Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35862
Title: | การดูดซับบีเท็กจากนุ่นและวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยเรยอน |
Other Titles: | Adsorption of BTEX by kapok and rayon industrial waste |
Authors: | ดาราธิป เพ็ชรพรหม |
Advisors: | สุธา ขาวเธียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | sutha.k@chula.ac.th |
Subjects: | ของเสียจากโรงงาน -- การนำกลับมาใช้ใหม่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ -- การกำจัดของเสีย Factory and trade waste -- Recycling Textile industry -- Waste disposal |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สารอินทรีย์ระเหยง่ายกลุ่มบีเท็กประกอบด้วย เบนซีน โทลูอีน เอทธิลเบนซีนและไซลีน ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมตัวทำละลาย ดังนั้นในงานวิจัยชิ้นนี้จึงได้มีการประยุกต์ใช้เส้นใยธรรมชาติจากนุ่นที่มีคุณสมบัติความเป็นไฮโดรโฟบิคมาขึ้นรูปเป็นวัสดุดูดซับสารบีเท็กร่วมกับเส้นใยเรยอน น้ำยาวิสโคส และเกลือโซเดียมซัลเฟตที่เป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยทำการขึ้นรูปวัสดุดูดซับที่มีอัตราส่วนผสมของเส้นใยนุ่นต่อเส้นใยเรยอนและอัตราส่วนผสมของน้ำยาวิสโคสต่อน้ำแตกต่างกัน จากการทดลองพบว่า อัตราส่วนผสมของเส้นใยนุ่นต่อเส้นใยเรยอนที่เหมาะสมสำหรับนำมาขึ้นรูปเป็นวัสดุดูดซับ มี 5 อัตราส่วน ได้แก่ 1:0, 3:1, 1:1, 1:3, 0:1 และอัตราส่วนผสมของน้ำยาวิสโคสต่อน้ำที่เหมาะสมในการขึ้นรูปวัสดุดูดซับมี 3 อัตราส่วน ได้แก่ 1:2, 1:4 และ 1:6 เมื่อนำวัสดุดูดซับที่เตรียมได้มาดูดซับไอระเหยของสารบีเท็กที่มีความเข้มข้นของสารแต่ละชนิดเริ่มต้น 800-1200 ส่วนในล้านส่วน ผ่านคอลัมน์ดูดซับ พบว่า วัสดุดูดซับที่เตรียมจากอัตราส่วนผสมของเส้นใยนุ่นต่อเส้นใยเรยอน 1:0 ผสมกับน้ำยาวิสโคสต่อน้ำ 1:6 (S8) เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุดในการดูดซับ ไอระเหยของบีเท็กแต่ละชนิด โดยมีประสิทธิภาพในการกำจัดไอระเหยของสารเบนซีนโทลูอีน ไซลีนและเอทธิลเบนซีน ร้อยละประมาณ 78.84±10.01, 72.70±16.69, 58.58±2.47 และ 54.45±2.72 ตามลำดับ ซึ่งการกำจัดไอระเหยของสารส่วนใหญ่มีแนวโน้มมากกว่าค่าเฉลี่ยในการกำจัดสารแต่ละชนิด ที่มีค่าเท่ากับร้อยละ 58.84 และเมื่อนำ S8 มาเปรียบเทียบกับแผ่นกรองคาร์บอนที่เป็นวัสดุดูดซับทางการค้าพบว่ามีประสิทธิภาพในการกำจัดไอระเหยของสารแต่ละชนิดใกล้เคียงกัน โดยแผ่นกรองคาร์บอนมีประสิทธิภาพในการกำจัดไอระเหยของสารเบนซีน โทลูอีน ไซลีนและเอทธิลเบนซีน ร้อยละประมาณ 72.99±1.78, 80.96±7.90, 46.79±10.86 และ 70.94±1.57 ตามลำดับ และเมื่อนำวัสดุดูดซับทั้ง 7 อัตราส่วนรวมทั้งแผ่นกรองคาร์บอนมาดูดซับไอระเหยของบีเท็กที่เป็นสารผสม พบว่า วัสดุดูดซับทั้งหมดมีแนวโน้มการกำจัดไอระเหยของสารเบนซีนโทลูอีนและไซลีนใกล้เคียงกัน ซึ่งมีประสิทธิภาพการกำจัดไอระเหยมากกว่าค่าเฉลี่ยทั้งหมด ซึ่งมีค่าเท่ากับ ร้อยละ 24.91 และพบว่าวัสดุดูดซับทั้งหมดมีประสิทธิภาพในการกำจัดไอระเหยของสารเอทธิลเบนซีนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย |
Other Abstract: | BTEX are volatile organic compounds (VOCs) which include benzene, toluene, ethylbenzene and xylene. BTEX are widely used in industrial as solvent. Therefore, this study focused on adsorption of BTEX by kapok modified with rayon fiber, viscose and sodium sulfate which were waste from textile industry. The adsorbent was prepared at various ratio of fiber, viscose and water. The results indicated 5 appropriate ratios of fiber were 1:0, 3:1, 1:1, 1:3, 0:1 and 3 appropriate ratios of viscose: water were 1:2, 1:4 and 1:6. BTEX at concentration from 800 to 1200 ppm were absorbed by adsorbent through packed column. According to the result the ratio of fiber was 1:0 with viscose: water was 1:6 were the best ratio of adsorbent (S8). Benzene, toluene, xylene and ethylbenzene removal efficiency were 78.84±10.01 %, 72.70±16.69%, 58.58±2.47% and 54.45±2.72%, respectively. The overall of removal efficiency were higher than mean value (54.45±2.72%). BTEX removal efficiency of S8 was compared with commercial carbon adsorption which had 72.99±1.78%, 80.96±7.90%, 46.79±10.86% and 70.94±1.57% of benzene, toluene, xylene and ethylbenzene removed efficiency respectively. The result showed that S8 and commercial carbon adsorption were very close. Benzene, toluene and xylene were absorbed by 7 ratios of adsorbents and commercial carbon adsorption. This study showed that the removal efficiency of all adsorbents was higher than mean value (24.9%) but ethylbenzene removal efficiency of 7 ratios was than mean lower value. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35862 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1475 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1475 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
darathip_pe.pdf | 5.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.