Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36107
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทวัฒน์ บรมานันท์-
dc.contributor.advisorบุญอนันต์ วรรณพานิชย์-
dc.contributor.authorฉันทิกา กุลธำรงค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-10T11:59:10Z-
dc.date.available2013-10-10T11:59:10Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36107-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับหลักความรับผิดชอบของรัฐโดยปราศจากความผิด ซึ่งหลักดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า การดำเนินกิจกรรมของรัฐในบางกรณีซึ่งได้กระทำโดยไม่ปรากฏความผิดใดๆ แต่หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล และต้องให้ผู้ได้รับความเสียหายแบกรับภาระความเสียหายนั้นไว้เองแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม รัฐจึงสมควรต้องรับผิดชอบเยียวยาความเสียหายดังกล่าวนั้น ในระบบกฎหมายฝรั่งเศส หลักความรับผิดชอบของรัฐโดยปราศจากความผิดได้พัฒนาขึ้นโดยเหตุผลเรื่องความเสี่ยงภัยและการสูญเสียหลักความเสมอภาคของพลเมืองต่อการรับภาระสาธารณะ และได้ขยายขอบเขตการนำมาใช้มากขึ้น โดยกฎหมายลายลักษณ์อักษรหลายฉบับได้กำหนดเรื่องดังกล่าวเอาไว้ ส่วนศาลปกครองฝรั่งเศสก็ได้วางหลักกฎหมายดังกล่าวในการวินิจฉัยคดีเช่นกัน ส่วนในระบบกฎหมายไทย มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรหลายฉบับบัญญัติให้รัฐรับผิดชอบในกรณีต่างๆ โดยปราศจากความผิดเช่นกัน แต่หลักดังกล่าวยังคงมีขอบเขตที่จำกัด เพราะยังขาดความเข้าใจในการพัฒนาหลักในเรื่องนี้ และถึงแม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กำหนดให้ ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่น ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดช่องให้ มีการพัฒนาหลักกฎหมายดังกล่าวขึ้นได้ก็ตาม แต่ศาลปกครองไทยยังมิได้นำมาใช้เพื่อพัฒนาหลักกฎหมายดังกล่าวในการพิจารณาคดี นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความไม่ชัดเจนในเรื่อง เขตอำนาจศาลในคดีดังกล่าว และปัญหาหลักเกณฑ์ในการเยียวยาความเสียหายที่ยังแตกต่างกันในแต่ละกรณี วิทยานิพนธ์นี้จึงเห็นว่าสมควรพัฒนาหลักความรับผิดชอบของรัฐโดยปราศจากความผิดในระบบกฎหมายไทยให้เป็นระบบยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนขอบเขตของกรณีต่างๆ ที่จะอยู่ภายใต้หลักดังกล่าว ความชัดเจนเรื่องเขตอำนาจศาลปกครอง และหลักเกณฑ์ในการเยียวยาความเสียหาย โดยอาศัยการตราหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย และส่งเสริมให้ศาลปกครอง นำหลักกฎหมายดังกล่าวไปปรับใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีมากยิ่งขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis has studied about the principle of the state responsibility without fault. The principle is based on a concept that if any state activities without fault cause any damages to a person and the victim has to suffer such damages by his own burden, it will be unfair. The state should, therefore, take a responsibility to redress the injury. In French law system, the principle of the state responsibility without fault has been developed from the theory of risk and the principle of failure on equality before public burdens and has applied broadly. Several legislations have provided this principle and the French Administrative Court has also played an important role by applying this principle to the cases. Whereas in Thai law system, even though there are some legal provisions provided state responsibility without fault, the development of this principle is still limited. Although the Act on Establishment of Administrative court and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999) has provided that the Administrative court has a jurisdiction on other liabilities, which means the way to advance this legal principle, the Thai Administrative Court has still not applied this principle to the cases. Furthermore, there have been the problem of uncertain jurisdiction on such cases and the problem of the rules and conditions of the redress of injury, which are different as the case may be. In conclusion, this thesis has suggested that the principle of the state responsibility without fault in Thai law system should develop rationally. This has included the scope of such cases under this principle, the certain jurisdiction of the Administrative Court, and the means of the redress of injury. To achieve the suggestion, some legislation should be enacted or amended and, the Administrative Court should take more active role on applying this legal principle to the Administrative Court case.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.872-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความรับผิดของราชการen_US
dc.subjectความรับผิดของราชการ -- ไทย -- ฝรั่งเศสen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539en_US
dc.subjectพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกคราอง พ.ศ.2542en_US
dc.subjectGovernment liability -- Thailand -- Frenchen_US
dc.titleความรับผิดชอบของรัฐโดยปราศจากความผิด : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายฝรั่งเศสกับกฎหมายไทยen_US
dc.title.alternativeState responsibility without fault : comparative study on French and Thai lawen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.872-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chantika_ku.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.