Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34462
Title: ผลของเวลากักน้ำในถังแอนแอโรบิกที่มีต่อการกำจัดซีโอดี ในกระบวนการแอกทิเวเตดสลัดจ์แบบแอนแอโรบิก-แอโรบิก
Other Titles: Effects of hydraulic retention time in anaerobic tank on cod removal in anaerobic-aerobic activated sludge process
Authors: อนันต์ กาญจนวุฒิธรรม
Advisors: ธีระ เกรอต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดี และลักษณะการจมตัวของตะกอนในกระบวนการแอกทิเวเตดสลัดจ์แบบแอนแอโรบิก-แอโรบิก น้ำเสียที่ใช้ในการทดลองเป็นน้ำเสียจากการผลิตเบียร์ มีค่าซีโอดี 1,000 มก./ล. ปรับสภาพให้มีค่าอัตราส่วน COD : N : P ที่ 150 : 5 : 2 การป้อนน้ำเสียเข้าสู่ระบบเป็นแบบต่อเนื่อง มีอัตราส่วนการเวียนตะกอนกลับเท่ากับ 100% โดยแปรค่าเวลากักน้ำในถังแอนแอโรบิก 4 ค่า คือ 1, 3, 5 และ 7 ชั่วโมง ทำให้ค่าอัตราส่วนส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์ในถังแอนแอโรบิกเท่ากับ 16.1, 5.6, 3.0 และ 1.9 กก. ซีโอดีต่อ กก. ตะกอนจุลินทรีย์ต่อวันตามลำดับ พบว่า เวลากักน้ำในถังแอนแอโรบิกมีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี ที่ค่าเวลากักน้ำในถังแอนแอโรบิกน้อยกว่า 5 ชั่วโมง ซึ่งให้ค่าอัตราส่วนปริมาณสารอาหารต่อจุลินทรีย์มากกว่า 3.0 กก. ซีโอดีต่อ กก. ตะกอนจุลินทรีย์ต่อวัน ให้ค่าประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีในช่วงแอนแอโรบิกแตกต่างกันน้อยมาก ค่าประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีอยู่ในช่วงร้อยละ 60-64 เท่านั้น แต่ที่ค่าเวลากักน้ำเท่ากับ 7 ชั่วโมง ซึ่งให้ค่าอัตราส่วนปริมาณสารอาหารต่อจุลินทรีย์เท่ากับ 1.9 กก. ซีโอดีต่อ กก. ตะกอนจุลินทรีย์ต่อวัน ให้ค่าประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีของถังแอนแอโรบิกสูงขึ้นถึงร้อยละ 84 ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีของถังแอนแอโรบิกมีผลต่อค่าดัชนีปริมาตรของตะกอน ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีของถังแอนแอโรบิกที่สูงกว่าร้อยละ 80 จะให้ค่าดัชนีปริมาตรตะกอนที่ค่าต่ำกว่า 200 มิลลิลิตรต่อกรัม ค่าอัตราส่วนปริมาณสารอาหารต่อจุลินทรีย์ของถังแอนแอโรบิกที่เหมาะสมจะมีค่าประมาณ 1.9 กก. ซีโอดีต่อกก. ตะกอนจุลินทรีย์ต่อวัน
Other Abstract: The purposes of this research were to study the COD removal efficiency and sludge settleability in anaerobic-aerobic activated sludge process. Influent wastewater was brewery wastewater with COD concentration of 1,000 mg/l and provided COD : N : P ratio as 150 : 5 : 2. The wastewater was brewery wastewater with COD concentration of 1,000 mg/l. and provided COD : N : P ratio as 150 : 5 : 2. The wastewater was fed continuously and the rate of return activated sludge was 100%, resulting in F/M ratio of 16.1, 5.6, 3.0 and 1.9 kg COD/kg. MLSS-day respectively. It was found that the anaerobic retention time influenced the COD removal in anaerobic tank. For anaerobic retention time less than 5 hours which provided F/M ratio in the anaerobic tank more than 3.0 kg COD/kg MLSS-day the COD removal efficiency were in the range from 60 to 64%. While the anaerobic retention time of 7 hours which provided the F/M ratio in anaerobic tank of 1.9 kg COD/kg MLSS-day, the COD removal efficiency was 84%. In addition, the COD removal efficiency the sludge volume index (SVI). When the COD removal in anaerobic tank was more than 80%, the SVI was less than 200 mg/l. The optimum F/M ratio of anaerobic tank was about 1.9 kg COD/kg MLSS-day.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34462
ISBN: 9746341995
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anan_ka_front.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ka_ch1.pdf628.19 kBAdobe PDFView/Open
Anan_ka_ch2.pdf520.71 kBAdobe PDFView/Open
Anan_ka_ch3.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ka_ch4.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ka_ch5.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ka_ch6.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ka_ch7.pdf8.65 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ka_ch8.pdf734.41 kBAdobe PDFView/Open
Anan_ka_back.pdf9.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.