Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36014
Title: ภาวะซึมเศร้าและอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Depression and grief of the elderly at the Elderly Associate in Nonthaburi province
Authors: อรสา ใยยอง
Advisors: พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ -- ไทย -- นนทบุรี
Depression in old age
Older people -- Thailand -- Nonthaburi
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของภาวะซึมเศร้า อารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี วิธีการศึกษา ศึกษาผู้สูงอายุ จำนวน 400 ราย ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยการตอบแบบสอบถามทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติ 3) แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย และ 4) แบบประเมินความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัว นำเสนอความชุกของภาวะซึมเศร้าและอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติ เป็นค่าความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับภาวะซึมเศร้า โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติก เพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ผลการศึกษา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 71.5) มีอายุเฉลี่ย 68.8 ปี มีภาวะซึมเศร้า 53 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.2 แบ่งเป็นภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.8 ภาวะซึมเศร้าปานกลาง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.2 และภาวะซึมเศร้ารุนแรง 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.2 พบอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติ 65 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.2 มีความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 69.0) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป สถานภาพโสด/หม้าย/หย่าร้าง/หรือแยกกันอยู่ ไม่ได้รับการศึกษา ไม่ได้ประกอบอาชีพ ไม่มีรายได้/หรือมีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท/เดือน ไม่ได้รับรายได้จากการประกอบอาชีพ ฐานะการเงินครอบครัวที่ไม่เพียงพอ ที่พักอาศัยที่ไม่ใช่ของตนเอง ไม่ได้พักอาศัยอยู่กับคู่สมรส พักอยู่คนเดียว โรคประจำตัวทางกาย ประวัติโรคทางจิตเวช การใช้สารเสพติด การสูญเสียบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด การสูญเสียบุคคลใกล้ชิดที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัวที่ไม่ดี (p< 0.05) ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป (adjusted OR 2.32, 95%CI = 1.02-5.26, p < 0.05) ฐานะการเงินครอบครัวที่ไม่เพียงพอ (adjusted OR 4.02, 95%CI = 1.81-8.90, p < 0.01) การใช้สารเสพติด (adjusted OR 2.40, 95%CI = 1.08-5.35, p < 0.05) การสูญเสียบุคคลใกล้ชิดที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด (adjusted OR 2.12, 95%CI = 1.03-4.39, p < 0.05) และความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัวที่ไม่ดี (adjusted OR 5.46, 95%CI = 2.34-12.73, p < 0.01) สรุป ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี มีความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 13.2 แบ่งเป็นซึมเศร้าเล็กน้อยร้อยละ 7.8 ซึมเศร้าปานกลางร้อยละ 5.2 และซึมเศร้ารุนแรงร้อยละ 0.2 มีความชุกของอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติ ร้อยละ 16.2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและเป็นปัจจัยทำนายที่สำคัญได้แก่ อายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป ฐานะการเงินครอบครัวที่ไม่เพียงพอ การใช้สารเสพติด การสูญเสียบุคคลใกล้ชิดที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัวที่ไม่ดี
Other Abstract: Objectives: To find out the prevalence of depression, abnormal grief, and associated factors of depression of the elderly at the Elderly Associate in Nonthaburi province Method: Four hundred elderly aged above 60 years at Nonthaburi province were recruited into the study during July – November 2010. They completed four self-administered questionnaires: 1) Demographic questionnaire, 2) Inventory of Complicated Grief (ICG), 3) Thai Geriatric Depression Scale (TGDS), and 4) Family Relationship and Functioning Questionnaire. The prevalence of elderly’ depression and abnormal grief were presented by frequency and percentage. The relationship between the elderly’s depression and associated factors was analyzed by using chi-square test. Logistic regression was performed to identify the potential predictors of depression of the elderly at the Elderly Associate in Nonthaburi province. A p-value of less than 0.05 was considered statistically significant. Result: Most of the subjects were female (71.5%). The average age was 68.84 years. Fifty-three elderly (13.2%) had depression; 31 (7.8%) with mild depression, 21 (5.2%) with moderate depression, and one (0.2%) with severe depression. Sixty-five elderly (16.2%) had abnormal grief. The factors associated with depression were age above 75 years, being single/widowed/divorced/or separated, being uneducated, no income/or income of less than 5,000 baht/month, no occupational income, inadequate financial status, not living in an own place, not living with spouse, living alone, presence of physical illness, history of psychiatric disorders, substance use, the death of a close person, unexpected death of a close person, poor family relationship and functioning (p < 0.05). The logistic regression showed that the remaining predictors of depression were age above 75 years (adjusted OR = 2.32, 95%CI = 1.02-5.26, p < 0.05), inadequate financial status (adjusted OR = 4.02, 95%CI = 1.81-8.90, p < 0.01), substance use (adjusted OR = 2.40, 95%CI = 1.08–5.35, p < 0.05) unexpected death of a close person (adjusted OR = 2.12, 95%CI = 1.03-4.39, p < 0.05), poor family relationship and functioning (adjusted OR 5.46, 95%CI = 2.34-12.73, p < 0.01).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36014
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1041
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1041
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
orasa_ya.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.