Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35969
Title: ผลของแรงและระยะเวลาในการกดชิ้นงานที่แตกต่างกันต่อความหนาของเรซินซีเมนต์
Other Titles: Effect of different static load and duration of film thickness of resin cements
Authors: นภัสนันท์ พลับนิตย์
Advisors: ปรารมภ์ ซาลิมี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Prarom.S@chula.ac.th
Subjects: เรซินทางทันตกรรม
ทันตกรรมประดิษฐ์
Dental resins
Prosthodontics
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ ศึกษาผลของแรงและระยะเวลาในการกดครอบฟันขณะยึดต่อความหนาของเรซินซีเมนต์สามชนิดที่อาจส่งผลต่อความคลาดเคลื่อนในการสบฟันหลังยึดชิ้นงาน วิธีวิจัย ทำการทดลองโดยการวัดความหนาของซีเมนต์ด้วยการจำลองการยึด โดยใช้แผ่นอะคริลิก สีดำทึบ ขนาดกว้าง 15 มิลลิเมตร ยาว 30 มิลลิเมตร หนา 2 มิลลิเมตร 2 แผ่น ทดสอบกับเรซินซีเมนต์ 3 ชนิด ได้แก่ รีไลเอกซ์ยู100 แม็กเซม และพานาเวียเอฟ 2.0 เมื่อผสมซีเมนต์และยึดประกบแผ่นอะคริลิก แล้วทำการกดชิ้นงานด้วยเครื่องทดสอบสากล โดยซีเมนต์แต่ละชนิดจะถูกทำการทดสอบด้วยแรง 100 200 และ 300 นิวตัน และ ระยะเวลากด 1 3 และ 5 นาที ตามลำดับ เก็บชิ้นงานไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง ทำการวัดโดยเปรียบเทียบความหนาของชิ้นงานก่อนและหลังการยึดด้วยเรซินซีเมนต์ด้วยเครื่องเวอร์เนียแคลิปเปอร์ชนิดดิจิตอลและคำนวณผลต่างที่ได้เป็นค่าความหนาของซีเมนต์ บันทึกผลเพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยทูคีย์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลอง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างแรงและเวลาในการกดชิ้นงานในระดับต่างๆ กันพบว่าความหนาของซีเมนต์พานาเวียเอฟ 2.0 มีค่ามากกว่าชนิดรีไลเอกซ์ยู100 และแม็กเซม อย่างมีนัยสำคัญ และในพานาเวียเอฟ 2.0 พบว่าเมื่อกดด้วยแรงที่มากขึ้นจะทำให้ความหนาของซีเมนต์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่หากใช้ระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นจะได้ค่าความหนาของซีเมนต์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนชนิดแม็กเซม และรีไลเอกซ์ยู100 เมื่อมีการเปลี่ยนทั้งแรงและระยะเวลาที่มากขึ้นจะทำให้ความหนาของซีเมนต์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สรุปผล ในซีเมนต์ชนิดพานาเวียเอฟ 2.0 พบว่าแรงที่กดมีผลต่อความหนาของซีเมนต์ ส่วนซีเมนต์ชนิดแม็กเซม และรีไลเอกซ์ยู 100 พบว่าทั้งแรงและเวลามีผลต่อความหนาของซีเมนต์ จากผลการทดลองทันตแพทย์สามารถนำไปประยุกต์ ใช้ในการลดความคลาดเคลื่อนของครอบฟันหลังยึดด้วยเรซินซีเมนต์
Other Abstract: The objective of the study was to evaluate the effect of load and duration of film thickness of resin cements . The experiment was tested by cementing 2 solid black acrylic slabs (15 m.m. long 30 m.m. wide and 2 m.m. thick ) using 3 resin cements, RelyX U100 Maxcem and Panavia F 2.0. Immediately after cementing, different load and time was applied on each specimen with a universal testing machine.In each cement, the applied loads were 100, 200 and 300 N and times were 1, 3 and 5 minutes respectively. The specimens were stored at room temperature for 24 hours, then measuring the thickness of the cement with a digital vernier caliper. The cement thickness was calculated by the difference of measuring before and after cementation. The data were analyzed using the one – way ANOVA and compared between groups with post hoc Tukey’s analysis at 95% confidencial interval.The results showed that when comparing each load and time, the film thickness of Panavia F 2.0 were significantly higher than RelyX U100 and Maxcem. In Panavia F 2.0, increasing load resulted in significantly decreasing cement thickness, while increasing time did not significantly decrease cement thickness. In RelyX U100 and Maxcem, the film thickness was significantly decreased with increasing in both load and time.Conclusion: The cement thickness Panavia F2.0 was affected by load but not duration while those of RelyX U100 and Maxcem was affected by both load and duration.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35969
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1452
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1452
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
napatsanan_pl.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.