Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35039
Title: ความแตกต่างของรูปแบบเอนไซม์ใน Opisthorchis viverrini
Other Titles: Variation of enzyme patierns in Opisthorchis viverrini
Authors: อติรัฐ ปิยัมบุตร
Advisors: สดศรี ไทยทอง
ธาดา สืบหลินวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พยาธิใบไม้ในตับ -- ไทย
ไอโซเอ็นซัยม
การเคลื่อนย้ายสู่ขั้วไฟฟ้า
เอนไซม์ -- การวิเคราะห์
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ (opisthorchiasis) ในประชาชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เพื่อจะดูว่ามีความแตกต่างในประชากรของพยาธิเหล่านี้หรือไม่ จึงได้ศึกษาความแตกต่างของรูปแบบไอโซไซม์ของเอนไซม์ กลูโคสฟอสเฟต ไอโซเมอเรส (GPI), ฟอสโฟกลูโคมิวเตส (PGM) และกลูโคส-6-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจิเนส (G-6PD) ในพยาธิชนิดนี้ ซึ่งได้จากตับของศพที่ถูกผ่าเพื่อชันสูตร และจากน้ำดีภายในตับของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวน 109 ตัว และได้จากตับของแฮมสเตอร์ที่ถูกทำให้ติดเชื้อพยาธิชนิดนี้ 59 ตัว รวมทั้งสิ้น 168 ตัว โดยวิธี เซลลูโลส อะซีเตท อีเล็คโตรฟอรีชีส พบว่าเอนไซม์ทั้งสามตัวในพยาธิชนิดนี้มีรูปแบบไอโซไซม์หลายรูปแบบ และรูปแบบไอโซไซม์ในเอนไซม์กลูโคสฟอสเฟต ไอโซเมอเรส ที่พบมีทั้งหมด 8 รูปแบบ คือ GPI₁, GPI₂, GPI₃, GPI₄, GPI₅, GPI₆, GPI₇ และ GPI₈ ในเอนไซม์ฟอสโฟกลูโคมิวเตส มีความแตกต่างของรูปแบบไอโซไซม์ 5 รูปแบบคือ PGM₁, PGM₂, PGM₃, PGM₄ และ PGM₅ และพบความแตกต่างของรูปแบบไอโซไซม์ 3 รูปแบบคือ G-6PD₁, G-6PD₂ และ G-6PD₃ ในเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟตดีไฮโดรจิเนส จากความแตกต่างของรูปแบบไอโซไซม์ที่พบดังกล่าวในการศึกษาครั้งนี้ สามารถจำแนกพยาธิทั้ง 168 ตัว ออกเป็นไทพ์ย่อยได้ 47 ไทพ์ โดยอาศัยรูปแบบไอโซไซม์ของเอนไซม์ทั้งสามชนิดที่พบในพยาธิแต่ละตัว
Other Abstract: Opisthorchis viverrini is the cause of opisthorchiasis among the people in northeast Thailand. Isozyme analysis was carried out on the adult worms collected from livers of autopsies, operate patients at Srinakarin Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen Privince, Thailand, and from the livers of infected golden hamsters to see whether this technique could detect the differences in the population of these parasites. A total of 109 worms from the human livers and 59 worms from infected hamsters were electrophoresed by cellulose acetate electrophoresis and stained for 3 enzymes : glucosephosphate isomerase (GPI), phosphoglucomutase (PGM), and glucose-6-phosphate dehydrogenase. All of enzymes studied showed polymorphism. Eight different patterns of GPI₁, GPI₂, GPI₃, GPI₄, GPI₅, GPI₆, GPI₇ and GPI₈ were found in glucose-phosphate isomerase. Five patterns of PGM₁, PGM₂, PGM₃, PGM₄ and PGM₅ and three patterns of G-6PD₁, G-6PD₂ and G-6PD₃ were found in phosphor-glucomutase and glucose-6-phosphate dehydrogenase respectively. According to the variation of enzyme patterns obtained in this study 168 worms could then be classified into forty-seven type which was based on the isozyme patterns of three enzymes studied found in individual worm.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35039
ISBN: 9745681644
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atirat_pi_front.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Atirat_pi_ch1.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open
Atirat_pi_ch2.pdf7.18 MBAdobe PDFView/Open
Atirat_pi_ch3.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Atirat_pi_ch4.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open
Atirat_pi_ch5.pdf9.84 MBAdobe PDFView/Open
Atirat_pi_ch6.pdf4 MBAdobe PDFView/Open
Atirat_pi_ch7.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Atirat_pi_back.pdf5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.