Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36267
Title: การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ
Other Titles: The development of competency scale for nurses as mediators, government hospitals
Authors: อมราพร นาโควงค์
Advisors: สุชาดา รัชชุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Suchada.Ra@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลของรัฐ
พยาบาล -- การประเมิน
การไกล่เกลี่ย
สมรรถนะ
ความขัดแย้ง (จิตวิทยา)
Public hospitals
Nurses -- Evaluation
Mediation
Performance
Conflict (Psychology)
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาล จำนวน 8 คน กลุ่มพยาบาลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย จำนวน 408 คน และหัวหน้างานและรองหัวหน้างานของพยาบาลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย จำนวน 60 คน รวมทั้งหมด 476 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยเฉลี่ย เท่ากับ 0.85 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 โดยแบ่งวิธีการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์ตัวประกอบและรายการสมรรถนะของพยาบาลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ โดยทบทวนวรรณกรรมและบูรณการร่วมกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาล ขั้นตอนที่ 2 สร้างแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพยาบาลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย นำไปการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ตัวประกอบ สกัดตัวประกอบหลัก หมุนแกนแบบมุมแหลม ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ โดยการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างหัวหน้างานและรองหัวหน้างานของพยาบาลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย เพื่อตรวจสอบความตรง ความเที่ยง และความสอดคล้องของการประเมินระหว่างผู้ประเมิน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ ประกอบด้วย ตัวประกอบสมรรถนะ 5 ด้าน คือ ด้านกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง 22 ข้อ ด้านคุณธรรม จริยธรรม 12 ข้อ ด้านการพัฒนาองค์ความรู้การเจรจาไกล่เกลี่ย 9 ข้อ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลและการสร้างสัมพันธภาพ 6 ข้อ และด้านการทำงานเป็นทีม 4 ข้อ รวมเป็นสมรรถนะย่อย 53 ข้อ 2. คุณภาพของแบบประเมินด้านความตรง พบว่า ทุกข้อคำถามของแบบประเมินสามารถจำแนกพยาบาลที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยที่มีสมรรถนะสูงออกจากที่มีสมรรถนะต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คุณภาพของแบบประเมินด้านความเที่ยง พบว่า ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค .94 4. คุณภาพของแบบประเมินด้านความสอดคล้องของการประเมินระหว่างผู้ประเมิน พบว่า ในโรงพยาบาลศูนย์ ได้ค่าเท่ากับ .97 และโรงพยาบาลทั่วไป ได้ค่าเท่ากับ .92
Other Abstract: The purposes of this research were to develop and to test the competency scale of nurses as mediators worked in governmental hospitals. The sample of this study was divided into 3 groups including 8 nursing experts, 408 nurses as mediators and 60 head nurses and deputy head nurses as mediators. The research instrument was a 5-rating scale questionnaire about the competency assessment scale of nurses as mediators. The content must was validity by 7 experts nurse (The content validity of overall scale was approved by 7 experts with S-CVI/Ave = 0.85). And reliability revealed a Cronbach’s alpha coefficient of .92. The 1st phase is to synthesize elements and competency scale of nurses as mediators worked in the governmental hospitals by literature review and integrating data from interviewing the experts in nursing. The 2nd phase is to create a competency scale for nurses as mediators worked in the governmental hospital by collecting data from the nurses as mediators and analyzing the data with the techniques of component analysis, principal component extraction and oblique rotation. And the 3rd phase is to verify quality of the competency assessment scale for nurses as mediators worked in the governmental hospital by collecting the data from head nurses and deputy head nurses as mediators and using the Interclass Correlation Coefficient to verify structural validity, reliability, and assessment of interrater agreement between head nurses and deputy head nurses as mediators. The findings of this study were as follows: 1. The competency scale of nurses as mediators, governmental hospitals composed of 5 aspects; including the negotiation process as mediator 22 items, moral and ethics 12 items, development of the mediation knowledge 9 items, personal characteristics and interpersonal relationships 6 items and team working 4 items. So, there were total 53 competency items. 2. Quality of the competency assessment of validity showed that all questions of the assessment can be classified a high competency group from low competency group statistically significant at level .05. 3.Quality of reliability revealed that the Cronbach’s alpha coefficient was .94. 4. Quality of the consistency assessment of the interrater agreement between head nurses and deputy head nurses as assessors found that Interclass Correlation Coefficient revealed (ICC) of center hospital and general hospital were .97 and .92 respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36267
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2200
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2200
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ammaraporn_na.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.