Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35957
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิศณุ ทรัพย์สมพล | - |
dc.contributor.author | ทวี ก่อพงศ์เจริญชัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-09-23T08:14:07Z | - |
dc.date.available | 2013-09-23T08:14:07Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35957 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | ปัจจุบันการวางแผนงบประมาณสำหรับงานเสริมผิวทาง และการบูรณะโครงสร้างทางในประเทศไทยใช้การพิจารณาจากค่าดัชนีความขรุขระสากล (International Roughness Index, IRI) เป็นตัวชี้วัดระดับการให้บริการของสายทางเป็นหลัก รวมถึงข้อมูลความเสียหายผิวทาง อายุบริการและปริมาณการจราจร เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัจจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเสียหายในระดับผิวทางเท่านั้น โดยไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแรงหรืออายุคงเหลือของโครงสร้างทางได้ งานวิจัยนี้ได้พัฒนาแบบจำลองการเสื่อมสภาพของโครงสร้างทางเพื่อใช้ในการพยากรณ์ค่าความแข็งแรงของโครงสร้างชั้นพื้นทางในอนาคตโดยกำหนดให้ค่าอีลาสติกโมดูลัสของชั้นพื้นทาง (E2) เป็นตัวแทนสภาพความแข็งแรงของโครงสร้างชั้นทางและนำเสนอกรอบวิธีคิดในการวิเคราะห์หารูปแบบวิธีการซ่อมบำรุงที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากแนวทางการวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานเปรียบเทียบระหว่างแนวทางการซ่อมบำรุงแบบเสริมผิวและการบูรณะโครงสร้างชั้นทาง โดยอาศัยข้อมูลจากแบบจำลองการเสื่อมสภาพของโครงสร้างทาง จากผลการวิเคราะห์พบว่าสายทางที่กำหนดค่า IRI เป้าหมายสำหรับการซ่อมบำรุงเท่ากับ 3.00 การซ่อมบำรุงแบบเสริมผิวทางจะมีค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานต่ำกว่าการซ่อมบำรุงแบบบูรณะโครงสร้างชั้นทางในกรณีที่ช่วงปริมาณเพลามาตรฐานสะสม (NE4) น้อยกว่า 2.10 ล้านเพลาต่อช่องจราจร ส่วนสายทางที่กำหนดนโยบายค่า IRI เป้าหมายเท่ากับ 3.50 การซ่อมบำรุงแบบเสริมผิวทางจะมีค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานต่ำกว่าการบูรณะโครงสร้างชั้นทางในกรณีที่มีปริมาณเพลามาตรฐานสะสมน้อยกว่า 1.90 ล้านเพลาต่อช่องจราจร ทั้งนี้เนื่องจากสายทางที่มีความถี่ในการเสริมผิวทางมากกว่า จะสามารถชะลอการเสื่อมสภาพของโครงสร้างชั้นทางเนื่องจากปัจจัยในเรื่องของความหนาชั้นผิวทางแอสฟัลต์ | en_US |
dc.description.abstractalternative | At present, budget planning for pavement overlay and road rehabilitation in Thailand is primarily based on International Roughness Index (IRI) as a key indicator of road serviceability level, as well as pavement distresses, pavement age, and traffic volume. However, these factors only present the damage at pavement surface, and do not reflect strength or remaining service life of pavement structure. This research has developed structural deterioration model to predict structural condition in the future. An Elastic Modulus of Base Layer (E2) is used to represent structural condition. The purpose of this research is to provide analytical framework to select appropriate pavement treatment types between pavement overlay and rehabilitation by considering life-cycle cost, based on data from structural deterioration model. The result of this research indicates that the road which has IRI trigger value for pavement maintenance at 3.00, pavement overlay would cost lower than rehabilitation when Cumulative Equivalent Single Axel Load (NE4) is lower than 2.10 msa./Lane. While road which has IRI trigger value at 3.50, pavement overlay would cost lower than rehabilitation when NE4 is lower than 1.90 msa./Lane. This is because more frequency of pavement overlay can help slow down structural deterioration which is effected by the increasing of asphalt surface thickness. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1447 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ถนน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม | en_US |
dc.subject | Roads -- Maintenance and repair | en_US |
dc.title | การประยุกต์ใช้แบบจำลองการเสื่อมสภาพของโครงสร้างทางในการวางแผนงานบำรุงทางโดยวิธีวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งาน | en_US |
dc.title.alternative | Application of structural deterioration model for pavement maintenance planning based on life cycle cost analysis | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | wisanu.s@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1447 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thawee_ko.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.