by the variable. 3. There was a positive relationship between modernity and mass media exposure. Those who had experienced a high level of mass media exposure tended to show a greater degree of modernity, too. 4. The relationship between modernity and the variables of level of education, age, cosmopolite and interpersonal communication which was not controlled by mass media exposure was different from that which was controlled by mass media exposure. Thus, mass media exposure was found to be the intervening variable in the process of modernity. 5. Mass media exposure, especially to the medium of newspapers, was the most obvious factor explaining modernity.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34392
ISBN: 9745642355
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bussaba_su_front.pdf6.54 MBAdobe PDFView/Open
Bussaba_su_ch1.pdf7.96 MBAdobe PDFView/Open
Bussaba_su_ch2.pdf11.17 MBAdobe PDFView/Open
Bussaba_su_ch3.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open
Bussaba_su_ch4.pdf9.72 MBAdobe PDFView/Open
Bussaba_su_ch5.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open
Bussaba_su_back.pdf19.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.