Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36083
Title: การพัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับครูในภูมิเขตการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
Other Titles: The development of a training program model of transformational leader teachers in learning management for teachers in Rajabhat University Educational Regions
Authors: ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์
Advisors: อภิภา ปรัชญพฤทธิ์
วราภรณ์ บวรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Apipa.P@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
การวางแผนหลักสูตร
ครู -- การฝึกอบรม
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
การเรียนรู้ -- การจัดการ
Curriculum planning
Teachers -- Training of
Transformational leadership
Learning -- Management
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์แนวคิดของคุณลักษณะครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับครูในภูมิเขตการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) ประเมินผลรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับครูในภูมิเขตการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในภูมิเขตการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 357 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 30 คน ขั้นตอนของการวิจัย มี 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) วิเคราะห์ข้อมูล 2) จัดทำโครงร่างรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม 3) การตรวจสอบรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม 4) การทดลองใช้รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมและ5) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาและใช้ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test แบบ Dependent Samples, One-Way Repeated Measures ANOVA และ วิธี Bonferroni การประเมินคุณลักษณะใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดของคุณลักษณะครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนรู้ คือการแสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงการมีความเข้าใจที่คงทนเกี่ยวกับการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและมีคุณลักษณะที่ครอบคลุมถึงความสามารถอธิบาย ตีความ ประยุกต์ วิเคราะห์ วิพากษ์ มีหลายมุมมอง เข้าใจตนเองและผู้อื่น สำหรับคุณลักษณะของครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนรู้ทั้ง 6 คุณลักษณะ มีค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนหลังการทดลองสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยคุณลักษณะที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ได้แก่ คุณลักษณะที่ 5 เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นทั้งเพื่อนร่วมงานและผู้เรียน มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและช่วยให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มความสามารถ ผลการพัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม มีองค์ประกอบดังนี้คือ หลักการ วัตถุประสงค์ การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม เนื้อหา กิจกรรมการอบรม บทบาทของวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรม ผลการประเมินคุณลักษณะความเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนรู้ทุกคุณลักษณะหลังการอบรมตามรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในส่วนของความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรม พบว่า ก่อนและหลังการเข้ารับการฝึกอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด
Other Abstract: The objectives of this study were: (1) to analyze concepts of qualities of transformational leader teachers in learning management, (2) to develop a training program model of transformational leader teachers in learning management for teachers in Rajabhat University Educational Regions and, (3) to evaluate the training program model of transformational leader teachers in learning management for teachers in Rajabhat University Educational Regions. The sampling groups were 357 secondary school teachers for data collection in secondary schools in Sakon Nakhon Rajabhat University Educational Region and 30 teachers for experimental group. The study followed these five steps: 1) to analyze data; 2) to make an outline of the training program model; 3) to check the training program model; 4) to implement the training program model; and 5) to evaluate and adjust the training program model. Data analysis was done by document analysis and using percentage, mean, and standard deviation and t-test of Dependent Samples, One-Way Repeated Measures ANOVA and Bonferroni method, qualities evaluation by using rubric scoring. The research results found that : the concepts of qualities of transformational leader teachers in learning management were to show the behaviors that indicate having an enduring understanding about the instruction based on educational reform. These some qualities include the abilities to explain, interpret, apply, analyze have multiple perspectives and understand themselves and others. Six qualities of the transformational leader teachers in learning management had a higher average percentage score after the experimentation than the set criterion, as for the fifth quality that is to understand and empathize others, had the highest average percentage score. The model of training program has the following components: Principle, Objectives, Program evaluation and measurement, Content, Training activities, and Roles of resource persons and trainees. After conducted post-test, it is found that all characteristics of transformational leader teachers in learning management were higher than pre-test of training program at a significant level, which is .01.This research also found that a significant difference between the pre-test and post-test scores of trainees’ knowledge and understanding about teachers transformational leader teachers in learning management the 0.01 level. In term of satisfaction in the training program model, it is found that trainees had the highest satisfaction level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36083
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1051
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1051
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bhumbhong_jo.pdf9.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.