Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34547
Title: | ความผิดทางอาญาว่าด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่อหลีกเลี่ยงเทคโนโลยีการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ |
Other Titles: | The offences of circumvent technological measures |
Authors: | ชมเพลิน ภุชฌงค์ |
Advisors: | อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Apirat.P@chula.ac.th |
Subjects: | การละเมิดลิขสิทธิ์ กฎหมายอาญา ลิขสิทธิ์ ความผิดทางอาญา Copyright infringement Criminal law Copyright Mistake (Criminal law) |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มุ่งที่จะศึกษาความผิดทางอาญาว่าด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่อหลีกเลี่ยงเทคโนโลยีป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อหาคำตอบว่าควรบัญญัติให้การหลีกเลี่ยงเทคโนโลยีป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์หรือที่เรียกว่ามาตรการป้องกันทางเทคโนโลยีนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายไทยหรือไม่ และหากต้องบัญญัติให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมายไทยแล้ว ควรจะมีแนวทางเช่นไรจึงจะเหมาะสม ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้เขียนได้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวบทกฎหมายของประเทศต่างๆ ที่ได้บัญญัติความผิดในการหลีกเลี่ยงมาตรการป้องกันทางเทคโนโลยี คำพิพากษา ตำรากฎหมาย บทความ ตลอดจนแนวคิดของนักกฎหมายทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยผลการวิจัยพบว่าควรบัญญัติให้การหลีกเลี่ยงมาตรการป้องกันทางเทคโนโลยีเป็นความผิดตามกฎหมายไทย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติเฉพาะที่จะนำมาบังคับใช้กับการหลีกเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี แม้บทบัญญัติที่มีอยู่จะสามารถนำมาปรับใช้ได้แต่มีความไม่เหมาะสม จากการศึกษานำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าแนวทางที่เหมาะสมของประเทศไทยหากต้องบัญญัติให้การหลีกเลี่ยงมาตรการป้องกันทางเทคโนโลยีเป็นความผิดควรจะเป็นเช่นไร โดยผู้เขียนได้ให้ข้อเสนอว่ากรณีการหลีกเลี่ยงมาตรการป้องกันทางเทคโนโลยีโดยตรงควรห้ามเฉพาะการหลีกเลี่ยงมาตรการควบคุมการเข้าถึง ส่วนการกระทำอันเป็นการตระเตรียมการเพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการป้องกันทางเทคโนโลยีนั้นควรห้ามทั้งการหลีกเลี่ยงมาตรการควบคุมการทำซ้ำและมาตรการควบคุมการเข้าถึง อีกทั้งมาตรการทางเทคโนโลยีที่ให้ความคุ้มครองต้องเป็นมาตรการทางเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรการทางเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น โดยบทบัญญัติดังกล่าวควรบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ |
Other Abstract: | The purposes of this research are to study the offence of using technologies to avoid copyright protection technologies, in order to find the answer whether such practices should be counted as offence in Thai legislation, and if so, what direction should be the most appropriate. In this research, information of lawsuits in various countries where avoidance of technological protection measures on copyright is offence, also those verdicts, lawsuits, documents, opinions from both local and foreign lawyers are collected to be studied and analyzed. The result of such studied suggests that avoidance of technological protection measures on copyright should be counted as an offence in Thai law, of which currently has no specific regulations to control it. Though it is possible to adjust some existing ones but not appropriate enough. The studying leads to the recommendation on guidelines for Thai law if copyright technological protection measures avoidance is to be made offence. The author suggests that only circumvention of access control should be prohibited for the case of direct act of circumvention but for the activities of preparation to circumvention technological protection measures, both copy control and access control should be prohibited. The technological protection measures used should be an effective ones and used for copyright protection only. Those regulations should be attached within the copyright law. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34547 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.881 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.881 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chomphloen_Ph.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.