Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36060
Title: การพัฒนารูปแบบห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู
Other Titles: Development of a virtual classroom model using collaborative learning and synectics instruction to develop preservice teachers' creative thinking
Authors: สรัญญา เชื้อทอง
Advisors: ประกอบ กรณีกิจ
ใจทิพย์ ณ สงขลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Prakob.K@Chula.ac.th
Jaitip.N@Chula.ac.th
Subjects: ความจริงเสมือนเพื่อการศึกษา
การเรียนแบบมีส่วนร่วม
ระบบการเรียนการสอน
ความคิดสร้างสรรค์
Virtual reality in education
Active learning
ructional systems
Creative thinking
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนการสอนแบบ ซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ 1) สร้างรูปแบบห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนการสอนแบบ ซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู 3) นำเสนอรูปแบบห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (ห้องเรียนเสมือน) 25 คน และกลุ่มควบคุม (ห้องเรียนปกติ) 25 คน ระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบทีแบบเป็นอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1.ห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบคือ 1) ระบบการเรียนบนห้องเรียนเสมือน 2) เครื่องมือสื่อสารและการทำงานร่วมกัน 3) เนื้อหา สื่อ และแหล่งการเรียนรู้ 4) บทบาทผู้เรียนและผู้สอน 5) กิจกรรรมการเรียนแบบกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย 6) การประเมินผล สำหรับขั้นตอนการเรียนร่วมกันมี 3 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นดำเนินการก่อนเรียน 2) ขั้นดำเนินการระหว่างเรียน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยคือ 2.1) ขั้นเตรียมผู้เรียน 2.2) ขั้นเรียน ประกอบด้วย กิจกรรมในกลุ่มใหญ่ การกระตุ้นและดึงความคิดเพื่อสร้างแรงจูงใจ บอกวัตถุประสงค์ ทบทวนความรู้เดิม เรียนรู้และนำเสนอบทเรียน กำหนดหัวข้อผลงานโดยการโหวต ชี้แนวทางการเรียนรู้ ร่วมจัดกิจกรรมในกลุ่มย่อย ( การทำกิจกรรมในกลุ่มย่อย กำหนดหัวข้อโดยการโหวต เตรียมและแสวงหาข้อมูลระดมความคิด สร้างสรรค์ผลงาน นำเสนองานภายในกลุ่มย่อย แสดงความคิดเห็น ติชม โหวตให้คะแนน ) จากนั้นกลุ่มย่อยนำเสนองานต่อกลุ่มใหญ่ กลุ่มใหญ่แสดงความคิดเห็น ติชม โหวตให้คะแนน และ 3) ขั้นประเมินผล 2. นักศึกษาครูที่เรียนด้วยรูปแบบห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์ มีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักศึกษาครูที่เรียนด้วยรูปแบบห้องเรียนปกติโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์ มีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักศึกษาครูที่เรียนด้วยรูปแบบห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์ กับนักศึกษาครูที่เรียนในห้องเรียนปกติโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์ มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ทำการประเมินรับรองรูปแบบห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู มีความคิดเห็นต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยเห็นด้วยมากที่สุด
Other Abstract: This research aimed to develop a virtual classroom model using collaborative learning and synectics instruction to develop pre-service teachers’ creative thinking. There were 3 phases of this research and development: 1) to develop of a virtual classroom model using collaborative learning and synectics instruction to develop preservice teachers’ creative thinking, 2) to study the results of using the virtual classroom model using collaborative learning and synectics instruction to develop preservice teachers’ creative thinking, and 3) to propose the virtual classroom model using collaborative learning and synectics instruction to develop preservice teachers’ creative thinking. The samples consisted of 50 undergraduate students from King Mongkut’s University of Technology Thonburi (25 preservice teachers were experimental group, and 25 preservice teachers were control group). The experimental group studied with virtual classroom model and control group studied with normal classroom. The research tested 12 weeks. The statistics used in this research were frequency, percentage, mean, standard deviation, dependent t-test, independent t-test, and Pearson’s correlation coefficient. The research findings were as follows: 1. The virtual classroom model using collaborative learning and synectics instruction to develop preservice teachers consisted of 6 components: 1) Learning Management System (LMS) on virtual classroom, 2) collaboration and communication tools, 3) learning contents, media and resources, 4) roles of learners and instructors, 5) learning activities (for small group and large group,) and 6) assessment. There were 3 steps of collaboration learning: 1) pre-learning operation 2) learning operation that consisted of 3 steps 2.1) learners preparation, 2.2) learning step included large group activities; stimulation and brainstorming for motivation, notification of objectives, revision of previous knowledge, learning and presenting the lessons, voting for the project titles, guiding for learning, small group activities (setting project through voting, searching for information and brain storming, creating works, presenting among small groups , discussion – revision and voting), large group discussion (small groups present to large group) and discussion, and voting for scores. 3) assessment. 2. Preservice teachers (experimental group) who participated with the virtual classroom model using collaborative learning and synectics instruction had posttest creative thinking score higher than pretest creative thinking score significantly at .05 level. 3. Preservice teachers (control group) who participated with the normal classroom using collaborative learning and synectics instruction had posttest creative thinking score higher than pretest creative thinking score significantly at .05 level. 4. The experimental group and control group had significantly no difference of creative thinking score between posttest and pretest at .05 level. 5. The 5 experts assessed the virtual classroom model using collaborative learning and synetics instruction to develop creative thinking for preservice teachers. The specialists’ opinions were at the highest level and approved the virtual classroom model.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36060
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1048
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1048
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saranya_ch.pdf6.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.