Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34452
Title: | กฎหมายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาทรัพยากรป่า |
Other Titles: | Law and people participation in forestry resources cevelopment |
Authors: | อนวัช ยาวิชัย |
Advisors: | บวรศักดิ์ อุวรรณโณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การจัดการป่าไม้ -- ไทย การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้และการป่าไม้ -- ไทย กฎหมายป่าไม้ ป่าชุมชน -- ไทย การอนุรักษ์ป่าไม้ -- ไทย การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนในชนบทที่อยู่ใกล้ชิดกับป่า เพราะป่าเปรียบเสมือนแหล่งปัจจัย 4 และแหล่งรายได้เสริมที่ประชาชนในชนบทได้พึ่งพา อีกทั้งเป็นแหล่งให้ความชุ่มชื้นและต้นน้ำลำธารสำหรับการเกษตร ปัจจุบันปรากฏว่าทรัพยากรป่าของประเทศไทยมีปริมาณลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว จนก่อให้เกิดสภาวะวิกฤตทางระบบนิเวศน์ อันก่อให้เกิดผลเสียและปัญหาต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ สาเหตุของปัญหานี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากการดำเนินการจัดการทรัพยากรป่าของรัฐ ภายใต้นโยบายและกฎหมายที่เป็นอยู่ ซึ่งถือว่าทรัพยากรป่าเป็นของรัฐ และรัฐแต่ผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ ซึ่งผลที่ปรากฏออกมานั่นคือ พื้นที่ป่าของประเทศเหลืออยู่เพียงไม่ถึงร้อยละ 30 ของพื้นที่ประเทศ ดังนั้น แนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาทรัพยากรป่าให้เกิดผลดีต่อไป จึงต้องเปลี่ยนแนวความคิดการจัดการป่าเสียใหม่ จากแนวความคิดดั้งเดิมที่รัฐแต่ผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการใช้ประโยชน์ ซึ่งไม่สามารถจัดการให้เกิดผลดีได้ ไปสู่แนวทางการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่า ซึ่งจะทำให้ป่ายังคงอยู่และมีปริมาณเพิ่มขึ้น ดังจะเป็นได้จากสภาพความเป็นจริงและประสบการณ์อันยาวนาน ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าประชาชน โดยเฉพาะชุมชนในท้องถิ่นชนบท มีศักยภาพที่สามารถจัดการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าได้ โดยไม่ทำให้สภาพของป่าเสื่อมสภาพหรือหมดสิ้นไป ดังจะเห็นได้จากกรณีของชาวบ้านหมู่บ้านทุ่งยาว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และในอีกหลายๆ ท้องที่ในประเทศไทย แนวทางการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่านี้ ได้ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 แต่เนื่องจากในการดำเนินการยังไม่มีกฎหมายที่ให้อำนาจกับประชาชนไว้อย่างชัดแจ้ง อันจะทำให้การพัฒนาทรัพยากรป่าสามารถบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการกระจายอำนาจการจัดการป่าให้ประชาชนโดยองค์กรชุมชน ให้มีอำนาจจัดการตามกฎหมาย ภายในกฎ ระเบียบที่ชุมชนกำหนดขึ้น จะสามารถทำให้การพัฒนาทรัพยากรป่าประสบผล อันจะก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์สุขต่อประเทศชาติโดยส่วนรวมในที่สุด |
Other Abstract: | Natural forest resources are important to human life and to the way of life especially people who live close to the forest. Forest provides them with the necessities of life and source of income. At present, the total forest area in Thailand is rapidly decreasing which greatly affects the ecological system and thus, causing problems in economic, social and political structures of the country. It can be said that forest resource management undertaken by the government under present law and policy defines that the forest belongs to the government and that only the government can utilize it. This forest law and policy couse natural forest area to decrease to only 30% of total land over in Thailand. The solutions to these problems should be based on the fact that these ideas must be changed. People should be given make opportunity to participate in forest resource management. Facts and experiences of the past show that forest can remain for a long time and may even increase in some areas particularly in communities which are efficient in forest maintenance and utilization with out adverse impact to the forest environment, example can be seen in the village of Baan Thungyao, Tambol Sribuaban, Muang District, Lamphun Province and in some other isolated areas in the country. This trend in participation of the people in the forest resource management is show in the Sixth National Economic and Social Development Plan. However, in the actual implementation of this idea, there has been no law granting authority to the people to implement the plan. From the results of this study, it was found that providing authority in forest resource management to community organizations under the law using regulation set up by members of the community themselves, can help develop forest resources with high efficiency and could give greater benefits to the community. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34452 |
ISBN: | 9745792608 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anawach_ya_front.pdf | 8.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anawach_ya_ch0.pdf | 47.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anawach_ya_ch1.pdf | 13.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anawach_ya_ch2.pdf | 5.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anawach_ya_back.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.