Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36012
Title: | ผลของการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | Effects of an assertive training on self-efficacy and physics learning achievement of upper secondary school students |
Authors: | สกล ศรีสุขล้อม |
Advisors: | ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | piyawan.p@chula.ac.th |
Subjects: | ฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแสดงออก (จิตวิทยา) Physics -- Study and teaching (Secondary) Academic achievement Assertiveness (Psychology) |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดราชบพิธ กรุงเทพมหานคร จำนวน 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 47 คน และกลุ่มควบคุม 43 คน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกฝนด้วยโปรแกรมการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกจากผู้วิจัย โดยฝึกสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 90 นาที เป็นเวลา 3 สัปดาห์ติดต่อกัน กลุ่มควบคุมเรียนตามปกติ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบวัดพฤติกรรมกล้าแสดงออกในวิชาฟิสิกส์ แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองในวิชาฟิสิกส์ และเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนจากสมุด ปพ.6 ของโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า1. หลังจากการทดลอง นักเรียนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกมีคะแนนพฤติกรรมกล้าแสดงออกในวิชาฟิสิกส์สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังจากการทดลอง นักเรียนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกมีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในวิชาฟิสิกส์สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังจากการทดลอง นักเรียนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ก่อนและหลังการทดลอง นักเรียนในกลุ่มควบคุมที่เรียนตามปกติมีคะแนนพฤติกรรมกล้าแสดงออกในวิชาฟิสิกส์ คะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเอง และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนในกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study effects of an assertive training program on self-efficacy for physics and physics learning achievement of Mattayom Suksa Four students. Participants consisted of 90 Mattayom Suksa Four students in the academic year 2010. This research employed the pretest-posttest control group design. They were randomly assigned to an experimental group and a control group, each group comprising of 47 students and 43 students respectively. The members of the experimental group participated in the assertive training program conducted by the researcher, for a session of 90 minutes, three days a week, over a period of 3 consecutive weeks. The control group was not trained in the assertive training program. The assertion in physics test, self-efficacy for physics test and the school record of the students’ physics learning achievement were used as data collection instruments. The t-test was utilized for data analysis. The results were as follows: 1. After the treatment, the experimental group had higher assertion in physics scores than before the treatment and higher than the posttest scores of the control group at the .05 level of significance. 2. After the treatment, the experimental group had higher self-efficacy for physics scores than before the treatment and higher than the posttest scores of the control group at the .05 level of significance. 3. After the treatment, the experimental group had higher physics learning achievement than before the treatment and higher than the posttest scores of the control group at the .05 level of significance. 4. The assertion in physics scores, the self-efficacy for physics and the physics learning achievement pretest and posttest scores of the control group were not significantly different. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36012 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.653 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.653 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sakol_sr.pdf | 3.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.