Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36130
Title: การเตรียมวัสดุเชิงประกอบไคโตซานและไฮดรอกซีอะพาไทต์ด้วยกระบวนการแพร่ผ่านแผ่นเยื่อ
Other Titles: Preparation of chitosan/hydroxyapatite composites via membrane diffusion process
Authors: ดุสิดา สหาวัตร
Advisors: วันเพ็ญ เตชะบุญเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วัสดุเชิงประกอบ
ไคโตแซน
ไฮดรอกซีอะพาไทต์
Composite materials
Chitosan
Hydroxyapatite
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมวัสดุเชิงประกอบไคโตซานและไฮดรอกซีอะพาไทต์ด้วยกระบวนการแพร่ผ่านแผ่นเยื่อ ในกระบวนการนี้ใช้แผ่นเยื่อชะลออัตราการแพร่ผ่านของแคลเซียมไอออนและฟอสเฟตไอออนไปยังสารละลายไคโตซานทำให้เกิดเป็นไฮดรอกซีอะพาไทต์ในสารละลายไคโตซานแล้วนำสารละลายผสมที่ได้ไปขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์ม จากการทดลองหาภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมวัสดุเชิงประกอบไคโตซานและไฮดรอกซีอะพาไทต์ พบว่าเวลาในการแพร่ผ่าน 72 ชั่วโมงและความเข้มข้นสารละลายไคโตซาน 1.75 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เป็นภาวะที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการแพร่ผ่านแผ่นเยื่อ ลักษณะสัณฐานวิทยาจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบไฮดรอกซีอะพาไทต์มีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนรูปเข้ม เมื่อใช้ความเข้มข้นของสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ 0.2 โมลต่อลิตร และสารละลายไดโซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟต 0.12 โมลต่อลิตร แต่จะพบการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของไฮดรอกซีอะพาไทต์ เมื่อใช้ความเข้มข้นของสารละลายทั้งสองสูงขึ้น จากเทคนิคแอทเทนนูเอทเตทโททอลรีเฟรกชันฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดพบพีกลักษณะเฉพาะของหมู่ฟอสเฟตและเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันแสดง 2Ө พีกของผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์ จากผลการทดลองนี้ ชี้ให้เห็นว่าสามารถสังเคราะห์ไฮดรอกซีอะพาไทต์ในสารละลายไคโตซานที่มีการกระจายตัวที่ดีได้ด้วยกระบวนการแพร่ผ่านแผ่นเยื่อเนื่องจากเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของแคลเซียมไอออนและฟอสเฟตไอออน ยังคงมีแคลเซียมไอออนหลงเหลืออยู่ภายในโมเลกุลไคโตซานหลังจากการก่อเกิดไฮดรอกซีอะพาไทต์ และส่งผลให้เกิดคีเลชันระหว่างไคโตซานและแคลเซียมไอออนที่หลงเหลือได้
Other Abstract: This research studied the preparation of chitosan/hydroxyapatite composite via membrane diffusion process. In this process, membrane was used to slow down the diffusion rate of Ca²⁺ions and PO₄³⁻ions to chitosan solution, resulting in hydroxyapatite formation into chitosan solution. The obtained mixture solution was then cast to be film. To study the appropriate condition to prepare the chitosan/hydroxyapatite composites, diffusion time 72 hour and chitosan concentration 1.75 wt% were found to be the appropriate condition for membrane diffusion process. SEM observation showed cluster of needle-shaped of hydroxyapatite when using 0.2 M calcium chloride solution and 0.12 M disodium hydrogen phosphate solution, but showed the aggregation of hydroxyapatite when using higher concentration of both solutions. From ATR-FTIR showed specific peak of phosphate group. XRD showed 2Ө peak of hydroxyapatite crystal. From these results indicated that hydroxyapatite can be synthesized into chitosan solution with good dispersion by membrane diffusion process. Due to some Ca²⁺ions remaining inside chitosan molecule after hydroxyapatite formation when increasing Ca²⁺ions and PO₄³⁻ions concentration, resulting in the chelate formation between chitosan and the remaining Ca²⁺ions.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36130
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.271
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.271
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
dusida_sa.pdf7.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.