Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34479
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญมี เณรยอด-
dc.contributor.authorอนันต์ ระงับทุกข์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-09T10:16:01Z-
dc.date.available2013-08-09T10:16:01Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745665789-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34479-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการสอนของครูคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 12 2. เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการนิเทศการสอน ของครูคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 12 วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยครูคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 92 คน ขนาดกลางจำนวน 66 คน และขนาดเล็กจำนวน 60 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 218 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 12 ใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากจำนวนแบบสอบถามและแบบทดสอบที่ส่งไป 218 ฉบับ ได้รับกลับคืนจำนวน 205 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.04 ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1. สภาพและปัญหาในการสอนของครูคณิตศาสตร์ 1.1 สภาพความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ มีความรู้ ความเข้าใจ อยู่ในระดับมาก ในด้านเนื้อหาวิชา ด้านวิธีการสอนและเทคนิคการสอน และด้านสื่อสารการเรียนการสอนในระดับปานกลางด้านหลักสูตร และด้านการวัดผลและประเมินผล ในโรงเรียนขนาดกลางมีความรู้ ความเข้าใจอยู่ในระดับมากที่สุด ในด้านสื่อสารการเรีนการสอน ระดับมาก ด้านเนื้อหาวิชา ด้านวิธีการสอนและเทคนิคการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผลและระดับปานกลาง ด้านหลักสูตรในโรงเรียน ขนาดเล็กมีความรู้ ความเข้าใจอยู่ในระดับมากที่สุด ในด้านสื่อการเรียนการสอน และอยู่ในระดับมาก ด้านหลกสูตร ในด้านเนื้อหาวิชา ด้านวิธีการสอน และเทคนิคการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผล 1.2 สภาพและปัญหาในการสอนของครูคณิตศาสตร์เกี่ยวกับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาแต่ละขนาดมีทักษะ และความรู้พื้นฐานในวิชาคณิตศาสตร์เพียงพอเป็นส่วนน้อย ยกเว้นทักษะการใช้สัญลักษณ์ ซึ่งมีเพียงพอเป็นส่วนใหญ่ในขนาดใหญ่และขนาดเล็ก จากสภาพดังกล่าวข้างต้น ทำให้ครูต้องใช้เวลาอธิบาย และฝึกหรือสอนให้นักเรียนบางส่วนเป็นพิเศษ หรือต้องเริ่มสอนใหม่ทั้งชั้นทำให้การเรียนการสอนช้ากว่าปกติมาก สำหรับจำนวนนักเรียนที่สอนแต่ละห้องเรียน ในโรงเรียนขนาดใหญ่มีจำนวน 41-50 คน ส่วนในขนาดกลาง และขนาดเล็กมีจำนวน 31-40 คน ทำให้ครูให้ความสนใจนักเรียนไม่ทั่วถึงและตรวจงานนักเรียนไม่ทัน 1.3 สภาพและปัญหาในการสอนของครูคณิตศาสตร์เกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนการสอนเกี่ยวกับผู้บริหารในแต่ละขนาดโรงเรียน ให้การสนับสนุนด้านขวัญและกำลังใจพอสมควร แต่การปฏิบัติงานมีผลน้อยต่อการพิจารณาความดีความชอบ ครูจึงขาดขวัญและกำลังใจที่จะสอนให้ได้ผลดี ให้การสนับสนุนด้านสื่อการเรียนการสอนอย่างเพียงพอและให้ความรู้ความเข้าใจรวมทั้งช่วยเหลือด้านการจัดการเรียนการสอนเป็นบางเรื่อง ทำให้ครูต้องศึกษาเอง ซึ่งอาจไม่ถูกต้อง ฝ่ายทะเบียนให้บริการข้อมูลตามความต้องการในโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดกลาง และเป็นบางส่วนในขนาดเล็กซึ่งไม่เป็นปัญหาในการสอน ฝ่ายวัดผลแต่ละขนาดให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการวัดผล และประเมินผล ได้ดีเป็นบางเรื่องทำให้ครูปฏิบัติตามที่เข้าใจ ซึ่งอาจไม่ถูกต้อง ครูในโรงเรียนขนาดใหญ่ และขนาดกลางได้รับการสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์เป็นบางเรื่อง ส่วนในขนาดเล็กได้รับตามต้องการ ฝ่ายแนะแนวในแต่ละขนาดโรงเรียน แนะแนวการเรียนแก่นักเรียนทุกคนหรือเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังมีนักเรียนบางส่วนไม่ทราบวิธีปฏิบัติในการเรียนให้ได้ผลดี ให้ข้อมูลด้านการจัดสภาพการเรียนการสอนตามความต้องการของนักเรียนเป็นบางส่วน ครูจึงจัดตามความเข้าใจซึ่งได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ฝ่ายโสตทัศนศึกษาให้บริการได้เป็นบางส่วน เพราะมีบุคลากรน้อย ครูต้องรอการช่วยเหลือจึงสอบไม่ทัน ส่วนฝ่ายบรรณารักษ์ในแต่ละขนาดโรงเรียน จัดหนังสือประกอบการเรียนและประกอบการสอนคณิตศาสตร์ ไว้ครบทุกวิชาแต่ไม่เพียงพอ หรือจัดไว้เฉพาะบางรายวิชา นักเรียนและครูบางคนจึงไม่ได้ใช้ทำให้ขาดความบูรณ์ในการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ในโรงเรียนแต่ละขนาดมีจำนวนเอกสารแนวการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ไม่เพียงพอ ครูบางคนจึงสอนได้ผลไม่ตรงตามที่หลักสูตรต้องการ ส่วนหนังสือแบบเรียนและคู่มือครู มีเพียงพอในทุกขนาดโรงเรียน จำนวนวัสดุอุปกรณ์มีไม่เพียงพอในขนาดเล็ก ทำให้ครูไม่ได้ใช้ในเรื่องที่จำเป็นต้องใช้ ผลการสอนจึงไม่ดีเท่าที่ควร ด้านอาคารสถานที่ ครูคณิตศาสตร์ในแต่ละขนาดโรงเรียนสอนวิชาคณิตศาสตร์ในอาคารถาวร 2. ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการนิเทศการสอนของครูคณิตศาสตร์ ครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ มีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับปานกลางในด้านหลักสูตรและด้านการวัดผลและประเมินผลในระดับน้อย ด้านเนื้อหาวิชา ด้านวิธีการสอนและเทคนิคการสอน และด้านสื่อการเรียนการสอน ในโรงเรียนขนาดกลางมีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับปานกลาง ในด้านหลักสูตรระดับน้อย ด้านเนื้อหาวิชา ด้านวิธีการสอนและเทคนิคการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และระดับน้อยที่สุด ในด้านสื่อการเรียนการสอน ส่วนในโรงเรียนขนาดเล็ก มีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับน้อยในด้านหลักสูตร ด้านเนื้อหาวิชา ด้านวิธีการสอน และเทคนิคการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผล และในระดับน้อยที่สุด ด้านสื่อการเรียนการสอน
dc.description.abstractalternativePurposes : 1. To study the instructional conditions and problems of mathematics teachers in secondary schools under the jurisdiction of General Educational Department, Educational Region Twelve 2. To study the instructional supervision needs of mathematics teachers in secondary schools under the jurisdiction of General Education Department, Educational Region Twelve Procedures : Sample of this study consisted of 92 mathematics teachers from large-size secondary schools, 66 from the medium-size, and 60 from the small-size. They were selected by using simple random sampling technique from secondary schools, under the jurisdiction of General Education Department in Educational Region Twelve which made the total to be 218 in number. Questionnaire and test were employed as a method of gathering data for this study. Of the total 218 copies of questionnaire and test sent out, 205 copies, or 94.04 percent were completed and returned. They were analyzed by using percentage, arithmetic mean and standard deviation. Findings : The instructional conditions and problems of mathematics teachers as regard to their instructional procedure understanding showed that ; in the large-size secondary schools, most teachers’ understandings were at the high level concerning subject content, teaching methods and techniques, and instructional aids while curriculum and measurement and evaluation were at the moderate level. In the medium size, the teachers’ understandings were at the highest level concerning instructional aids, and at the high level concerning subject content, teaching methods and techniques, and measurement and evaluation, and at the moderate level concerning curriculum. In the small-size, the understandings were at the highest level concerning instructional aids and at the high level concerning curriculum, subject content, teaching methods and techniques, and measurement and evaluation. The instructional conditions and problems of mathematics teachers as related to students showed that ; in all school size, the basic skills and knowledge of most students except the symbol were so insufficient that mathematics teachers had to spend a great deal of time on teaching. Classes in all school size were consisted of many students which caused mathematics teachers to be unable to pay attention to all students. The instructional conditions and problems of mathematics teachers as related to the instruction supporting factors showed that ; teachers’ moral in all school size were moderate, however, they still had problems concerning their performance. Moreover, in all school size, the instructional aids were supported rather low which caused unsuccessful teaching. The record section in small size school provided inadequate student informations for teachers which created problems for teachers. Most teachers responded that they were unsured of methods and techniques they used in measuring instruction due to the measurement section was able to provide only few. Most students were guided by the guidance section but only some were guided effectively. The student informations concerning their needs were also provided inadequately which caused problems in instruction. The audiovisual section was able to provide matherials for some field which made the instruction unsuccessful. The librarians also could not provide adequate sources, only some reading materials in some field were provided. The instructional procedure was ineffective due to lack of sufficient instructional aids. Schools in all size has a suitable buildings. Concerning the instructional supervision needs of mathematics teachers showed that; in the large-size secondary schools, most teachers’ needs were at the moderate level concerning curriculum, and measurement and evaluation while at the low level concerning subject content, teaching methods and techniques, and instructional aids. In the medium-size, the needs were at the moderate level concerning curriculum, at the low level concerning subject content, teaching methods and techniques, and measurement and evaluation and at the lowest level concerning instructional aids. In the small-size, the needs were at the low level concerning curriculum, subject content, teaching methods and techniques, and measurement and evaluation while at the lowest level concerning the instructional aids.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectครูคณิตศาสตร์
dc.subjectการฝึกสอน
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.titleการศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการนิเทศการสอนของครูคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 12en_US
dc.title.alternativeA study of instructional supervision needs of mathematics teachers in secondary schools under the Jurisdiction of General Education Department, educational region twelveen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anan_ra_front.pdf9.19 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ra_ch1.pdf7.76 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ra_ch2.pdf22.34 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ra_ch3.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ra_ch4.pdf41.12 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ra_ch5.pdf13.31 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ra_back.pdf18.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.