Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35870
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง | - |
dc.contributor.author | เพ็ญนภา กุลกานต์สวัสดิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-09-11T06:52:00Z | - |
dc.date.available | 2013-09-11T06:52:00Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35870 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตระหนักรู้ในตนเองและกลวิธีที่ใช้ในการเผชิญปัญหา ตลอดจนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตระหนักรู้ในตนเองและกลวิธีการเผชิญปัญหาในผู้ที่เข้ารับการบำบัดสารเสพติด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดสารเสพติดแบบผู้ป่วยใน ที่สถาบันธัญญารักษ์จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินการตระหนักรู้ในตนเอง 3) แบบประเมินกลวิธีการเผชิญปัญหา ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆกับการตระหนักรู้ในตนเอง และกลวิธีการเผชิญปัญหา โดยใช้สถิติไคสแควร์ วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้ในตนเองกับกลวิธีการเผชิญปัญหา โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายของการตระหนักรู้ในตนเองและกลวิธีการเผชิญปัญหา จากผลจากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.5 มีการตระหนักรู้ในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตระหนักรู้ในตนเอง ได้แก่ การใช้ยาบ้า และรูปแบบการเข้ารับการบำบัด และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้การเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีอยู่ในระดับปานกลาง มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ได้แก่ การใช้บุหรี่และรูปแบบการเข้ารับบำบัด ใช้การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหาในระดับปานกลางโดยมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์คือ จำนวนครั้งที่เข้ารับการบำบัด และแบบมุ่งแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมในระดับสูงโดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ การศึกษา การมีคนให้ปรึกษา และปัญหาทางด้านการเงินจากการใช้สาร และเมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า การตระหนักรู้ในตนเองมีความสัมพันธ์กับการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหาและแบบมุ่งแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี ผลที่ได้ดังกล่าวนี้ทำให้ทราบว่าการตระหนักรู้ในตนเองเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะเสริมสร้างให้มีในตัวบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้สารเสพติดมีความตั้งใจที่จะเลิกใช้สารเสพติดได้โดยเกิดจากตนเอง อีกทั้งการเสริมสร้างให้มีการเผชิญปัญหาด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การมุ่งแก้ไขปัญหา และการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม จะทำให้ผู้ที่ใช้สารเสพติดไม่หันกลับไปใช้สารเพื่อเป็นการหลีกหนีปัญหา | en_US |
dc.description.abstractalternative | This descriptive study aims to study Self-Awareness and Coping Strategies in patients under drug dependence treatment. Data were collected from 110 in-patients at Thanyarak Institute during August 2012. The instruments were 1) personal information 2) self-awareness 3) coping strategies. Data were analyzed by using descriptive statistic, chi-square, Pearson’s correlation and logistic regression analysis. 54.5% of Sample group shows self-awareness at medium level. Factors correlating to self-awareness include use of met-amphetamine and pattern of treatment. Major part of the sample group chooses to confront the problems by avoiding problems at medium level, by focusing on problem solution at medium level and by seeking for social support at high level. When correlation between variables is analyzed, it appears that self awareness correlates with coping strategies by focusing on problem solution and by seeking for social support but not by avoiding problems. In these results, self-awareness is important to reinforce in substance users to help they intended to stop drug by themselves. Moreover, there is also enhancing the coping methods such as focusing on problem solutions and seeking social support, can help substance users do not turn to using substance to avoid problems. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1478 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การใช้ยาในทางที่ผิด -- การรักษา | en_US |
dc.subject | การใช้ยาในทางที่ผิด -- การรักษา -- แง่จิตวิทยา | en_US |
dc.subject | Drug abuse -- Treatment | en_US |
dc.subject | Drug abuse -- Treatment -- Psychological aspects | en_US |
dc.title | การตระหนักรู้ในตนเองและกลวิธีการเผชิญปัญหากับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดสารเสพติด | en_US |
dc.title.alternative | Self-awareness, coping strategies and related factors among patients attending substance treatment program | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สุขภาพจิต | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | AUTAPOL@md.chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1478 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pennapar_ku.pdf | 3.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.