Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36287
Title: กระบวนการสื่อสารของเยาวชนในการเสริมพลังสร้างสุขภาวะรอบโรงเรียน
Other Titles: Youth communication process in promoting well-being around schools
Authors: เนตรธิรางค์ คะอูป
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parichart.S@chula.ac.th
Subjects: โรงเรียน -- บริการส่งเสริมสุขภาพ
สุขภาวะ -- การสื่อสาร
พฤติกรรมสุขภาพในวัยรุ่น -- การสื่อสาร
การสื่อสารทางการแพทย์
Schools -- Health promotion services
Well-being -- Communication
Health behavior in adolescence -- Communication
Communication in medicine
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงแบบสหวิทยาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. กระบวนการสื่อสารของเยาวชนในการเสริมพลังสร้างสุขภาวะรอบโรงเรียน 2. การรับรู้และพฤติกรรมด้านสุขภาวะของเยาวชนจากการเสริมพลังสร้างสุขภาวะรอบโรงเรียน และ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมและเป็นอุปสรรคในการสื่อสารของเยาวชนในการเสริมพลังสร้างสุขภาวะรอบโรงเรียน ในส่วนงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ 1. การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) 2. การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary analysis) 3. การสนทนากลุ่ม (Focus group) และ 4. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant observation) ในส่วนการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง โดยเลือกศึกษา 3 โรงเรียนในเขตกรุงเทพและปริมณฑลในโครงการแผนที่สุขภาพเพื่อเพิ่มพื้นที่ดี ลดพื้นที่เสี่ยงรอบโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย โรงเรียนโพธิสารพิทยากรและโรงเรียนสายปัญญารังสิต ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า 1. กระบวนการสื่อสารของนักเรียนแกนนำกับนักเรียนในโรงเรียน นักเรียนแกนนำกับครูแกนนำ นักเรียนแกนนำกับผู้บริหารโรงเรียน และนักเรียนแกนนำกับผู้นำชุมชน มีรูปแบบการสื่อสารที่ผสมผสานกัน ระหว่างการสื่อสารแบบแนวดิ่ง (Vertical communication) และการสื่อสารแบบแนวนอน (Horizontal communication) นักเรียนแกนนำ มีรูปแบบการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ โดยใช้กลยุทธ์ในเชิงบวก (Positive) ผ่านสื่อบุคคล (Personal media) และสื่อกิจกรรม (Activity media) ทั้งภายในโรงเรียน และภายนอกโรงเรียน 2. การสื่อสารของเยาวชนในการระดมพลังสร้างสุขภาวะรอบโรงเรียน ในขั้นการวิเคราะห์ชุมชน (Community analysis) มีการสร้างความรู้ เกี่ยวกับสุขภาวะรอบโรงเรียนด้วยการการอบรมโครงการแผนที่สุขภาพฯ จากนั้นจึงนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติ และสรุปข้อมูลเพื่อหาแนวทางสร้างสุขภาวะที่ดีในพื้นที่ ส่วน 2. การออกแบบและการริเริ่มกิจกรรม (Design and Intiation) มีการการวางแผนจัดกิจกรรม และการประสานความร่วมมือกับชุมชน และการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก 3. ขั้นการดำเนินกิจกรรม (Implementation) โดยมุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือของพันธมิตร 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเยาวชน กลุ่มชุมชน และกลุ่มหน่วยงานรัฐ ประกอบกับส่งเสริมให้เยาวชน ชี้ปัญหาด้านสภาวะแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อความสุขภาวะของคนในชุมชน และสุขภาวะของนักเรียน 4. ขั้นการรักษาการเชื่อมประสานกัน โดยหนุนเสริมให้เกิดผลลัพธ์ต่อเนื่องในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน และชุมชน ผ่านสื่อบุคคล และสื่อกิจกรรม โดยเยาวชนแผนที่สุขภาพฯ และ 5. การแพร่กระจายและสร้างความคงทน โดย เยาวชนเป็นผู้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน และกลุ่มผู้ผลักดันโครงการฯ ได้แก่ ทีมประชาสัมพันธ์ของสสส.และสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ฯเป็นผู้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการแผนที่สุขภาพฯมีความแตกต่างด้านพฤติกรรมการสร้างสุขภาวะ และการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาวะในโครงการแผนที่สุขภาพแตกต่างจากนักเรียน ที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมแผนที่สุขภาพอย่างมีนัยยะสำคัญ นอกจากนี้การศึกษายังพบว่าปัจจัยที่ศึกษาคือ การรับรู้ พฤติกรรม และการมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยยะสำคัญ
Other Abstract: The purposes of this interdisciplinary research can be noticed as the studies of: 1. Communication process of youth in promoting well-being around school, 2. Perception and behavior in promoting well-being around school, and 3. Factors that promote or obstruct the communication process of youth in promoting well-being around school. The methods used during the qualitative study were: 1. In-depth interview, 2. Documentary analysis of the campaign plan, 3. Interview of focus group, and 4. Non-participant observation. Unlike the qualitative study, the survey research used questionnaires as the research tool, taken from 400 sample size. The results shown: 1.The communication process between the focus group and the other groups; including the other students, the teachers, the administrators, and the rulers, is found to be in mixed pattern of vertical and horizontal communication. The focus group communicates with positive strategy through personal media and activity media both inside and outside the school. 2.The communication of youth in promoting well-being around school can be processed in 5 steps: (1) Community analysis. At this step, the knowledge about well-being around school was made. Health mapping project was applied to the information they own. The conclusions from this period became the data to seek for the best ways of becoming well-being. (2) Design and initiation of the activity. The activity was then planned to allow many other organizations to participate together with the outsiders. (3) Implementation. The concept of this stage is to gather 3.3 groups of organizations, including the youth, the community, and the government. The youth were pushed forward to express the environmental problems that affect the well-being of the community and the students. (4) Maintenance consolidation. The process was continued to promote the firm relationship between the school and the community by using personal media and activity media in the youth health map. (5) Dissemination and durability. The youth disseminates the results in schools and push forwards the projects; advertisements of the Thai Health Promotion Foundation and the association of the doing-goods and public promotion. Quantitative research found that the students which participated in the health plan activities, compared to the student group that never participated, expressed significant difference of behaviors and perception of the health mapping project. More than that, It was found that the factors involved, including perception, behaviors and participation, noticeably have positive relationship to one another.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36287
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.95
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.95
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
netthirang_kh.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.