Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34745
Title: | การดำเนินงานการกำหนดและรักษาระดับราคาข้าวเปลือกของรัฐบาล ฤดูการผลิตปี 2524/2525 |
Other Titles: | The Government's paddy price support program in the producitton season 1981/1982 |
Authors: | พิมจันทร์ จุติกุลสันติสิน |
Advisors: | กนก วงษ์ตระหง่าน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เนื่องจากข้าวมีบทบาทสำคัญต่อประเทศไทยมาก เพราะนอกจากคนไทยจะบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักแล้ว ข้าวยังเป็นสินค้าที่นำรายได้สูงสุดมาสู่ประเทศไทยอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศกลับตกอยู่ในสภาพที่ยากจน รายได้จากการจำหน่ายผลิตผลิตคือ (ข้าวยังอยู่ในระดับต่ำเนื่องมาจากรายได้ส่วนใหญ่ของชาวนามาจากการขายผลผลิต) ข้าว แต่เป็นพืชที่มีความผันผวนทางราคาสูงเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในปริมาณผลผลิตและปริมาณความต้องการรวม ทั้งภายในประเทศและของโลก ทำให้รายได้ของชาวนาไม่มีเสถียรภาพและทำให้ชาวนาซึ่งเป็นผู้ผลิตไม่สามารถคาดการได้ว่า ตลอดปีการผลิตหนึ่งๆ ตนจะมีรายได้เท่าใด คุ้มต้นทุนการผลิตหรือไม่ ทั้งยังไม่สามารถวางแผนการผลิตได้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของตลาดได้ รัฐบาลจึงต้องมีนโยบายรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกด้วยการประกันราคาหรือพยุงราคาข้าว เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ในการศึกษาวิทยานิพนธ์นี้ เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะแสดงสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาข้าวตกต่ำ ตลอดจนบทบาทของรัฐในการใช้นโยบายการควบคุมตลาดข้าวซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาข้าว โดยเน้นนโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกอันมีผลกระทบถึงชาวนาผู้ผลิตโดยตรง ทั้งนี้ได้นำเสนอการใช้มาตรการกำหนดและรักษาระดับราคาข้าวเปลือกฤดูการผลิตปี 2524/2525 เป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังต้องการเข้าไปศึกษาบทบาทการดำเนินงานของหน่วยงานที่รัฐใช้เป็นกลไกในการปฏิบัติงาน จากผลของการศึกษาพบว่า รัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จในการใช้นโยบายรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกโดยใช้กลไกทางตลาดเข้าแทรกแซง เพื่อดึงระดับราคาข้าวเปลือกที่ชาวนาขายให้สูงขึ้นมาถึงระดับราคาที่กำหนดไว้ได้ เนื่องจากความผิดพลาดทางแนวคิดของรัฐบาลและความไร้ประสิทธิภาพของหน่วยงานที่รับนโยบายไปปฏิบัติ ข้อเสนอแนะในวิทยานิพนธ์นี้คือ รัฐบาลควรจะยกเลิกนโยบายรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกด้วยมาตรการประกันราคาหรือพยุงราคาเสีย เพราะมาตรการดังกล่าวมิได้ก่อให้เกิดผลดีแก่ผู้ผลิต รัฐบาลควรปล่อยให้ระบบการตลาดข้าวเป็นแบบเสรี โดยยกเลิกนโยบายควบคุมการส่งออก ทั้งนี้รัฐบาลอาจใช้มาตรการเก็บภาษีและให้เงินอุดหนุนในระดับส่งออกแทนซึ่งน่าจะเป็นการเพียงพอในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวภายในประเทศ แต่ต้องไม่ลืมว่านโยบายนี้เป็นไปเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของชาวนาผู้ผลิตข้าว ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าหนทางที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างแท้จริง ก็คือการแก้ที่ตัวโครงสร้างของปัญหานั่นคือ การกระจายปัจจัยการผลิตโดยให้ชาวนาเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต การให้การศึกษาตลอดจนสวัสดิการ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง |
Other Abstract: | Rice plays an important role in Thailand as the Thais consume rice as their staple food. Rice is a kind of export bringing highest incomes to our country. However, Farmers who are the majority of people in Thailand are still very poor. The incomes from their products are still low because the paddy price fluctuates widely. Farmers’ incomes are uncertain because of the change in the product quantity and demand both in the country and in the world market. Farmers cannot expect how much they will get after the harvest season. Thus, Is the paddy worth raising? Moreover, Farmers cannot plan their production suit for the demand of the market. Therefore, to solve these problems, the government should pursue the guarantee price system measures. The purpose of this thesis is to show the root cause that makes the paddy price low including the government role in market control policies which result in the change of the paddy price. The government should emphasize on policies and measures to keep the paddy price stable because this will effect on Farmers inevitably. The thesis also proposes using fixed measures and paddy stable price program in the production season 1981/1982 as the examples for analysis. Moreover, this thesis desires to study the working role of the government agencies. The study shows that the government have failed in the policy of shore up paddy prices and the failure have resulted from an (unworkable) unsuitable policy and the government agencies inefficiency. The thesis recommends the government give up the paddy stabilization policy on paddy supporting measure. The reason is that Farmers did not actually benefit from the practice. The government should allow market mechanism run free by giving up export control policy. In the practice, the government can pursue Tax measures and give monetary support at the export level instead then, it will be sufficient to stabilize the domestic paddy price. The government should keep in mind that all measures and policies are aimed at helping the poverty-stricken Farmers indeed. The writer believe the best way to solve the paddy price problem is that there must be the distribution of product factors, the education and welfare help to the farmers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34745 |
ISBN: | 9745647683 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pimchan_ju_front.pdf | 3.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimchan_ju_ch1.pdf | 7.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimchan_ju_ch2.pdf | 11.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimchan_ju_ch3.pdf | 11.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimchan_ju_ch4.pdf | 16.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimchan_ju_ch5.pdf | 9.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimchan_ju_back.pdf | 11.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.