Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36208
Title: การสลายเดกซ์แทรนบนแบบจำลองพื้นเรียบด้วยเดกซ์แทรนเนสจากจุลินทรีย์
Other Titles: Degradation of dextran on smooth surface model by microbial dextranases
Authors: ณฤดี อัศวเสรีเลิศ
Advisors: สุเทพ ธนียวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: tsuthep@chula.ac.th
Subjects: เดกซ์แทรน
เดกซ์แทรนเนส
จุลชีววิทยาอุตสาหการ
Dextran
Dextranase
Industrial microbiology
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาความสามารถในการลดการยึดติดของ Streptococcus sobrinus 6715 บนแบบจำลองพื้นเรียบโดยใช้เดกซ์แทรนเนสที่ผลิตได้จากจุลินทรีย์ ทั้งในระบบการจำลองเพื่อนำเดกซ์แทรนเนสไปใช้เพื่อป้องกันการเกิดคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก และการสลายคราบจุลินทรีย์นอกช่องปาก เช่น อุปกรณ์ที่ใช้กับช่องปาก อุปกรณ์ทางทันตกรรม เป็นต้น เดกซ์แทรนเนสที่ใช้ในงานวิจัยนี้ได้มาจากแบคทีเรีย Arthrobacter sp. AG-2 และรา Penicillium pinophilum SMCU 3-14 ที่ถูกชักนำด้วยเดกซ์แทรนเกรดอุตสาหกรรมที่มีพันธะ a-1,6 ในปริมาณมาก และเดกซ์แทรนที่ได้จาก S. sobrinus 6715 ที่ผลิตขึ้นเองในงานวิจัยนี้ ซึ่งมีพันธะ a-1,3 ในสัดส่วนที่มากกว่าพันธะ a-1,6 ผลจากการศึกษา พบว่า เดกซ์แทรนเนสจาก Arthrobacter sp. AG-2 ที่ถูกชักนำการผลิตด้วยเดกซ์แทรนจาก S. sobrinus 6715 นั้นมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดใหม่ของคราบจุลินทรีย์บนแบบจำลองพื้นเรียบได้ดีที่สุด โดยไม่พบคราบจุลินทรีย์เกิดขึ้นเลย และสามารถทำงานได้ดีในช่วงของค่าความเป็นกรด-ด่างที่กว้าง คือ 4.0-8.0 ถึงแม้เวลาจะผ่านไปนานจนถึง 7 ชั่วโมงประสิทธิภาพของการทำงานยังคงสม่ำเสมอ สำหรับการสลายคราบจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วบนแบบจำลองพื้นเรียบนั้น เดกซ์แทรนเนสจาก Arthrobacter sp. AG-2 ที่ถูกชักนำการผลิตด้วยเดกซ์แทรนเกรดอุตสาหกรรมให้ประสิทธิภาพในการสลายที่ดีที่สุด รองลงมาเป็นเดกซ์แทรนเนสจาก P. pinophilum SMCU 3-14 ที่ถูกชักนำการผลิตด้วยเดกซ์แทรนเกรดอุตสาหกรรม และเดกซ์แทรนจาก S. sobrinus 6715 ซึ่งสามารถสลายคราบจุลินทรีย์ได้ใกล้เคียงกัน โดยเดกซ์แทรนเนสทั้งสามนั้นทำงานได้ดีในทุกค่าความเป็นกรด-ด่างที่ทดสอบ คือ 4.0-8.0 ทั้งที่อุณหภูมิ 37 ๐ซ และที่อุณหภูมิห้อง
Other Abstract: The present study was conducted in order to study the ability of dextranase in reducing adherence of Streptococcus sobrinus onto smooth surface via the prevention as well as degradation of dextran based microbial plaques. Dextranase was produced by Arthrobacter sp. AG-2 and Penicillium pinophilum SMCU 3-14 via the induction of a-1,6 rich industrial grade dextran and a-1,3 rich dextran of S. sobrinus and vice versa. Dextranase from Arthrobacter sp. AG-2 via the induction of S. sobrinus 6715 dextran provided highest efficiency of plaque prevention on smooth surface with no trace of plaque was observed. This enzyme worked considerably well at broad pH range of 4.0-8.0. In case of preformed plaque, bacterial dextranase induced by industrial grade dextran was of better degradation than fungal dextranases while bacterial dextranase induced by bacterial dextran did not showed significant degrading activity. It is therefore concluded that bacterial dextranase induced by a-1,3 rich dextran is the best agent for plaque prevention but not to the degradation of preformed plaque while fungal dextranase either induced by bacterial or fungal dextran performed rather well in the latter case.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36208
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.356
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.356
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
naruedee_as.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.