Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35999
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปาหนัน เริงสำราญ-
dc.contributor.authorกนิฏฐกา แดนราช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-09-28T10:02:24Z-
dc.date.available2013-09-28T10:02:24Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35999-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractBacillus subtilis N1 ที่คัดแยกได้จากดินในจังหวัดกาญจนบุรีมีความสามารถในการยับยั้ง การเจริญของ Curvularia sp. ซึ่ง เป็นราก่อโรคใบจุด (โรคจุดสีน้ำ ตาล) ในปทุมมา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อการผลิตสารยับยั้ง ราและการแยกสารให้บริสุทธิ์จากการแปรผันปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อาหารเลี้ยงเชื้อ (NB, LB และ TSB), pH ของอาหารเลี้ยงเชื้อ (pH 6, 7, 8 และ 9), อุณหภูมิในการเพาะเลี้ยง (30, 37 และ 40 องศาเซลเซียส) และระยะเวลาการเพาะเลี้ยง (0 ถึง 24 ชั่วโมง) พบว่าภาวะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ B. subtilis N1 คือการเลี้ยง ในอาหาร TSB pH 7 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ให้ประสิทธิภาพในการยับยั้ง การเจริญของรา Curvularia sp. ได้ดีที่สุด ซึ่ง B. subtilis N1 สร้างสารออกฤทธิ์ต่อCurvularia sp. ในรูปแบบที่ไม่สัมพันธ์กับการเจริญ (non-growth associated product) เพราะสารดังกล่าวผลิตออกมาในระยะ stationary phase สารออกฤทธิ์นี้ ยังทนต่ออุณหภูมิได้ตั้งแต่ 20 ถึง 121 องศาเซลเซียสและทนค่า pH ได้ตังF แต่ pH 2 ถึง 10 การตกตะกอนโปรตีนด้วยแอมโมเนียมซัลเฟตในช่วง 20 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์เป็นวิธีแยกสารออกฤทธิ์ที่ดีที่สุดสำหรับ B. subtilis N1 ซึ่งโปรตีนมีแอกติวิตีจำเพาะ 379.82 AU ต่อมิลลิกรัมของโปรตีน หลังจากทำ SDS-PAGE พบโปรตีนที่มีน้ำ หนักโมเลกุล 61.38, 41.98, 36.14 และ 22.13 กิโลดาลตัน โปรตีนในส่วนน้ำใสของเซลล์เพาะเลี้ยง B. subtilis N1 ยับยั้ง การเจริญของ Curvularia sp. ด้วยความเข้มข้นต่ำสุด 350 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรและโปรตีนกึ่งบริสุทธิ์ที่ได้จากการตกตะกอนด้วยแอมโมเนียมซัลเฟตในช่วง 20 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น 14 เท่าในการยับยั้ง Curvularia sp. โดยมีความเข้มข้นต่ำสุด 23.43 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ทำให้เส้นใยของ Curvularia sp. มีความหนามากขึ้น บวมเป็นปล้องและบางบริเวณบวมเป็นก้อนกลมขนาดใหญ่ ผลจากการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าสามารถนำสารออกฤทธิ์ที่ผลิตได้ไปพัฒนาเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของ Curvularia sp. ในแปลงเพาะปลูกปทุมมาเพื่อทดแทนการใช้สารเคมีได้ต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeBacillus subtilis N1 showed antagonistic effect against Curvularia sp., a causal agent of leaf spot on Siam tulip. The aims of this research were to verify the optimal conditions for production of antifungal substances by B. subtilis N1 and to purify the compound. In order to obtain the optimal conditions to produce the antifungal substances, factors which were types of cultivation medium (NB, LB and TSB), pH of the medium (6, 7, 8 and 9), temperatures of cultivation (30, 37 and 40 degree Celsius) and cultivation times (0 – 24 hours) were investigated. The results showed that the optimal cultivation conditions for B. subtilis N1 were grown in TSB medium, at pH 7, at 37 degree Celsius, for 12 hours. The antifungal substances were non-growth associated product since it was produced during stationary phase of growth. The active compound was thermostable at 20 – 121 degree Celsius for 20 minutes. The activity remained unchanged when exposed to pH ranged from 2 – 10. Separation of protein by 20 - 40 % ammonium sulfate precipitation gave partial purified proteins with specific activity 379.82 AU/mg. SDS-PAGE analysis revealed mixed proteins with major four bands at 61.38, 41.98, 36.14 and 22.13 kDa. MICs of culture filtrate and partial purified protein were 350 µg/ml and 23.43 µg/ml, respectively. The later exhibited stronger activity by 14 folds more than the culture filtrate. Observation under light microscope indicated that the antifungal proteins caused severe alteration in cell morphogenesis. It caused abnormal thickenings, swollen and rounded hyphae. These results revealed that B. subtilis N1 and its antifungal substances might be used as a biocontrol agent against Curvularia sp. to prevent damage from this fungal infection on Siam tulip production.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1034-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคเกิดจากเชื้อราในพืชen_US
dc.subjectสารต้านเชื้อราen_US
dc.subjectสารสกัดจากพืชen_US
dc.subjectปทุมมาen_US
dc.subjectFungal diseases of plantsen_US
dc.subjectAntifungal agentsen_US
dc.subjectPlant extractsen_US
dc.subjectSiam Tulipen_US
dc.titleสารต้านราก่อโรคจาก Bacillus sp. N1 ต่อ Curvularia sp. ที่คัดแยกจากปทุมมาen_US
dc.title.alternativeAntifungal compound from Bacillus sp. N1 against Curvularia sp. isolated from siam tulipen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPanan.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1034-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanittaka_da.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.