Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35753
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จรัส สุวรรณมาลา | - |
dc.contributor.author | สรัล ราชซ้าย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพฯ | - |
dc.date.accessioned | 2013-08-30T03:55:20Z | - |
dc.date.available | 2013-08-30T03:55:20Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35753 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะประเมินความเสี่ยงทางการคลังของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยอันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงทางการคลัง และการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของกรุงเทพมหานคร ในช่วงปี พ.ศ. 2550-2553 ผู้วิจัยได้จัดเก็บสถิติทางการคลังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรุงเทพมหานคร และสำรวจทัศนคติเกี่ยวการรับรู้และการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของผู้บริหารและข้าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการบริหารงานคลังและงบประมาณของกรุงเทพมหานคร จำนวน 125 ราย ผลการศึกษาพบว่ากรุงเทพมหานครมีความเสี่ยงทางการคลังอยู่ในระดับต่ำ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงด้านการบริหารสภาพคล่อง การควบคุมดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี และการบริหารหนี้และภาระผูกพันทางการคลังระยะยาว ความเสี่ยงทางการคลังที่น่าจะเห็นได้ชัดเจนคือ แหล่งรายได้ที่แปรปรวนค่อนข้างสูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากสภาวะวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่รุนแรงและบ่อยครั้งมากขึ้น ส่งผลให้รายได้ของกรุงเทพมหานครมีความผันผวนและควบคุมได้ยากขึ้น กรุงเทพมหานครพึ่งพาแหล่งรายได้ที่จัดเก็บโดยหน่วยงานภายนอกในสัดส่วนที่สูง แหล่งรายได้ดังกล่าวนี้มีความผันผวนสูง ในขณะที่กรุงเทพมหานครไม่สามารถควบคุมหรือดำเนินการใดๆ ได้ เพราะเป็นหน่วยรับจัดสรรรายได้เท่านั้น สาเหตุอีกประการหนึ่งคือ กรุงเทพมหานครมีระบบการบริหารรายจ่ายที่ขาดประสิทธิภาพ ทำให้มีเงินเบิกจ่ายเหลื่อมปีในสัดส่วนที่สูง และยากต่อการควบคุมดุลการเงินการคลังให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ในส่วนของการจัดการความเสี่ยงทางการคลังนั้น พบว่า กรุงเทพมหานครมีระบบการจัดการความเสี่ยงทางการคลังเพียงบางส่วน อย่างไรก็ตาม ด้วยความตระหนักต่อสภาวะความเสี่ยงทางการคลังดังกล่าวของทั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายปฏิบัติการของกรุงเทพมหานคร จึงได้เริ่มดำเนินการวางแผนกาจัดการความเสี่ยงทางการคลังอย่างเป็นทางการ หากกรุงเทพมหานครได้นำแผนฯ ไปดำเนินการให้เป็นจริงในทางปฏิบัติ ก็จะช่วยบรรเทาความเสี่ยงทางการคลังในอนาคตได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research is aimed at assessing fiscal risks, its causes, and controlling measures of the Bangkok Metropolitan Authority (BMA) from 2007 to 2010. The researcher obtained financial statistics for pertinent departments in BMA and conducted a survey and interviews with 125 BMA executives and staffs, who were directly involving with the BMA fiscal management process. The research findings indicate that the BMA’s fiscal risk is rather low. Two major risks are apparent. First, the BMA heavily depends on external-source revenues, which are highly fluctuated and uncontrollable. Second, the BMA’s expenditure administration is rather low efficient. It usually ends up with high amounts of unspent capital budgets, and consequently has been carried over to following years. The multi-year budget liabilities create difficulties for the BMA to balance annual budget spending at the year-end. In term of fiscal-risk management, the research finds that The BMA executives and pertinent staffs has concerned on this issue. As a result, the BMA has initiated a plan for financial risk management. However, it needs a full installation and implementation, in order that possible fiscal risks can be prevailed. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.611 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.subject | การคลัง -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | การคลัง -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- การจัดการ | en_US |
dc.subject | การบริหารความเสี่ยง | en_US |
dc.subject | กรุงเทพฯ -- การจัดสรรเงินและรายจ่าย | en_US |
dc.subject | Bangkok Metropolitan Authority | en_US |
dc.subject | Finance, Public -- Thailand -- Bangkok | en_US |
dc.subject | Finance, Public -- Thailand -- Bangkok -- Management | en_US |
dc.subject | Risk management | en_US |
dc.subject | Bangkok -- Appropriations and expenditures | en_US |
dc.title | การจัดการความเสี่ยงทางการคลังของกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | The management of fiscal risk of Bangkok Metropolitan Administration | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | scharas@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.611 | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
saran_ra.pdf | 5.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.