Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36190
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปองสิน วิเศษศิริ-
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะ-
dc.contributor.authorพัชรินทร์ ศิริสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-16T03:08:28Z-
dc.date.available2013-10-16T03:08:28Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36190-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและกลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนและพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนสำหรับผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยเชิงพรรณนารูปแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนที่มีแบบบริหารที่ดี (Best Practice) ของตนเอง จำนวน 17 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 204 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย งานวิจัยนี้ใช้วิธีกำหนดกลยุทธ์จากตาราง TOWS Matrix โดยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ SWOT ผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารแผนปฏิบัติราชการประจำปีและผลการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ตรวจสอบและประเมินกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่นำกลยุทธ์ไปใช้จากผู้บริหารโรงเรียน 6 กลุ่ม เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จำนวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า สภาพทั่วไปและกลยุทธ์การบริหารเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีการดำเนินงานตามองค์ประกอบการบริหารเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน 7 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยการดำเนินงานจากด้านที่มากที่สุดไปจนถึงการดำเนินงานในด้านที่น้อยที่สุด ดังนี้ 1) การกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลง 2) ปัจจัยที่สนับสนุนให้การเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จ 3) บทบาทหน้าที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 4) กลวิธีการเปลี่ยนแปลง 5) กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง 6) กระบวนการเปลี่ยนแปลง 7) การลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ส่วนสภาพการใช้กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากแบบกลยุทธ์ที่ใช้มากที่สุดไปจนถึงแบบกลยุทธ์ที่ใช้น้อยที่สุด คือ 1) กลยุทธ์แบบใช้เหตุผล 2) กลยุทธ์แบบให้เห็นคุณค่าและให้การศึกษาใหม่ 3) กลยุทธ์แบบเรียนรู้ร่วมกัน 4) กลยุทธ์แบบใช้พลังอำนาจ การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนสำหรับผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมี 4 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์ร่วมคิดร่วมทำ นำสู่การปฏิบัติที่ดี 2) กลยุทธ์ประสานความคิด กำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลง 3) กลยุทธ์พัฒนาทีมงานเข้มแข็งเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน 4) กลยุทธ์พัฒนาความรู้ใหม่ใช้งานวิจัยเป็นฐานการเปลี่ยนแปลงen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the general condition and planned change management strategies, and to develop planned change management strategies for administrators in primary schools under Bangkok Metropolitan Administration by using descriptive research as model of mixed methodology with collecting qualitative data by interviewing school administrators, which were best practices of 17 schools. Research tools were semi-structured interviews and document analysis. Quantitative data were collected by using a questionnaire of 204 schools under Bangkok Metropolitan Administration. Data were analyzed by analysis of frequency, percentage, mean. This research determined strategies by the table of TOWS Matrix from the results of questionnaire analysis, SWOT analysis, document analysis from official annual action plan, and the results of synthesis from interviews. The strategies were reviewed and evaluated by a panel of experts and persons using the strategies from school administrators of 6 management area in Bangkok Metropolitan Administration, in the total of 17 people. The research results showed that general condition and planned change management strategies of the administrators in primary schools under the Bangkok Metropolitan Administration had implemented with 7 factors as the followings from the most average performances to the least: 1) change-goal determination, 2) change-supporting factors, 3) change-leadership roles, 4) change implementation, 5) change strategies, 6) change transformation, and 7) change-resistant reduction. The planned change management strategies used by the administrators in primary school under Bangkok Metropolitan Administration showed from the most using to the least using as the followings:1) empirical-rational strategies, 2) normative-re-education strategies, 3) teamwork learning strategies, and 4) power-coercive strategies. To develop planned change management strategies for administrators in primary schools under Bangkok Metropolitan Administration, there were 4 strategies: 1) teamwork strategies to be best practices, 2) integrated ideas strategies to determine change goals, 3) developing teamwork strategies to be sustainable changes, 4) new-knowledge-developing strategies to be changes based on researches.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1127-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหารen_US
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียนen_US
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษาen_US
dc.subjectSchool management and organizationen_US
dc.subjectSchool administratorsen_US
dc.subjectElementary schoolsen_US
dc.titleการพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนสำหรับผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeDevelopment of planned change management strategies for administrators in primary school under Bangkok Metropolitan Administrationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpongsin.v@chula.ac.th-
dc.email.advisorssiridej@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1127-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patcharin_si.pdf4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.