Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35851
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราภรณ์ ชัยวัฒน์-
dc.contributor.authorเติมสุข รักษ์ศรีทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-09-09T02:39:54Z-
dc.date.available2013-09-09T02:39:54Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35851-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวด กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวดร่วมกับการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมพิเศษและสามัญ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำจำนวน 80 ราย โดยสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 4 กลุ่มๆละ 20 คน ประเมินความกลัวโดยแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมความกลัวการได้รับยาพ่นแบบละอองฝอยของเด็กวัยก่อนเรียน ของจิรวัชร เกษมสุขและวราภรณ์ ชัยวัฒน์(2555) มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา .82 และค่าความเที่ยงของการสังเกต .98 วิเคราะห์คะแนนพฤติกรรมความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียนโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวด มีความกลัวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม มีความกลัวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวดร่วมกับการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม มีความกลัวน้อยกว่า กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวด กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental study was to compare the effect of routine nursing care, nursing care to relieve pain, parental participative nursing care, nursing care to relieve pain plus parental participative nursing care on fear among preschoolers receiving intravenous fluid infusion. Subjects were 80 children, age ranged from 3-6 years old, admited for intravenous fluid infusion, at Thammasat university hospital. Twenty children were randomly assigned to each experiment group. Children ’s fear during received intravenous fluid infusion was measured by Intravenous Fluid Infusion Fear Behavior Scale modified by the researcher from the Aerosol Therapy Fear Behavior Scale of Chirawachr Kasemsook and Waraporn Chaiyawat (2011). It’s content validity index was .82 and interrater reliability was .98 Data were analyzed by ANOVA, at the level of statistical significance of .05 Major findings were as follow : 1. Children receiving nursing care to relieve pain showed less fear than those receiving routine nursing care, at the statistical level of 0.05 2. Children receiving parental participative nursing care showed less fear than those receiving routine nursing care, at the statistical level of 0.05 3. Children receiving nursing care to relieve pain plus parental participative nursing care showed less fear than those receiving only nursing care relieve pain , parental participative nursing care and routine nursing care, at the statistical level of 0.05en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.657-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฉีดเข้าหลอดเลือดดำen_US
dc.subjectเด็กวัยก่อนเข้าเรียน -- การดูแลen_US
dc.subjectInjections, Intravenousen_US
dc.subjectPreschool children -- Careen_US
dc.titleผลการรพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวดและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในเด็กวัยก่อนเรียนen_US
dc.title.alternativeThe effect of nursing care to relieve pain and parent participation on fear among preschoolers receiving intravenous infusionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwaraporn.ch@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.657-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
termsook_ru.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.