Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35896
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรจน์ เศรษฐบุตร-
dc.contributor.authorศุภมาส ไชยวรกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-09-12T04:14:50Z-
dc.date.available2013-09-12T04:14:50Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35896-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาผลที่ได้จากการเพิ่มปริมาณอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่ภายในอาคารศูนย์การค้าด้วยระบบ Demand Control Ventilation (DCV) โดยได้ทำการตรวจวัดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ภายในอาคารศูนย์การค้าเพื่อศึกษาผลการใช้พลังงานและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เทียบกับมาตรฐานปริมาณอากาศบริสุทธิ์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 พ.ศ. 2535 และ ASHRAE 62.1-2010 งานวิจัยนี้ได้เลือกอาคารศูนย์การค้ากรณีศึกษาแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ มีพื้นที่ให้บริการทั้งหมด 7 ชั้น โดยได้ศึกษาจำนวนผู้ใช้บริการศูนย์การค้าและทำการวัดปริมาณแก๊ส CO₂ ภายในอาคารทั้ง 7 ชั้น เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค. – 30 ธ.ค. 2555 โดยแยกเป็นวันธรรมดาและวันหยุด ผลการวิจัยพบว่าปริมาณความเข้มข้นเฉลี่ยของแก๊ส CO₂ ภายนอกอาคารมีค่า 450 ppm ปริมาณความเข้มข้นเฉลี่ยของแก๊ส CO₂ ในวันหยุดมีค่าสูงกว่าวันธรรมดาประมาณ 45 – 330 ppm นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณความเข้มข้นเฉลี่ยของแก๊ส CO₂ ในชั้นที่ 1-4 มีค่าเกินค่ามาตรฐาน 1,150 ppm (ASHRAE 62-1999 กำหนดปริมาณ CO₂ ภายในอาคารไม่ควรสูงเกินกว่าภายนอกอาคาร 700 ppm) โดยมีค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของแก๊ส CO₂ อยู่ที่ 1,043.28 – 1,590.21 ppm หลังจากนั้นจึงนำค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของแก๊ส CO₂ ที่ตรวจวัดได้ไปคำนวณหาปริมาณอากาศบริสุทธิ์ที่ต้องนำเข้ามาตามมาตรฐานและได้ทำการเปรียบเทียบการใช้พลังงานการนำอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 พ.ศ. 2535, ASHRAE 62.1-2010 และวิธี DCV โดยอาศัยการจำลองการใช้พลังงานด้วยโปรแกรม Visual DOE 4.0 และได้นำผลการจำลองมาทำการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปว่าการควบคุมปริมาณอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในอาคารด้วยวิธี DCV จะสามารถควบคุมความเข้มข้นของ CO₂ ให้อยู่ในมาตรฐานและใช้พลังงานน้อยที่สุด และเสนอแนวทางติดตั้งระบบระบายอากาศเพื่อนำอากาศบริสุทธิ์เข้ามาลดความเข้มข้นของปริมาณแก๊ส CO₂ ในอาคารชั้นที่ 1-4 ที่มีค่าสูงเกินมาตรฐานen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study the impact of increasing fresh air in shopping malls by using the “Demand Control Ventilation” system. The project focuses on the concentration of Carbon Dioxide (CO₂) in shopping mall buildings in complance with the Building Control Act of 1992 and the ASHRAE Standard 62.1 of 2010. A shopping mall in the central business district of Bangkok was selected as a case study. The building has 7 floors. The number of visitors in all areas was counted in order to compare it with the concentration of CO₂. The measurement took place for 2 months during Oct 30 – Dec 30, 2012. The result showed that the average concentration of CO₂ outside of the building was 450 ppm and the average concentration of CO₂ inside the building on weekends is higher than weekdays at around 45-330 ppm. In addition, the average concentration of CO₂ on the 1st – 4th floors was in the range of 1,043.28 – 1,590.21 ppm which exceeds the standard value of 1,150 ppm. (ASHRAE 62-1999 recommends that the indoor CO₂ levels not exceed 700 ppm above the outdoor ambient levels). The amount of CO₂ in excess was used to calculate the amount of additional fresh air needed to supply the spaces in order to reduce the intensity of CO₂ down to the specified value. The energy simulation using the Visual DOE 4.0 program were performed to analyse the energy use due to the supplying additional fresh air to meet the standard set forth in the Building Control Act of 1992, the ASHRAE Standard 62.1 of 2010, the energy use for DCV system, and the economic values. The result of the study shows that DCV is the most efficient system in terms of controlling the quantity of the fresh air to reduce the excess concentration of CO₂ in the controlled area. DCV can be used to control the concentration of CO₂ to the range of the specified value with the least energy consumption. Therefore, DCV is the most reliable solution for shopping malls to control the concentration of CO₂ on the 1st – 4th floors.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1444-
dc.subjectอาคารพาณิชย์ -- การปรับอากาศen_US
dc.subjectอาคาร -- วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectการปรับอากาศen_US
dc.subjectคุณภาพอากาศภายในอาคารen_US
dc.subjectการจัดการคุณภาพอากาศen_US
dc.subjectศูนย์การค้า -- การปรับอากาศen_US
dc.subjectCommercial buildings -- Air conditioningen_US
dc.subjectBuildings -- Environmental engineeringen_US
dc.subjectAir conditioningen_US
dc.subjectIndoor air qualityen_US
dc.subjectAir quality managementen_US
dc.subjectShopping malls -- Air conditioningen_US
dc.titleแนวทางการเพิ่มคุณภาพอากาศภายในอาคารศูนย์การค้าด้วยการควบคุมปริมาณอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในอาคารen_US
dc.title.alternativeImproving indoor air quality in shopping malls using demand control ventilationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAtch.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1444-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vsupamard_ch.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.