Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36079
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา | - |
dc.contributor.author | อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2013-10-09T09:57:35Z | - |
dc.date.available | 2013-10-09T09:57:35Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36079 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาแนวคิดและการนำเสนอเรื่องทานและทานบารมีในวรรณคดีไทยพุทธศาสนา เพื่อให้เห็นความสำคัญของทานและทานบารมีที่มีต่อการรังสรรค์วรรณคดีไทยพุทธศาสนา ตลอดจนบทบาทที่มีต่อสังคมวัฒนธรรมพุทธศาสนาไทย "ทาน" และ "ทานบารมี" มีความหมายสัมพันธ์กัน "ทาน" หมายถึง การให้ในระดับทั่วไปซึ่งก่อให้เกิด "บุญ" คือความสุข และเป็นเครื่องชำระกิเลสเพื่อการพัฒนาจิตยิ่งๆ ขึ้นไป "ทานบารมี" หมายถึง การให้ทานของพระโพธิสัตว์ผู้ตั้งปณิธานจะบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า ความสัมพันธ์ของทานและทานบารมีปรากฏชัดเจนในวรรณคดีไทยพุทธศาสนา ซึ่งสื่อคำสอนดังกล่าวอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับโลกียะจนถึงโลกุตระ ทานและทานบารมีเป็นแนวคิดสำคัญในวรรณคดีไทยพุทธศาสนา 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่ง ได้แก่ วรรณคดีชาดกและคัมภีร์อนาคตวงศ์ เกิดวรรณคดีมหาชาติและเรื่องพญาฉัททันต์สำนวนต่างๆ ซึ่งมีที่มาจากนิบาตชาดก ได้แก่ เวสสันดรชาดกและฉัททันตชาดก เกิดชาดกที่แสดงเรื่องทานและทานบารมีในปัญญาสชาดกจำนวนมาก คือ 29 เรื่อง จาก 61 เรื่องในฉบับหอสมุดแห่งชาติ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าอรรถกถาชาดก ซึ่งมีเพียง 22 เรื่อง จกา 547 เรื่อง เท่านั้น ทานและทานบารมีที่โดดเด่นในปัญญาสชาดก ได้แก่ การบำเพ็ญทานบารมีด้วยการสละอวัยวะและชีวิต การบริจาคบุตรภรรยา และการแสดงอานิสงส์ของทานแต่ละประเภท การบริจาคอวัยวะและชีวิตและบุตรภรรยา ยังเป็นแนวคิดที่เน้นในมหาชาติและเรื่องพญาฉัททันต์ และเน้นในอนาคตวงศ์ คือพบใน 6 เรื่อง จากทั้งหมด 10 เรื่อง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ วรรณกรรมอานิสงส์ ซึ่งแสดงอานิสงส์ของบุญกิริยาต่างๆ เรื่องทานปรากฏมากที่สุด ผลการศึกษาทำให้เห็นว่า วรรณกรรมอานิสงส์ที่เน้นเรื่องทานนี้สัมพันธ์กับวัฒนธรรมและประเพณีไทยและสะท้อนให้เห็นความสำคัญของค่านิยมในการทำทานในสังคมไทยอย่างเด่นชัด กลวิธีสำคัญในอานิสงส์คือ การอธิบายความและการเล่าเรื่องเพื่อแสดงอานิสงส์ของทานอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความศรัทธาในการทำทาน เรื่องที่เล่ามีทั้งเรื่องที่แต่งขึ้นใหม่ เรื่องที่มาจากพระสูตรคัมภีร์ต่างๆ และเรื่องที่มาจากปัญญาสชาดก ซึ่งทำให้เห็นว่าทานและทานบารมีเกี่ยวเนื่องกัน การบำเพ็ญทานบารมีของพระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่างแก่การทำทานของบุคคลทั่วไป วรรณคดีทั้งสองกลุ่มมีบทบาทสำคัญต่อสังคมไทยและสะท้อนค่านิยมของคนไทยเรื่องการให้ทาน อันสร้างขึ้นและนำเสนอตามกรอบพิธีกรรม เช่น ประเพณีเทศน์มหาชาติ รวมทั้งผ่านสื่อสมัยใหม่ เพื่อถ่ายทอดแนวคิดเรื่องทานและทานบารมีแก่สังคม โดยมีคติความเชื่อสำคัญรองรับ ได้แก่ ความเชื่อเรื่องอานิสงส์ของธรรมทาน การสืบทอดอายุพระศาสนา และการเกิดในยุคพระศรีอาริย์ วรรณคดีเหล่านี้จึงดำรงอยู่และมีบทบาทในการถ่ายทอดคติคำสอนเรื่องทานและทานบารมีตั้งแต่อดีตตราบจนปัจจุบัน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this dissertation is to study the concepts and presentation of Dana and Danaparami in Thai Buddhist literature in order to examine their significance in the creation of Thai Buddhist literature and in Thai culture. Dana means gift-giving in general, which generates merit and purifies one's mind. Danaparami or the perfection of generosity means gift-giving of the bodhisattva who pursues Buddhahood. Dana and Danaparami are related. The two concepts are systematically asserted in Thai Buddhist Literature to convey the discourse of giving in both worldly and otherworldly levels. Dana and Danaparami are the main concepts in two groups of Thai Buddhist literature. The first group consists of Jataka literature and the Anagatavamsa. As for Jataka literature, various vernacular versions of two canonical Jatakas-the Vessantara Jataka (Mahachat) and the Chaddanta Jataka (Phaya Chatthan) are created and widespread in Thailand. Also, in the Pannasa Jataka, the greatest collection of non-canonical jatakas, 29 out of 61 jatakas are about Dana and Danaparami, whereas there are only 22 from 547 in the Jataka-atthakatha. In the Pannasa Jataka, the gifts of limbs, life, children, and wives are crucially emphasized to represent the perfection of generosity, and the benefits of gifts demonstrated through the bodhisattva's deeds are also significant. Thae bodhisattva's ideal gifts as shown in the Pannasa Jataka are also prevalent in the Mahachat, Phaya Chatthan, and the Anagatavamsa in which the bodhisattvas give their limbs, life, children, and wives in 6 from 10 stories. The second group of Thai Buddhist literature apparently influenced by Dana and Danaparami is the Anisamsa texts, a huge corpus of texts asserting the benefit of meritorious acts, predominantly the benefit of gift-giving. In the Anisamsa texts, giving explanation and telling narratives are the principle techniques used to demonstrate the benefits of gifts, especially narratives which make the benefits substantial to promote faith in giving gifts. Some narratives are newly created and some are from suttas and other Buddhist texts including the Pannasa Jataka. This indicates the relation between the Pannasa Jataka and the Anisamsa texts. Therefore, Dana and Danaparami are related. The bodhisattva's fulfilment of perfection of generosity as shown in jatakas becomes a 'model' of gift-giving for general people. These Anisamsa texts apparently reflect the importance of gift-giving in Thai culture and Thai traditions. These two groups of Thai Buddhist literature reflects that Dana and Danaparami play a significant role in Thai society and Thai values. They are created and delivered to people through rituals, such as the Mahachat ceremony and through other contemporary media in order to assert the concepts of Dana and Danaparami to the society. The creation and demonstration of these texts are fundamentally motivated by the belief in the benefit of Dharma-dana (the gift of Dharma)-to create texts is to help maintain Buddhism, bring one to be reborn in the blissful time of the Buddha Maitreya, and ultimately attain Nirvana. As a result, these Buddhist texts re 'alive' and play a significant role in promoting Dana and Danaparami to Thai society. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1208 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.subject | ทาน (พุทธศาสนา) | en_US |
dc.subject | วรรณกรรมพุทธศาสนา -- ไทย | en_US |
dc.subject | ชาดก | en_US |
dc.subject | อนาคตวงศ์ | en_US |
dc.subject | บารมี (พุทธศาสนา) | en_US |
dc.subject | ความดี (พุทธศาสนา) | en_US |
dc.subject | Buddhist giving | en_US |
dc.subject | Buddhist literature -- Thailand | en_US |
dc.subject | Jataka stories | en_US |
dc.subject | Virtues (Buddhism) | en_US |
dc.subject | Paramitas (Buddhism) | en_US |
dc.title | ทานและทานบารมี : ความสำคัญที่มีต่อการรังสรรค์วรรณคดีไทยพุทธศาสนา | en_US |
dc.title.alternative | Dana and Danaparami : significance in the creation of Thai Buddhist literature | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.1208 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
arthid_sh.pdf | 4.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.