Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/345
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัญญา โฆวิไลกูล-
dc.contributor.advisorศรีศักร วัลลิโภดม-
dc.contributor.authorพงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ, 2504--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-16T02:34:03Z-
dc.date.available2006-06-16T02:34:03Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741715889-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/345-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractศึกษาวัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในด้านความเชื่อ ทัศนคติและค่านิยมด้านการทำวิจัยของอาจารย์ สภาพปัจจุบันด้านนโยบาย การบริหารงานวิจัย ปัจจัยที่เอื้อต่อการทำวิจัย และผลงานวิจัยของอาจารย์ และนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ การเก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 9 คน และอาจารย์ประจำในสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 1424 คน จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยขอนแก่น การจัดทำกลยุทธ์โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิและตรวจสอบกลยุทธ์โดยวิธีอิงผู้ทรงคุณวุฒิ ได้กลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในปัจจุบัน ยังไม่เอื้อต่อการทำวิจัยของอาจารย์ อาจารย์ส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับงานสอนมากกว่างานวิจัย และมีเป้าหมายในการทำวิจัยเพื่อตำแหน่งทางวิชาการมากกว่าเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ใหม่หรือเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ อาจารย์ให้เหตุผลในการไม่ทำวิจัยหรือไม่คิดจะทำวิจัยว่าเพราะไม่มีเวลา แม้มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีนโยบายและเป้าหมายที่จะพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย แต่พบว่ายังขาดการบริหารงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ผลงานวิจัยส่วนใหญ่ยังมีลักษณะรับองค์ความรู้จากต่างประเทศมากกว่าสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง นักวิจัยที่มีคุณภาพยังมีน้อย การทำวิจัยมีลักษณะเป็นงานวิจัยเดี่ยวมากกว่าวิจัยเป็นทีม ผลงานวิจัยส่วนใหญ่มีลักษณะแยกส่วน งานวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชายังมีน้อย และผลงานส่วนใหญ่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง กลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่นำเสนอ ประกอบด้วย กลยุทธ์ด้านนโยบายการวิจัย ด้านการบริหารงานวิจัย ด้านการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการวิจัย และด้านผลงานวิจัย โดยนำเสนอกลยุทธ์ในภาพรวมทุกสาขาวิชา และกลยุทธ์เฉพาะสาขาวิชา โดยมุ่งเน้นพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์ใน 2 ระดับ คือ พัฒนาตัวอาจารย์เพื่อให้เกิดทัศนคติ และค่านิยมที่ดีต่อการทำวิจัย ให้การวิจัยเป็นวิถีชีวิตของอาจารย์มหาวิทยาลัย และพัฒนาในระดับสถาบันเพื่อให้เกิดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำวิจัยของอาจารย์en
dc.description.abstractalternativeStudies the faculty research culture in public higher education institutions about the beliefs, attitudes and values toward research, studies the current research policy, research administration, support factors and research outputs and sets the strategies for developing faculty research culture. Data collection was by means of interviewing and questionnaires to sample groups of 9 administrators and 1424 faculties in four disciplines: humanities, social science, biological science, and science and technology. Five public universities were selected as a geographically representative sample. The strategies were set by analyzing the university environment, discussing by the expert seminar and criticizing by the experts. The results showed that the current faculty research culture was not appropriate for research activities. With the excuse of having limited time, most faculties paid more attention to teaching than conducting research. Although most universities had policies and goals in becoming research universities, it was found that there was a lack of effective research administration. Moreover, there were very few skilled researchers, and they preferred to conduct research individually rather than as a team. Most research outputs were fragmented ; quite a few of them were inter-disciplines. For a large extent, research outputs did not respond to the actual user needs. The strategies for developing faculty research culture consisted of research policy, research administration, allocation of research resources, and research outputs. These strategies were suggested in both overall and specific bases of every discipline by developing faculty research culture in two levels-the faculty level and the institutional level. At the faculty level, they are encouraged to perceive positive attitudes toward as well as to appreciate the values of doing the research and make it part of their university faculty lives. For the institutional level, an academically active environment should be created to strongly foster research conducts.en
dc.format.extent1885320 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.685-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอาจารย์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอาจารย์มหาวิทยาลัย--ภาระงานen
dc.subjectวิจัยen
dc.titleกลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐen
dc.title.alternativeStrategies for developing faculty research culture in public higher education institutionsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาเอกen
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSukanya.K@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.685-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pongpatcharin.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.