Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35680
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันชัย บุญรอด-
dc.contributor.authorพงษ์ศักดิ์ ศรีสมทรัพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2013-08-21T08:23:31Z-
dc.date.available2013-08-21T08:23:31Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35680-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกกุศโลบายห้าขั้นตอนที่มีต่อคะแนนในการยิงธนู และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่มที่ฝึกการยิงธนูเพียงอย่างเดียวและกลุ่มที่ฝึกยิงธนูควบคู่กับการฝึกกุศโลบายห้าขั้นตอนก่อนการฝึกและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬายิงธนู ประเภทคันธนูโค้งกลับ เพศชายอายุระหว่าง 18- 50 ปี ที่มาซ้อมอยู่ที่สนามกีฬายิงธนูอาเชอร์รี่ไทย จำนวน 30 คน ทดสอบความสามารถในการยิงธนูก่อนการทดลอง (Pre-test) ระยะ 18 เมตร จำนวน 30 ลูก ตามวิธีการแข่งขันยิงธนูในร่ม ระยะ 18 เมตร ของ ฟีต้า แล้วแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ด้วยวิธีแมชชิ่ง กรุ๊ป (Matching group method) จากนั้นทำการจับฉลากเพื่อให้เป็น กลุ่มควบคุม และ กลุ่มทดลอง โดยกลุ่มควบคุมทำการฝึกทักษะยิงธนูอย่างเดียว ส่วนกลุ่มทดลองทำการฝึกยิงธนูควบคู่กับกุศโลบายห้าขั้นตอน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ แล้วจึงทดสอบความสามารถในการยิงธนูหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 (Post- test) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดย หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่า “ที” (Paired samples t-test) และ ค่า “ที” (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลของการฝึกยิงธนูควบคู่กับการฝึกกุศโลบายห้าขั้นตอนมีผลต่อคะแนนในการยิงธนูระยะ 18 เมตร ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนในการยิงธนูระยะ 18 เมตร ระหว่างกลุ่มที่ฝึกยิงธนูควบคู่กับการฝึกกุศโลบายห้าขั้นตอน กับ กลุ่มที่ฝึกยิงธนูเพียงอย่างเดียวก่อนการฝึก และ หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ไม่แตกต่างกันen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate the effects of the five-step strategy training on the scores in Archery and the scores comparison between the control group and the experimental group. The subjects were 18-50 year-old, 30 males volunteers of Thailand Outdoor Archery club. Each subject was pre-test on shooting 30 arrow from 18 meters and matching group method was used to divided into 2 groups of 15 subjects as the control group and the experimental group, the control group practiced archery skills and the experimental group practiced archery skills and five-step strategy for 8 weeks. Then they were taken Post-test. The collected data were analyzed interm of means, standard deviations , Paired samples t-test and Independent t-test. The results were as follow: 1.The Pre-test and Post –test scores of Experimental group were significantly different at the .05 level. 2.The Pre-test and Post-test Score in Archery between control group and experiment group were no significantly different.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.600-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการยิงธนู -- การฝึกen_US
dc.subjectการฝึกกุศโลบายห้าขั้นตอนen_US
dc.subjectArchery -- Trainingen_US
dc.subjectA Five Step Strategyen_US
dc.titleผลของการฝึกกุศโลบายห้าขั้นตอนที่มีต่อคะแนนในการยิงธนูen_US
dc.title.alternativeThe effects of the five step strategy training on the score in archeryen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorspscmail@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.600-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pongsak_sr.pdf5.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.