Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36080
Title: การพัฒนาตัวกลางการค้าเพื่อการส่งออกสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
Authors: อรรถสิทธิ์ ทองทั่ว
Advisors: กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kamonchanok.s@chula.ac.th
Subjects: บริษัทผู้ส่งออก
การตลาดเพื่อการส่งออก
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
Export trading companies
Export marketing
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการจัดตั้งตัวกลางการค้าเพื่อที่จะส่งเสริมและพัฒนาระบบตลาดสินค้าในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและกระจายสินค้าที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกอบการได้ใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาทางด้านการส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยการวิจัยครั้งนี้ทางผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษา ปัจจัยของผู้ประกอบการในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใช้ในการพิจารณารูปแบบหรือหน้าที่ตัวกลางทางการค้าและปัญหาที่มีความสำคัญเพื่อที่จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดตั้งรูปแบบทางการค้าที่เหมาะกับกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยเฉพาะ กลุ่มสินค้า OTOP ซึ่งต้องการส่งเสริมการดำเนินกิจการในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้จะใช้การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อรวบรวมข้อมูลในการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในกลุ่มสินค้า OTOP และศักยภาพของผู้ประกอบการสินค้า OTOP รวมทั้งความต้องการหรือสนใจในบริการของตัวกลางทางการค้า ปัญหาและอุปสรรคที่ผู้ประกอบการพบบ่อยและต้องการที่จะให้ตัวกลางทางการค้าช่วยเหลือ รูปแบบที่เหมาะสมของตัวกลางทางการค้าที่ต้องการ
Other Abstract: The aim of this research is to establish SMEs Export Company in order to supporting and improving the market system for SMEs as well as to set up the center of consolidation and distribution to facilitate the entrepreneur and also solving SME’s export products to overseas. This research focuses on SMEs entrepreneur’s factors for considering the suitability in establishing Export Company. The paper also focuses on the main problems and obstacles in setting up the suitable Export company for SMEs‘s product, particularly the OTOP products. The information are obtained through the questionnaire survey. The information collected are composed of followings: the capability of OTOP entrepreneur, the basic requirements of the SMEs’s Export Company and the main problems or obstacles the SMEs’s need most in exporting their , and the suitable pattern of the required export Company.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36080
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1350
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1350
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
athasit_th.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.