Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34728
Title: การศึกษาโอกาสทางการตลาด ของธุรกิจบริการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน (เฉพาะสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study on markgting opportunity of pre-school child service (private nursery) in Bangkok metro politan area
Authors: อโณทัย อมตวรกุล
Advisors: สุรพัฒน์ วัชรประทีป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สถานเลี้ยงเด็ก
เด็กวัยก่อนเข้าเรียน -- การดูแล
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ธุรกิจสถานบริการรับเลี้ยงเด็ก จัดตั้งขึ้นครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อปี พ.ศ. 2497 นับเป็นเวลา 30 ปีพอดี ในระยะแรกๆ นั้น ความนิยมยังไม่ค่อยมีมาก เพิ่มปรากฏว่าอัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว เมื่อช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจุบัน คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร นิยมแยกครอบครัวออกมาอยู่ต่างหาก เป็นลักษณะครอบครัวเล็กที่เรียกว่า ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear family) และข้อจำกัดทางด้านสภาพสังคมและเศรษฐกิจจึงทำให้ภรรยาต้องทำงานนอกบ้านเพื่อจุนเจือครอบครัวอีกแรงหนึ่ง ประกอบกับยุคปัจจุบันสตรีมีการศึกษาที่ค่อนข้างสูงเท่าเทียมชาย จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สตรีจำนวนมากนิยมออกทำงานนอกบ้านเช่นเดียวกัน จากภาวะเช่นนี้ ทำให้ครอบครัวส่วนใหญ่ประสบปัญหาเรื่องการเลี้ยงดูเด็ก เนื่องจากอาชีพการงาน ทำให้ไม่มีเวลาเลี้ยงลูกได้เหมือนแต่ก่อน เป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจสถานรับเลี้ยงเด็กมีขึ้นมากมาย เพื่อรองรับและตอบสนองความต้องการในด้านการเลี้ยงดูเด็กแทนพ่อแม่ที่ประสบปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนจึงเห็นว่าธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่น่าสนใจศึกษา โดยเฉพาะในแง่ของโอกาสทางการตลาดว่ามีผู้ใช้บริการจำนวนมากเพียงใดที่นิยมฝากลูกกับสถานบริการรับเลี้ยงเด็ก และให้ทราบถึงความคิดเห็นของผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการเกี่ยวกับข้อดีและข้อบกพร่องของธุรกิจ เพื่อจะได้นำกลยุทธ์ทางการตลาดมาปรับใช้ได้ถูกต้อง และเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ที่คิดจะลงทุนในธุรกิจนี้ รวมทั้งเป็นแหล่งความรู้เบื้องต้นแก่ผู้ที่สนใจศึกษาอีกด้วย เหล่านี้ล้วนแต่เป็นประโยชน์จากการศึกษาวิจัยทั้งสิ้น การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ผู้ศึกษาใช้หลักและวิธีการทางสถิติเข้าช่วยในการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูล โดยอาศัยแบบสอบถาม 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่ใช้เพื่อศึกษาผู้ประกอบการในเรื่องการดำเนินกิจการสถานรับเลี้ยงเด็ก ตลอดจนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีต่อธุรกิจนี้ จำนวนทั้งหมด 40 สถานประกอบการ ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่ใช้เพื่อศึกษาส่วนของผู้ใช้บริการ จำนวน 400 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับทัศนคติและความคิดเห็นที่มีต่อสถานรับเลี้ยงเด็กในปัจจุบันและโอกาสทางการตลาดในอนาคต ตลอดจนขอจำกัดที่ผู้ใช้บริการได้รับจนเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเลี้ยงลูกเองได้ และต้องหันไปพึ่งบริการของสถานรับเลี้ยงเด็กในที่สุด นอกจากนี้เป็นการศึกษาข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของสถานประกอบการที่จะนำไปพิจารณาเพื่อปรับธุรกิจให้เข้ากับความต้องการของผู้ใช้บริการให้ได้มากยิ่งขึ้น การศึกษาวิจัยยังได้อาศัยข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานรับเลี้ยงเด็ก ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้มาเพื่อนำมาวิเคราะห์และสนับสนุนผลการวิจัยให้เด่นชัดยิ่งขึ้น จากผลของการศึกษาวิจัยทำให้ทราบว่า โอกาสทางการตลาดของธุรกิจสถานรับเลี้ยงเด็กกำลังเป็นที่ต้องการและนิยมมากในปัจจุบัน และจะยิ่งมีมากยิ่งขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ความต้องการใช้บริการต่างๆ จะสัมพันธ์กับรายได้ที่ผู้ใช้บริการได้รับ และส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการนิยมฝากลูกกับสถานรับเลี้ยงเด็กประเภท ไป-กลับ อีกด้วย สำหรับด้านผู้ประกอบการรับลี้ยงเด็ก การศึกษาค้นคว้าทำให้ทราบในสิ่งต่อไปนี้ การบริการ ส่วนใหญ่รับเลี้ยงเด็กประเภท เช้าไป-เย็นกลับ การเลี้ยงลูกรวมถึงการฝึกทักษะ ความรู้ความสามารถตามวัย ตลอดจนการสอนการเรียนอ่านพอสมควร ขนาดและสถานที่ตั้ง เท่าที่ทำมา มักเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กขนาดเล็ก ดำเนินกิจการโดยเจ้าของคนเดียว และอาศัยบ้านพักเป็นที่ทำการ การกำหนดราคา อาศัยค่าใช้จ่ายเป็นเครื่องกำหนดอัตราค่าบริการ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับประเภทของบริการที่เสนอต่อลูกค้าอีกด้วย การส่งเสริมการจัดจำหน่าย ผู้ประกอบการยังไม่นิยมการทำโฆษณา เนื่องจากไม่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการโฆษณาส่วนใหญ่ยังอาศัยชื่อเสียงและระยะเวลาเป็นเครื่องวัดความเชื่อถือของผู้ใช้บริการ สำหรับผู้ประกอบการที่ทำโฆษณาบ้างนั้น ป้ายโฆษณาเป็นสื่อที่นิยมมากที่สุด ส่วนด้านของผู้ใช้บริการ จากการศึกษาค้นคว้าทำให้ทราบว่า 1. ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีการศึกษาสูงในระดับปริญญาตรีโดยเฉลี่ยเป็นครอบครัวที่มีบุตรประมาณ 2 คน มีอาชีพรับราชการ เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างบริษัทเอกชน และอาชีพค้าขาย เป็นครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ย 6,000-15,000 บาทต่อเดือน 2. สาเหตุของการฝากลูกกับสถานรับเลี้ยงเด็ก เนื่องจากข้อจำกัดด้านอาชีพ การงาน ทำให้ไม่มีเวลาที่จะเลี้ยงดูเองได้ 3. ปัจจัยที่ใช้เลือกสถานรับเลี้ยงเด็กที่นำลูกไปฝากคือ ความเชื่อถือได้และความปลอดภัย เนื่องจากอยู่ใกล้บ้าน และเรียกเก็บในอัตราค่าบริการที่เหมาะสม 4. ผู้ใช้บริการร้อยละ 90 ที่ฝากลูกกับสถานบริการรับเลี้ยงเด็ก ไม่เคยทราบข่าวสถานรับเลี้ยงเด็กจากการโฆษณาเลย จุดนี้แสดงให้เห็นว่า การตลาดยังเข้าไม่ถึงธุรกิจประเภทนี้เท่าที่ควร ทั้งๆ ที่ความต้องการของผู้ใช้บริการมีมากและเข้าใจว่ายังมีผู้ที่สนใจอีกมากมาย เพียงแต่ยังไม่ได้รับการกระตุ้นความต้องการเท่าที่ควร ซึ่ง ณ จุดนี้หากผู้ประกอบการรู้จักใช้กลยุทธทางการตลาดที่เหมาะสมแล้ว จะสามารถช่วยดึงความสนใจและสร้างความต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภคและกลุ่มเป้าหมายให้หันมาใช้บริการสถานรับเลี้ยงเด็กในที่สุด 5. ผู้ใช้บริการเกือบทั้งหมดต้งอการฝากลูกคนต่อไปกับสถานรับเลี้ยงเด็กในอนาคต อันเป็นจุดที่ชี้บ่งให้เห็นชัดว่า ธุรกิจสถานบริการรับเลี้ยงเด็กจะต้องเป็นธุรกิจที่มีโอกาสทางการตลาดที่ดีมากธุรกิจหนึ่งต่อไปอย่างแน่นอน สำหรับปัญหาและอุปสรรคของธุรกิจ จำแนกได้ดังนี้ 1. ขนาดของธุรกิจยังเป็นแบบเล็กๆ ต่างคนต่างทำโดยไม่ค่อยคำนึงถึงคู่แข่งขันมากนัก ทำให้โอกาสในการใช้ประโยชน์ทางการตลาดมาช่วยบริหารธุรกิจเป็นไปได้น้อยมาก 2. ปัญหาด้านพี่เลี้ยงยังไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้บ่อยครั้งที่เกิดปัญหาอัตราการหมุนเวียนและเปลี่ยนตัวพี่เลี้ยงมีสูงมาก 3. การดำเนินเงินภายในสถานรับเลี้ยงเด็ก ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควรเพราะขาดการวางแผนงานและระบบที่ดี 4. ปัญหาด้านกฎระเบียบและความช่วยเหลือของรัฐ ยังขาดความสม่ำเสมอ
Other Abstract: The business of private nursery was initially established in Thailand since 1954, 30 years from to date. During the original period, it was not so well accepted. The growth rate of such service was very rapid in the past few years mainly due to the facts that; (1) at present most residents in Bangkok Metropolis tend to split large family into private family, (2) the social and economic restriction force housewife to work in order to assist the family, (3) housewife retains comparable knowledge as male. Hence, a great number of females prefer to work outside as well as males. From the said circumstances, most families are facing with the problem of raising children due to the professions which hinder the abilities to raise children as previously allowed. Therefore, private nursery started to exist in numbers to support and respond to the demand on child care service for parents who face the said problems. Then it is considered very interesting to conduct further studies on this topic, especially in the marketing points of view relating to the numbers of consumers who favor the use of private nursery service. It is likely to know the opinion of the operators and consumers of such service concentrating on the pros and cons of such business to develop suitable market strategy for the business. This study will further serve as guidelines for investors who plan to invest in this business, as well as being primary knowledge to those who will be interesting to study this topic. In conducting research on this subject, the author had applied principles and methods of statistics in collecting and analyzing data based on two different parts of questionnaires as follows: Part I: concerns the questionnaires aimed to study the sampling of 40 operators of private nursery in Bangkok Metropolis as well as the opinion and suggestions provided to this business. Part II: concerns the questionnaires designed to study 400 sampling consumers in Bangkok Metropolis relating to opinion and viewpoint to private nursery at present and marketing opportunities in the future. It is also planned to study limitations of the consumers that they are unable to raise their own children and finally have to depend on private nursery service. Furthermore, the study is aimed to determine other data concerning the consumers viewpoints which may be advantageous to the operators to develop their services to meet consumers’ needs. The study is also dependable on secondary data from different sources in connection with private nursery, both governmental and private concerned. These datum will be distinctly applied to supplement the analysis of the research. The research on this topic revealed that, marketing opportunity in this business is very well opened and becoming quite popular at present and even greater in the future. Furthermore, the needs to consume such services will directly relate to income of consumer; and the majority of consumers favor the entrust their children to daily care private nursery. Regarding operators of private nursery, the research disclosed the following criterion: Service: The majority will be day-to-day service which includes the developing of skills, abilities of childhood years and basic teaching to read and write. Size and location: As practicable, mostly are small private nursery run by single owner whereas living quarter is used as operating quarter. Pricing: is based on expenses. Moreover, it is also based on types of services rendered to consumers. Promotion and Distribution: Operators do not favor advertisement due to lack of viewing the necessity and advantageous of advertisement. The promotion is depended mainly on reputation and length of time for the determination of trust worthiness of the consumer. For operators who run slight advertisement will mostly do so through sign boards. Relating to consumers, the research revealed that: 1. The majority of consumers are well-educated individual of at least bachelor degree level on the average, with a family of two children, from several professions such as Government officials, state enterprises officials, employees of private firms and private business traders. The average income of the family is 6,000.-to 15,000,-baht a month. 2. The obvious reason to utilize private nursery is that of requirements of profession and work resulting in lack of time to raise the child. 3. The main factors applied in the selection of private nursery are dependability and security due to the distance from the residence as well as appropriate rate of fee. 4. Ninety per cent of the consumers using private nursery have not known of such place from the advertisement. This point proves that marketing is not substantially approaching this type of business, despite the large needs on this service and presumably that there will be much more interesting which lack essential stidulation. At this point, the operators should have known to use necessary marketing strategy to attract more interest to create demand from consumers and prospective target for the service of private nursery. 5. Most of the consumers need to entrust their next children to private nursery in the future. This clearly indicates that private nursery business will certainly have greater marketing opportunity in the years to come. The problems and hindrances of the business may be classified as follows: 1. The size of business is typically small, operate individually with the least consideration on competition, thus minimizing the application of benefits from marketing in administering the business. 2. The problem of nurse-maids lack efficiency causing the problem of high degree of turnover of nurse-maids. 3. The administration of private nursery is not up to standard due to lack of good planning and system of operation. 4. The problems of rules, regulations and assistance from the government are irregular.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34728
ISBN: 9745646415
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anotai_am_front.pdf12.49 MBAdobe PDFView/Open
Anotai_am_ch1.pdf5.12 MBAdobe PDFView/Open
Anotai_am_ch2.pdf6.76 MBAdobe PDFView/Open
Anotai_am_ch3.pdf8.9 MBAdobe PDFView/Open
Anotai_am_ch4.pdf52.38 MBAdobe PDFView/Open
Anotai_am_ch5.pdf10.66 MBAdobe PDFView/Open
Anotai_am_back.pdf19.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.