Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35050
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างบริโภคนิสัยกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 11
Other Titles: The relationship between eating habit and nutritional status of pre-school children in schools under the jurisdiction of the national primary education commission, educational region eleven
Authors: นันทิยา เกิดวิชัย
Advisors: นิรมล สวัสดิบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: บริโภคนิสัย -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
เด็ก -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- โภชนาการ
เด็กวัยก่อนเข้าเรียน -- โภชนาการ
Food habits -- Thailand, Northeastern
Children -- Thailand, Northeastern -- Nutrition
Preschool children -- Nutrition
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาบริโภคนิสัย ภาวะโภชนาการ แสะความสัมพันธ์ระหว่างบริโภคนิสัยและภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน ในใรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 11 สรุปผลการวิจัย 1. เด็กก่อนวัยเรียนส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 42.25 มีบรึโภคนิสัยอยู่ในระดับดีมาก ส่วนที่มีคะแนนบริโภคนิสัยอยู่ในระดับดี ระดับค่อนข้างดี ระดับพอใช้ แสะระดับต้องแก้ไข คิดเป็นร้อยละ 26.50, 15.00, 8.25 และ 1.25 ตามลำดับ และมีคะแนนเฉลี่ยของบริโภคนิสัย คิดเป็นร้อยละ 78.10 บริโภคนิสัยที่เด็กก่อนวัยเรียนปฏิบัติถูกต้องเป็นประจำมากที่สุด คือ รับประทานผลไม้ที่มีรสหวาน ๆ ได้ เช่น มะม่วงสุก เงาะ ลำไย ขนุน ทุเรียน ร้อยละ 97.00 รองลงมาคือ รับประทานอาหารครบวันละ 3 มื้อ ร้อยสะ 96.50 ส่วนบริโภคนิสัยที่เด็กปฏิบัติถูกต้องน้อยที่สุดคือ ดื่มนมเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 40.50 2. เด็กก่อนวัยเรียนส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 72.00 มีภาวะโภชนาการอยู่ในระดับดีมาก อาการแสดงการขาดสารอาหารที่ปรากฎมากที่สุดในเด็กก่อนวัยเรียน คือ พันผุ โยก ร้อยละ 42.00 รองลงมาคือ ผมมีสี'จาง ร้อยละ 25.00 ส่วนอาการแสดงการขาดสารอาหารที่ปรากฎ ในเด็กก่อนวัยเรียนน้อยที่สุดคือ ตาดำหลุดออกจากตาขาว และต่อมไธรอยด์โต ร้อยละ 0.50 3. บริโภคนิสัยของเด็กก่อนวัยเรียนมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to study eating habit, nutritional status and the relationship between eating habit and nutritional status of pre-school children in schools under the jurisdiction of the National Primary Education Commission, Educational Region Eleven. Findings: 1. Most of the pre-school children (42.25 per cent) had a very good eating habit. Those with good, rather good, fair and poor eating habits were 26.50, 15.00, 8.25 and 1.25 per cent respectively. The average score of the children's eating habit was 78.10 per cent. Eating habits that most children practiced correctly were: being able to eat sweet fruits such as ripe mangoes, rambutans, longans, jack fruits, durians 97.00 per cent, eating 3 seals per day 96.50 per cent. The eating habit practiced by the lowest percentage (46.50 per cent) of the children was drinking milk every day. 2. Most of the pre-school children (72.00 per cent) were in very good nutritional status. The malnutrition signs mostly found in the pre-school children were decayed teeth (42.00 per cent) and dyspigmentation of the hair (25.00 per cent). The least signs of malnutrition found the pre-school The in the pre-school children were keratomalacia and thyroid enlagement (0.50 per cent). 3. The relationship between eating habit and nutritional status of pre-school children was statistically significant at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35050
ISBN: 9745766925
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuntiya_gi_front.pdf809.19 kBAdobe PDFView/Open
Nuntiya_gi_ch1.pdf791.48 kBAdobe PDFView/Open
Nuntiya_gi_ch2.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
Nuntiya_gi_ch3.pdf867.16 kBAdobe PDFView/Open
Nuntiya_gi_ch4.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Nuntiya_gi_ch5.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Nuntiya_gi_back.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.