Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36286
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรมินท์ จารุวร-
dc.contributor.authorณีรนุช แมลงภู่-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2013-10-19T07:28:30Z-
dc.date.available2013-10-19T07:28:30Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36286-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractศึกษาอนุภาคการให้รางวัลและการลงโทษในนิทานพื้นบ้านไทยที่รวบรวมได้จาก สารานุกรมวัฒนธรรม จำนวน 897 เรื่อง มีอนุภาคทั้งสิ้น 1,961 อนุภาค เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและความหมายเชิงวัฒนธรรมจากอนุภาคดังกล่าวทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับสังคมไทยโดยรวม ผลการศึกษาพบว่า อนุภาคดังกล่าวสะท้อนลักษณะร่วมทางความคิดว่า 1) ผู้ให้รางวัลและผู้ลงโทษมักเป็นเพศชายที่เป็นชนชั้นสูงและเป็นพ่อหรือสามี และสิ่งเหนือธรรมชาติ นอกจากนั้นยังมีอนุภาคที่ไม่กล่าวถึงผู้ให้รางวัลหรือผู้ลงโทษ แต่กล่าวว่าตัวละครได้รับรางวัลหรือถูกลงโทษจากผลแห่งการกระทำหรือผลกรรมของตนเอง 2) ผู้รับรางวัลและผู้ถูกลงโทษมักเป็นตัวละครชนชั้นล่าง คือทุคตะกำพร้า คนสามัญ และตัวละครหญิงที่เป็นภรรยาและลูกสาว 3) การกระทำที่ได้รับรางวัลและการกระทำที่ถูกลงโทษเน้นเรื่องการทำดีและการทำความผิดทางพุทธศาสนา ความผิดเรื่องชู้สาว และการกระทำผิดต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 4) รางวัลที่ได้รับมักเป็นรางวัลเกี่ยวกับความร่ำรวยและการได้คู่ครอง ส่วนการลงโทษมักเป็นการลงโทษให้ถึงแก่ความตาย เนรเทศ และการลงโทษด้วยอำนาจวิเศษ 5) เงื่อนไขของการได้รับรางวัล เน้นว่าจะได้รับรางวัลหากปกป้องบ้านเมือง ช่วยชีวิตสิ่งเหนือธรรมชาติ และทำความดีทางพุทธศาสนา ส่วนเงื่อนไขของการถูกลงโทษเน้นว่าหากผู้หญิงคบชู้หรือผู้ใดลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะถูกลงโทษ อนุภาคการให้รางวัลและการลงโทษยังสื่อให้เห็นความหมายเชิงวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่นและสังคมไทยโดยรวม กล่าวคือ เมื่อพิจารณาจากลักษณะร่วมที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านของทุกภาค พบว่าสิ่งที่เน้นย้ำคือเรื่องของการทำความดีและความชั่วทางพุทธศาสนา แต่เมื่อพิจารณาจากลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านแต่ละภาคพบว่า นิทานพื้นบ้านภาคเหนือสะท้อนให้เห็นความสำคัญของการทำทาน ภาคอีสานให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารการกิน ภาคกลางให้ความสำคัญกับการปกป้องบ้านเมือง และภาคใต้ให้ความสำคัญกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และความกตัญญุ ส่วนในระดับสังคมไทยโดยรวมพบว่า อนุภาคดังกล่าวสะท้อนความหมายเชิงวัฒนธรรมเกี่ยวกับบรรทัดฐานของสังคมไทยซึ่งสัมพันธ์กับเรื่องของชนชั้น พุทธศาสนา สิ่งเหนือธรรมชาติ ความเหลื่อมล้ำทางเพศ และความสัมพันธ์ในครอบครัวen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis is the study on 1,961 reward and punishment motifs in 897 Thai folktales collected from the Encyclopedia of Thai Culture. the objective of the study is to analyze the characteristics and cultural meanings from such motifs at local and national levels. The results from the study reveal that reward and punishment motifs share certain ideas, which are 1) the rewarder and punisher were male higher status people and fathers or husbands, and supernatural characters, moreover, some motifs did not mention about rewarder or punisher, but mention that the characters were rewarded and punished by good and evil deeds of their own. 2) those who were rewarded or punished were lower status people such as the poor, orphans, common pheasants, as well as wives and daughters; 3) the deeds that deserved rewards and punishment were good and evil deeds in the Buddhist ideas, adultery, and wrong doings to the supernatural characters; 4) rewards were wealth and spouses whilst punishments were death, exile, and natural disaster; and 5) rewarding conditions were to protect a city, to save the life of a supernatural character, and to do good deeds in Buddhism whilst conditions that led to punishments were adultery and profanity to a supernatural character. Reward and punishment motifs also reflect cultural meanings at local and national levels. Locally considered, the shared characteristics found in all regions emphasize good and bad behavior in Buddhism principle. The specific characteristics in each region reflect that, northern folktales emphasize almsgiving while northeastern folktales are emphatic on food. folktales in the central region of Thailand emphasize security of the city whereas those of the south concentrate on sacred things and gratitude. When considered in Thai society, the cultural meanings portrayed by such motifs are related to the "Norms of Thai Society" in terms of social classes, Buddhism, supernatural powers, sex discrimination, and relationship among family members.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.246-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectรางวัลen_US
dc.subjectการลงโทษen_US
dc.subjectวัฒนธรรมไทยen_US
dc.subjectนิทานพื้นเมืองไทยen_US
dc.subjectAwardsen_US
dc.subjectPunishmenten_US
dc.subjectReward (Buddhism)en_US
dc.subjectFolk literature -- Thailanden_US
dc.titleอนุภาคการให้รางวัลและการลงโทษในนิทานพื้นบ้านไทย : ลักษณะและความหมายเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.title.alternativeReward and punishment motifs in Thai folktale : characteristics and cultural meaningsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPoramin.J@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.246-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
neeranooch_ma.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.