Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35996
Title: | ผลของอีดีทีเอและกรดซิตริกต่อการดูดดึงแคดเมียมในน้ำด้วยผักตบชวา |
Other Titles: | Effect of EDTA and citric acid on cadmium uptake by water hyacinth |
Authors: | กัลปพฤกษ์ คงเมือง |
Advisors: | พันธวัศ สัมพันธ์พานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดแคดเมียม น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ การบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพ กรดมะนาว แคดเมียม ผักตบชวา อีดีทีเอ Sewage -- Purification -- Cadmium removal Sewage -- Purification -- Biological treatment Citric acid Cadmium Bioremediation Water hyacinth EDTA |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาผลของอีดีทีเอ (EDTA) และกรดซิตริก (Citric acid) ต่อการดึงดูดแคดเมียมในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยผักตบชวาที่มีการเติมสารละลายแคดเมียม 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดควบคุมไม่มีการเติมสารคีเลตทั้ง สองชนิด 2) ชุดการทดลองที่เติมสาร EDTA ที่ระดับความเข้มข้น 0.5, 1 และ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร 3) ชุดการทดลองที่เติม Citric acid ที่ระดับความเข้มข้น 0.5, 1 และ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 4) ชุดการทดลองที่เติม Citric acid ร่วมกับสาร EDTA ที่ระดับความเข้มข้น 0.25, 0.5และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ชนิดละเท่าๆ กัน ทำการเก็บตัวอย่างทุกๆ 15, 30, 45, 60, 75 และ 90 วัน เพื่อหาปริมาณแคดเมียมในส่วนเหนือน้ำ (ลำต้นและใบ) และส่วนใต้น้ำ(ราก) ของผักตบชวา และปริมาณแคดเมียมในน้ำที่ใช้ในการทดลอง ผลการทดลองในทุกชุดการทดลอง พบว่า ผักตบชวามีความสามารถในการสะสมแคดเมียมมากที่สุดในส่วนใต้น้ำ(ราก) รองลงมา คือ ส่วนเหนือน้ำ(ลำต้นและใบ) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม แสดงให้เห็นว่าสารคีเลตทั้ง สองชนิดมีส่วนช่วยในการดูดดึงแคดเมียมในผักตบชวา โดยในชุดที่เติม EDTA และชุดที่เติม Citric acid ที่ระดับความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร มีปริมาณการสะสมแคดเมียมได้สูงที่สุดในส่วนเหนือน้ำ(ลำต้นและใบ) เท่ากับ 156.7 และ105.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้งที่เวลา 15 วัน ตามลำดับ โดยในชุดที่เติม EDTA ที่เวลา 15 วัน พบว่าผักตบชวามีการสะสมแคดเมียมได้สูงที่สุดในส่วนราก เท่ากับ 645.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง และในชุดที่เติม Citric acid ที่เวลา 75 วัน ผักตบชวามีการสะสมแคดเมียมในส่วนใต้น้ำ(ราก) มากที่สุดเท่ากับ 603.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง แสดงให้เห็นว่าการเติม EDTA มีส่วนช่วยในการดูดดึงแคดเมียมได้ดีกว่า Citric acid สอดคล้องกับค่าศักยภาพในการสะสมทางชีวภาพของผักตบชวา (Bioconcentration factor: BCF) ที่พบว่า ชุดการทดลองที่มีการเติม EDTA ที่ 15 วัน มีค่า BCF เฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 802.5 ซึ่งมีค่ามากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลองที่เติม Citric acid ที่ 75 วัน ที่มีค่า BCF เฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 682.1 นอกจากนี้การศึกษาค่า Translocation factor (TF) ยังพบว่า ชุดการทดลองที่เติม EDTA มีค่ามากกว่าชุดการทดลองที่เติมCitric acid โดยมีค่า TF เท่ากับ 0.243, 0.24 และ 0.23 ที่ 15 วัน ตามลำดับความเข้มข้น จึงสามารถสรุปได้ว่าการเติม EDTA มีผลต่อการดูดดึงแคดเมียมของผักตบชวามากกว่าการเติม Citric acid |
Other Abstract: | The effects of ethylenediaminetetraacetic acid (EDTA) and citric acid (CA) on cadmium (Cd) uptake by water hyacinth, (Eichhornia crassipes) in 0.5 mg/L Cd contaminated water were studied. The experimental design was separated into 4 groups: 1) contaminated water without chelating agent (Control), 2) contaminated water with EDTA added at concentrations of 0.5, 1 and 2 mg/L, 3) contaminated water with CA added at concentration of 0.5, 1 and 2 mg/L, and 4) contaminated water with both EDTA and CA added at concentration of 0.5, 1 and 2 mg/L. Plants were harvested at 15, 30, 45, 60, 75 and 90 days. Cd levels were measured in the water samples and two parts of the plant: shoot (stem and leaves) and root. The results showed that Cd accumulation in the shoot in all groups was significantly higher than that in the root and was (P<0.05). Cd concentration in plants grown in all EDTA and CA added groups was higher than that in the control samples which indicates that EDTA and CA addition inceases cadmium uptake by water hyacinth. The highest Cd concentration was found in shoot with EDTA and CA added at 2 mg/L and were 156.7 and 105.4 mg/kg at 15 days, respectively. The highest Cd concentration in root was 645.8 mg/kg in EDTA added group at 15 days and 603.2 mg/kg in CA added group at 75 days. This result implies that EDTA has more influence than CA on bioconcentration factor (BCF). The highest score of BCF for EDTA added groups was 802.5 at 15 days and for CA added groups was 682.1 at 90 days. Translocation factor (TF) of plants in EDTA added groups was 0.24, 0.24 and 0.23 at 15 days, respectively. That show EDTA added groups were more cadmium uptake effect than CA added groups. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35996 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1028 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1028 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kalpapoek_ko.pdf | 3.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.