Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35879
Title: | การปรับปรุงข้อกำหนดสัญญาเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดหาวัสดุในโครงการก่อสร้าง |
Other Titles: | Improvement of contract provisions to solve material procurement problems in construction projects |
Authors: | กิติยา ไกรสรกุล |
Advisors: | วิสุทธิ์ ช่อวิเชียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Visuth.C@Chula.ac.th |
Subjects: | สัญญาก่อสร้าง การก่อสร้าง Construction contracts Building |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กระบวนการจัดหาวัสดุเป็นกระบวนการสำคัญกระบวนการหนึ่งในโครงการก่อสร้าง การกำหนดเงื่อนไขข้อกำหนดสัญญาจ้างซึ่งมีความสำคัญในการบอกสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญาให้ชัดเจนและครอบคลุมถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นจึงเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาการจัดหาวัสดุในโครงการก่อสร้าง และวิเคราะห์ข้อกำหนดสัญญาจ้างก่อสร้างที่เกี่ยวข้องและตอบสนองต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว รวมถึงการเสนอแนวทางการปรับปรุงข้อกำหนดสัญญาให้ชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย การศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์บุคลากรฝ่ายผู้รับจ้างที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหาวัสดุเพื่อทำการรวบรวมประเด็นปัญหาและจัดทำแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินระดับความถี่และผลกระทบของแต่ละประเด็นปัญหา ร่วมกับการวิเคราะห์ความครอบคลุมและการตอบสนองต่อประเด็นปัญหาของข้อกำหนดสัญญาจ้างก่อสร้างมาตรฐานจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ FIDIC (1999) AIA (2007) และสัญญาจ้างแนบท้ายระเบียบสำนักนายกฯ และสัญญาจ้างก่อสร้างจากโครงการกรณีศึกษา 5 โครงการ เพื่อทำการเสนอแนวทางการกำหนดข้อกำหนดสัญญาให้ครอบคลุมประเด็นปัญหามากยิ่งขึ้น ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ปัญหาในขั้นตอนการกำหนดความต้องการวัสดุเป็นประเด็นปัญหาที่มีระดับความถี่และผลกระทบสูงที่สุดจากประเด็นปัญหาที่รวบรวมมาทั้งหมด 36 ประเด็น โดยข้อกำหนดสัญญาจ้างมาตรฐาน FIDIC (1999) มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นปัญหาดังกล่าวมากที่สุด ในทางกลับกันข้อกำหนดสัญญาจ้างแนบท้ายระเบียบสำนักนายกฯ รวมถึงสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการกรณีศึกษานั้นมีเนื้อหาข้อกำหนดไม่ครอบคลุมมากนักโดยเฉพาะประเด็นปัญหาที่มีระดับความถี่และผลกระทบอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการเสนอแนวทางการปรับปรุงสัญญาให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยรวบรวมจากการวิเคราะห์ข้อกำหนดสัญญารวมถึงแนวคิดจากกรณีปัญหาและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และจากการศึกษาพบว่า ประเด็นปัญหาการจัดหาวัสดุบางประเด็นไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยข้อกำหนดสัญญา ซึ่งอาจมีการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาในด้านอื่นในงานวิจัยต่อไป |
Other Abstract: | The material procurement is one of the essential processes in a construction project. Setting terms on contract provisions is important to address the rights and responsibilities of each party precisely and adequately, therefore, it is one aspect that every party should accentuate. This research aims to study the problematic issues in the procurement process of materials for construction projects, analyzing the related contract provisions and responses to each issue, as well as proposing improvement methods for further clarifications and comprehensiveness of the provision. The methodology includes reviewing of related literatures along with interviewing contractor’s personnel that are involved in the procurement process. Issues were then gathered and a survey of expert opinion was performed to assess the frequency and impact of each issue, considering in concurrence with three standard contract provisions; FIDIC (1999), AIA (2007), and Thai government construction contract. Evaluations were also done against construction contracts of 5 case study projects. Enhancing scheme for setting a contract provision was proposed accordingly. The result of the study concluded that the issue on the process of material requirements planning is the issue that has the highest frequency and greatest impact of all the 36 issues in total. The FIDIC (1999) has a content that is most sufficient to problem issues. On the other hand, Thai government construction contract and construction contracts from the case studies were inadequate, specifically on issues with high frequency and great impact. Proposition for improvements on the comprehensiveness of the contract were suggested in accordance with the analysis of provisions, approaches of cases and related regulations. Moreover, the study also indicated that some of the procurement issues cannot be resolved by modifying the provision alone; the solutions may be found in some other areas which require further study. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35879 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.639 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.639 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kitiya_kr.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.