Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34556
Title: การปรับปรุงกระบวนการดำเนินการสำหรับสำนักงานบริหารบุคคล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: The improvement of operation process for Personnel Administration Office at Chulalongkorn University
Authors: ธัชรินทร์ วุฒิชาติ
Advisors: ประเสริฐ อัครประถมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Prasert.A@chula.ac.th
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ส่วนบริหารงานบุคคล
การบริหารงานบุคคล
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ
การผลิตแบบลีน
ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)
Chulalongkorn University. Personnel Administration Office
Personnel management
Thailand Quality Award
Lean manufacturing
Six sigma ‪(Quality control standard)‬
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปรับปรุงรอบระยะเวลาในการดำเนินการในสำนักงานซึ่งมีลักษณะเป็นงานเอกสาร เพื่อสร้างข้อตกลงที่ว่าด้วยระดับการบริการ กรณีศึกษาได้มีการดำเนินการ ณ ส่วนบริหารงานบุคคล สำนักงานบริหารบุคคล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศึกษาถึงกระบวนการว่าจ้างบรรจุ กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน และกระบวนการเลิกจ้างพนักงานมหาวิทยาลัย การดำเนินงานวิจัยเริ่มต้นจากการประยุกต์ใช้แบบสอบถามในการสำรวจความพึงพอใจของหน่วยงานผู้รับบริการ จำนวน 61 หน่วยงาน เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพที่ควรนำมาปรับปรุง ทั้งนี้จากผลการตอบแบบสอบถามกลับมาจาก 44 หน่วยงาน พบว่าระยะเวลาในการดำเนินการ ได้ถูกพิจารณาเป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไข โดยการใช้เทคนิคและเครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการ อาทิ แผนผังการไหลของกระบวนการ แผนผังสายธารคุณค่า แผนผังกลุ่มเครือญาติ และเทคนิคอื่นที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์ใช้ตั้งแต่การสำรวจสภาพปัญหา การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ปัจจัยที่สำคัญ การกำหนดแนวทางแก้ไข และการติดตามอย่างต่อเนื่อง ผลจากการดำเนินงานวิจัยแสดงถึงการปรับปรุงกระบวนการ สามารถลดระยะเวลาในการดำเนินการของกระบวนการว่าจ้างบรรจุจาก 35.5 วันทำการเหลือ 28 วันทำการ กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน จาก 38 วันทำการเหลือ 35 วันทำการ และกระบวนการเลิกจ้างจาก 16.7 วันทำการเหลือ 12.2 วันทำการ และ 71% ของหน่วยงานที่ตอบแบบสอบถามหลังการปรับปรุงเห็นว่า ความรวดเร็วในการดำเนินการดีขึ้น ทั้งนี้สรุปได้ว่า การใช้เทคนิคและเครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการ มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการสำหรับงานสำนักงาน สามารถดำเนินการได้จริงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาถึงประเด็นการจัดการกระบวนการ โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการจัดการกระบวนการแบบรวมอำนาจ ที่การดำเนินการถูกควบคุมโดยส่วนกลาง กับการกระจายอำนาจที่ให้อิสระกับหน่วยงานในการดำเนินการ ผ่านการวิเคราะห์หาปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณา และแนวปฏิบัติที่ดีจากองค์กรอื่น 3 องค์กรที่มีลักษณะเป็นองค์กรภาคผลิต ภาคบริการ และภาคการศึกษา ตามลำดับ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบกระบวนดำเนินการ และข้อเสนอแนะ สำหรับส่วนบริหารบุคคล
Other Abstract: To improve the office operation process, which is mostly performed by paperwork, by reducing service duration to create service level agreement. A case study has been intensively conducted at Personnel Administration Office, Chulalongkorn University, to study employment processes, performance appraisal processes, redundancy and leaving processes of university officers. Customer satisfaction questionnaire was applied to investigate quality factors that should be developed. As the result of this surveys, which were replied from 44 out of 61 offices, service duration has been considered an important issue that should be resolved by using IE techniques and tools, such as flow process chart, value stream mapping, affinity diagram, as well as the others relating to apply through DMAIC (Define-Measure-Analyze-Improve-Control). The contributions of this research illustrate the significant improvements in reduction of time consuming of employment process from 35.5 to 28 working days, performance appraisal processes from 38 to 35 working days, redundancy and leaving process from 16.7 to 12.2 working days. About 71% of offices recognized that the service duration improvement is better than previous. It is concluded that IE techniques and tools can be used to improve office operation process. Moreover, process management is also studied to be a guideline to design and suggest for improving an operation process for personel administration office by comparing between centralization and decentralization. The study is conducted by analyzing factors and good operation of other three organizations which are in manufactoring sector, service sector and education sector respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34556
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.165
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.165
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thacharin_wu.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.