Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34586
Title: กระบวนการที่คำกริยากลายเป็นคำบุพบทในภาษาไทย
Other Titles: Grammaticalization of verbs into prepositions in Thai
Authors: จรัสดาว อินทรทัศน์
Advisors: อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์
วิจินตน์ ภาณุพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาษาไทย -- ไวยากรณ์
ภาษาไทย -- คำกริยา
ภาษาไทย -- บุรพบท
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา และอธิบายปรากฏการณ์อย่างหนึ่งในภาษาไทย ซึ่งเรียกว่ากระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ กล่าวคือคำที่มีรูปเดียวกันสามารถทำหน้าที่ได้มากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น คำว่า เข้า ถึง จาก ฯลฯ อาจเป็นได้ทั้งคำกริยา และคำบุพบท ผู้วิจัยต้องการศึกษาว่า มีคำอะไรบ้างที่มีลักษณะเช่นนี้ ปริบทของคำเหล่านี้เป็นอย่างไร และสรุปเกณฑ์ทางวากยสัมพันธ์ และอรรคศาสตร์ ซึ่งสามารถใช้จำแนกคำเหล่านั้นได้แน่นอนว่า เป็นคำกริยากลุ่มหนึ่ง และคำบุพบทอีกกลุ่มหนึ่งท้ายที่สุด ผู้วิจัยต้องการอธิบายกระบวนการกลายเป็นคำบุพบทของคำกริยา จากข้อมูลภาษาเขียนที่สุมเลือกจากวารสาร และนิตยสารที่ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2533-2537 ผู้วิจัยพบว่าคำที่มีลักษณะดังกล่าว มี 23 คำ ทางด้านวากยสัมพันธ์ คำบุพบทมีลักษณะต่างกับคำกริยา คือ คำบุพบทไม่ปรากฏร่วมกับคำปฏิเสธ ไม่ ในขณะที่คำกริยาสามารถปรากฏได้ คำบุพบทจะปรากฏนำหน้าวลีเสมอ แต่คำกริยาบางคำไม่หรากฎหน้านามวลี คำบุพบทจะไม่สามารถแยกออกจากนามวลีที่ปรากฏร่วมด้วย เพราะเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยองค์ประกอบเดียวกันคือ บุพบทวลี ถ้าจะย้ายตำแหน่งไปอยู่ต้นประโยค ต้องย้ายไปพร้อมกับนามวลีเสมอ ในขณะที่คำกริยาไม่มีคุณสมบัติเช่นนั้นทางด้านอรรถศาสตร์ คำกริยามีความหมายบอกสภาพ หรือการกระทำของประธาน ส่วนคำบุพบทมีความหายบ่งความสัมพันธ์เชิงการกระหว่างคำกริยากับนามวลี คำกริยาส่วนใหญ่ในขอบเขตการศึกษานี้มีความหมายประจำคำเพียงความหมายเดียว แต่คำบุพบท อาจมีความหมายประจำคำบ่งความสัมพันธ์เชิงการกได้มากกว่าหนึ่งการก คำกริยาบางคำอาจมีความหมายแฝงแสดงทัศนคติ หรืออารมณ์ด้วย ในขณะที่คำบุพบทมีแต่ความหมายตรง ผู้วิจัยได้ใช้ทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์ มาอธิบายปรากฏการณ์นี้ และได้ข้อสรุปว่า คำบุพบทเป็นคำที่กลายมาจากคำกริยา เนื่องจากคำกริยานั้นได้ผ่านกระบวนการทางความหมาย ได้แก่ การที่ความหมายจางลง การคงเค้าความหมายเดิม และการเกิดความหมายทั่วไป หรือการขยายขอบเขตเชิงอุปลักษณ์ และผ่านกระบวนการทางโครงสร้าง ได้แก่ การบังคับการปรากฏ และการวิเคราะห์ใหม่ กระบวนการเหล่านี้มีลักษณะเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียว และมีความต่อเนื่อง
Other Abstract: This study sims at investigating and explaining a phenomenon in Thai called grammaticalization, that is, words of the same form can occur as members of different word classes. For example, khao, chaak, etc. be used as verbs and prepositions. Therefore, the purpose of the study is to search for the word that have this characteristic, to investigate their context in order to infer both syntactic and semantic criteria to classify thern into two word classes : the verb and the preposition. Lastly, the researcher wants to explain the process whereby verbs are grammaticalized into prepositions. Based on data of written Thai in articles randomly selected from journals and magazines published during 1990-1994, twenty three pairs of verbs/prepositions were found to have the characteristics mentioned above. The ones that are classified as prepositions have different characteristics from the verbs. Syntactically, the prepositions do not occur with the negative marker mai but the verb countrparts do. The former aiways occur in front of a noun phrase whereas the latter do not. The prepositions cannot be separated from the noun phrase because both of them constitute a single constituent called a “prepositional phrase”. This phrase can be moved to the beginning of a sentence. The verb counterparts do not have these characteristics. Semantically, the verbs indicate the state or the action of their subjects, whereas the prepositions indicate case relations between a verb and a noun phrase. Most of the verbs dealt with in this study have one lexical meaning, but the prepositions may indicate more than one case relations. Some of the verbs have connotative meanings which signify subjective attitudes or emotions. In contrast, the prepositions have only denotative meanings. The researcher uses the concept of grammaticalization to explain the mentioned phenomenon in Thai. It can be concluded that prepositions are grammaticalized from verbs of the same form because these verbs have developed through certain semantic processes : bleaching, persistence, and generalization or metaphorical extension. They also develop through syntactic processes, such as obligatorification and reanalysis. These processes are unidirectional and continual.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://ezproxy.car.chula.ac.th:2074/handle/123456789/34586
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34586
ISBN: 9746348264
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charatdao_in_front.pdf837.83 kBAdobe PDFView/Open
Charatdao_in_ch1.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Charatdao_in_ch2.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open
Charatdao_in_ch3.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Charatdao_in_ch4.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open
Charatdao_in_ch5.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open
Charatdao_in_ch6.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Charatdao_in_back.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.