Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34422
Title: | ผลจากการใช้กิจกรรมตามแผนการสอน กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ตามการรับรู้ของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 |
Other Titles: | Results from using learning activities according to the lesson plans in the area of work-oriented experiences as perceived by prathom suksa four teachers |
Authors: | อนงค์ คำจันทร์ |
Advisors: | นิรมล สวัสดิบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เกี่ยวกับผลที่เกิดแก่นักเรียนในด้านความรู้ คุณธรรม และทักษะการทำงาน จากการใช้กิจกรรมตามแผนการสอนกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ของกระทรวงศึกษาธิการ วิธีดำเนินการ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูผู้สอนกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 ปีการศึกษา 2525 และโรงเรียนดีเด่นตามโครงการประกวดโรงเรียนดีเด่นของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ปีการศึกษา 2526 โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้ตัวอย่างประชากร จำนวน 309 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัย ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในการวิจัยนี้ ส่วนใหญ่เห็นว่า กิจกรรมตามแผนการสอนกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ส่วนใหญ่ให้ผลในด้านความรู้ ขั้นการนำไปใช้มากที่สุด ส่วนด้านคุณธรรมให้คุณธรรมในข้อที่ว่าด้วยความรับผิดชอบมากที่สุด สำหรับด้านทักษะการทำงานไม่มีกิจกรรมใดให้ผลเด่นชัดในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ |
Other Abstract: | Purpose To study Prathom Suksa Four Teachers’ perception of the students learning, resulting from using learning activities from work-oriented experiences lesson plans of the Ministry of Education, on three aspects: cognitive, moral, working skill. Procedures The sample of the study was 309 teachers who taught in the area of work-oriented experiences in leader-schools of the curriculum implementation project, academic year 1982 and in the outstanding elementary schools, academic year 1983. The sample was obtained by means of multi-stage sampling. Questionnaires and interviewing forms were the tools in collecting data. Percentage was used for data analysis. Findings Prathom Suksa Four teachers in this study perceived most activities according to the Prathom Suksa Four lesson-plans in the area of work-oriented experiences as yielding learning effect to students on implementation of knowledge in the cognitive aspect, and on responsibility in the moral aspect. In the working skill aspect, however, the effect was not distinctive in any specific area. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34422 |
ISBN: | 9745661244 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anong_ka_front.pdf | 7.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_ka_ch1.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_ka_ch2.pdf | 14.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_ka_ch3.pdf | 5.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_ka_ch4.pdf | 42.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_ka_ch5.pdf | 8.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_ka_back.pdf | 18.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.