Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35273
Title: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความคิดสร้างสรรค์กับจินตภาพ ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: An interaction between levels of creativity and imagery in computer-assisted instruction lesson on learning achievement of students of mathayom suksa one
Authors: เมธี เผื่อนทอง
Advisors: เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความคิดสร้างสรรค์กับจินตภาพในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระดับความคิดสร้างสรรค์ใช้แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ของ Jellen และ Urban เพื่อจัดกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม คือ สูง กลาง และต่ำ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 รูปแบบ คือ แบบเอื้อให้เกิดจินตภาพ แบบไม่เอื้อให้เกิดจินตภาพ และแบบเสนอภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผ่านการทดสอบและจำแนกระดับความคิดสร้างสรรค์แล้ว จำนวน 270 คน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวัดโดยใช้แบบทดสอบหลังเรียนทันที การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสอบทาง ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีระดับความคิดสร้างสรรค์ต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 2. นักเรียนที่เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบเอื้อให้เกิดจินตภาพ แบบไม่เอื้อให้เกิดจินตภาพ และแบบเสนอภาพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.5 3. ระดับความคิดสร้างสรรค์กับจินตภาพในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีปฏิสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the interaction between levels of creativity and imagery in computer-assisted instruction lesson on learning achievement of students of Mathayom Suksa One. The levels of creativity were labeled as high, medium and low: and classified by Jellen and Urban’s test of creativity. The treatments were three formats of computer-assisted instruction lessons, which facililate or not facililate imagery, namely: imagery lesson, non-imagery lesson, and pictorial lesson. The subjects were 270 students whom were stratified sampling into 3 treatment groups. The learning achievement were tested immediately after learning. The data were analysed by means of two way analysis of variance. The findings were as follows: 1. There were difference in learning achievement among the subjects with different levels of creativity at 0.05 level of significance. 2. There was no significant difference among three treatment groups. 3. There was an interaction between levels of creativity and imagery at 0.05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35273
ISBN: 9745796344
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Matee_ph_front.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open
Matee_ph_ch1.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open
Matee_ph_ch2.pdf27.46 MBAdobe PDFView/Open
Matee_ph_ch3.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open
Matee_ph_ch4.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open
Matee_ph_ch5.pdf7.53 MBAdobe PDFView/Open
Matee_ph_back.pdf12.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.