Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35688
Title: การพัฒนารูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือและการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ
Other Titles: Development of a kindergarten teacher training model using collaborative inquiry process and comtemplative learning to enhance professional competencies
Authors: แสงโสม กชกรกมุท
Advisors: ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์
จุมพล พูลภัทรชีวิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: kruann@teeranurakschool.com
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ครูอนุบาล -- การฝึกอบรม
การพัฒนาอาชีพ
Kindergarten teachers -- Training of
Career development
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือและการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ 2) ศึกษาผลของสมรรถนะทางวิชาชีพของครูผู้เข้าร่วมการวิจัยในรูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือและการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ ในด้านความรู้ ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการปฏิบัติตน ผู้เข้าร่วมการวิจัยได้แก่ ครูชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร จำนวน 6 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การเตรียมการ ขั้นที่ 2 การพัฒนารูปแบบฯ ระยะที่ 1 ขั้นที่ 3 การพัฒนารูปแบบฯ ระยะที่ 2 และ ขั้นที่ 4 การนำเสนอรูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือและการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ (ฉบับสมบูรณ์) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือ และการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการ และการประเมินการเรียนรู้ กระบวนการของรูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือและการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การรวมกลุ่มเปิดใจ ขั้นที่ 2 การร่วมมือแสวงหาแนวทาง ขั้นที่ 3 การปฏิบัติสืบสอบตามแนวทางเป็นรายบุคคล และ ขั้นที่ 4 การสร้างความหมาย และ 3 กระบวนการย่อย ได้แก่ 1) สุนทรียสนทนา 2) การฟังอย่างลึกซึ้ง และ 3) การสะท้อนการเรียนรู้ เนื้อหาของรูปแบบฯประกอบด้วย พัฒนาการเด็ก การจัดการเรียนรู้ การทำงานและสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก การเป็นแบบอย่างที่ดีและความภาคภูมิใจในวิชาชีพครู ใช้เวลาในการดำเนินการ 12 สัปดาห์ 2. รูปแบบการอบรมครูอนุบาลโดยใช้กระบวนการสืบสอบแบบร่วมมือ และการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ มีผลต่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ โดยครูผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกคนมีระดับพฤติกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพด้านความรู้เพิ่มขึ้น 2 ระดับ สมรรถนะทางวิชาชีพด้านการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น 2 ระดับ และสมรรถนะทางวิชาชีพด้านการปฏิบัติตนเพิ่มขึ้น 3 ระดับ
Other Abstract: The purposes of this study were to 1) develop a kindergarten teacher training model using collaborative inquiry process and contemplative learning to enhance professional competencies, and 2) study the effects of teacher’s professional competencies on the kindergarten teacher training model using collaborative inquiry process and contemplative learning to enhance professional competencies in knowledge, working performance, and self-performance. The research participants were six kindergarten teachers of office of the private education commission, Bangkok. The study design was a research and development using qualitative methods to collect data. The research procedure was divided into 4 steps which were 1) the preparation, 2) the development model for the initial phase, 3) the development model for the revised phase, and 4) the presentation of the revised kindergarten teacher training model using collaborative inquiry process and contemplative learning to enhance professional competencies. The research results were: 1. The kindergarten teacher training model using collaborative inquiry process and contemplative learning to enhance professional competencies consisted of concept, objectives, content, process, and evaluation. The process of the kindergarten teacher training model using collaborative inquiry process and contemplative learning to enhance professional competencies consisted of 4 steps including 1) forming 2) creating 3) acting, and 4) making meaning. Each step was consisted of 3 process, 1) dialogue 2) deep listening, and 3) learning reflection. The content of the model consisted of child development, learning instruction, working collaborative with people whom related to children, being role model, and pride of teacher professional. The duration of experiment was 12 weeks. 2. The kindergarten teacher training model using collaborative inquiry process and contemplative learning had the effect on enhancing professional competencies. All teacher participants’ behaviors level of professional competencies in knowledge and in working performance increased two level higher. Also the behaviors level of professional competencies in self- performance increased three level higher.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35688
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.606
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.606
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sangsoam_ko.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.