Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34990
Title: ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตีความกฎหมายอาญา
Other Titles: Influencial factors upon the interpretation of criminal law
Authors: อดุลย์ อุดมผล
Advisors: ชาญวิทย์ ยอดมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กฎหมายอาญา -- ไทย -- การตีความและการแปล
ภาษากฎหมาย -- ไทย
กฎหมายย้อนหลัง -- ไทย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การตีความกฎหมายเป็นการเลือกเอาหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่แน่นอนจากกลุ่มของหลักเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร การตีความกฎหมายมีส่วนในการพัฒนากฎหมายลายลักษณ์อักษรอยู่ด้วย การตีความบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรจึงมิใช่เป็นแต่เพียงการหาหลักเกณฑ์จากบทบัญญัติเท่านั้น แต่ยังมีส่วนที่เป็นการสร้างหลักเกณฑ์ทางกฎหมายขึ้นทางหนึ่งด้วย ในกฎหมายอาญามีหลักว่า บุคคลจะต้องรับโทษต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (Nulla poena sine lege) ในการตีความให้ได้หลักเกณฑ์ทางกฎหมายเพื่อนำมาลงโทษบุคคลจึงทำได้เท่าที่เป็นการเลือกหลักเกณฑ์ทางกฎหมายจากบทบัญญัติเท่านั้น ส่วนการตีความที่เป็นการสร้างหลักเกณฑ์ทางกฎหมายขึ้นใหม่ไม่อาจนำมาใช้เพื่อให้ได้หลักเกณฑ์มาลงโทษบุคคล การตีความบทกฎหมายอาญาจึงต้องมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการตีความบทกฎหมายอื่น กล่าวคือ จะสร้างฐานความผิดขึ้นใหม่โดยอาศัยการตีความไม่ได้ แต่ในส่วนหลักเกณฑ์ทางกฎหมายอาญาที่นำมาใช้เพื่อเป็นคุณแก่จำเลย ไม่อยู่ในข้อจำกัดว่าต้องเป็นหลักเกณฑ์ที่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น การตีความกฎหมายในส่วนนี้จึงไม่มีความแตกต่างจากการตีความกฎหมายอื่น กล่าวคือ ผู้ตีความอาจหาหลักเกณฑ์ที่อยู่นอกบทบัญญัติมาใช้ในทางเป็นคุณแก่จำเลยได้ นอกจากนั้น ทัศนคติที่แตกต่างกันในความเป็นอิสระของกฎหมายอาญา (autonomy of criminal law) ก็ดี ความยิ่งหย่อนในการให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบด้านจิตใจของผู้กระทำความผิด (subjective) และองค์ประกอบภายนอก (objective) ก็ดี ตลอดจนความยิ่งหย่อนในการให้ความสำคัญต่อการควบคุมอาชญากรรม (crime control) และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล (due process) ก็ดี ย่อมมีผลกระทบต่อการตีความกฎหมายอาญาเพื่อลงโทษบุคคล
Other Abstract: Interpretation of law entails legal principles drawn from the written law and the unwritten law. In particular, it helps to develop the written law. It is not merely based upon definite legal principles which are found in texts, but also upon the enunciation of new principles. In Criminal Law there is a principle to the effect that a man may only be punished if the law provides for it expressly (Nulla poena sine lege). Interpretation of law to impose a sentence on someone may only take place if there is an expressed legal provision for it. The law may not be interpreted so as to give rise to new principles to punish citizen. Interpretation of Criminal Law has thus distinct characteristics which differ from other forms of legal interpretation, i.e. the law may not be interpreted to establish new crimes. However, it so far as criminal principles may be interpreted to confer benefits upon the accused, they are not subject to the stipulation that they must be written principles. Interpretation of law, in this respect, resembles interpretation of law in other matters, i.e. the person interpreting the law may utilize principles beyond the written text which are of benefit to the accused. Other factors of note which may affect interpretation of law include the following : NUANCES concerning autonomy of Criminal Law, disparities between subjective and objective elements, different priorities for crime control and due process of law as linked with human rights.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34990
ISBN: 9745684309
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adul_ud_front.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open
Adul_ud_ch1.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open
Adul_ud_ch2.pdf18.57 MBAdobe PDFView/Open
Adul_ud_ch3.pdf26.7 MBAdobe PDFView/Open
Adul_ud_ch4.pdf34.22 MBAdobe PDFView/Open
Adul_ud_ch5.pdf4.55 MBAdobe PDFView/Open
Adul_ud_back.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.