Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35303
Title: ผลของการใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้งทีมีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการประยุกต์ความรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Effects of using 5E learning cycle with argument mapping on science learning achievement and ability in knowledge application of lower secondary school students
Authors: ประภารัตน์ สิงหเสนา
Advisors: วัชราภรณ์ แก้วดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Watcharaporn.K@Chula.ac.th
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Science -- Study and teaching ‪(Secondary)‬
Academic achievement
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้ง 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนระหว่างกลุ่มที เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้งกับกลุ่มทีเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการประยุกต์ความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้ง 4) เปรียบเทียบความสามารถในการประยุกต์ความรู้หลังเรียนระหว่างกลุ่มที เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้งกับกลุ่มที เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที 2โรงเรียนจิตรลดา ปีการศึกษา 2552 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้ง และกลุ่มเปรียบเทียบซึ่งได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ เครื่องมือทีใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และแบบสอบความสามารถในการประยุกต์ความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ความสามารถในการประยุกต์ความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ความสามารถในการประยุกต์ความรู้หลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The objectives of this study were to compare 1) students’ science learning achievement before and after learning by using 5E learning cycle with argument mapping 2) students’ science learning achievement between experimental group, who learned science by using 5E learning cycle with argument mapping, and comparative groups, who learned science by using traditional instruction 3) students’ ability in applying knowledge before and after learning by using 5E learning cycle with argument mapping 4) students’ ability in applying knowledge between experimental and comparative groups. The samples were Mathayom Suksa Two students of Chitralada School in Academic Year 2009. These samples were divided into two groups: experimental group was assigned to learn science by using 5E learning cycle with argument mapping and comparative group was assigned to learn science by using traditional instruction. The research instruments were science learning achievement test and ability in applying knowledge test. The collected data were analyzed by means of arithmetic mean, percentage, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows: 1. The experimental group’s posttest mean scores of science learning achievement were higher than pretest mean scores at the significance level of .05 2. The experimental group’s posttest mean scores of science learning achievement were higher than the comparative group at the significance level of .05 3. The experimental group’s posttest mean scores of ability in applying knowledge higher than pretest mean score at the significance level of .05 4. The experimental group’s posttest mean scores of ability in applying knowledge higher than the comparative group at the significance level of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35303
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.784
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.784
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
praparat_si.pdf11.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.