Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36292
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวรรณา สถาอานันท์-
dc.contributor.advisorตรีศิลป์ บุญขจร-
dc.contributor.authorปกรณ์ ลิมปนุสรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-19T08:22:00Z-
dc.date.available2013-10-19T08:22:00Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36292-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractการศึกษาปรัชญานิพนธ์เมิ่งจื่อ เพื่อความเข้าใจสารัตถะและความมุ่งหมายของตัวบทตลอดจนความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างเนื้อหากับการใช้วรรณศิลป์ ทั้งนี้โดยมุ่งวิเคราะห์ตัวบทตลอดทั้งเล่มจากเอกสารชั้นต้นที่เป็นภาษาจีนโดยตรง และเลือกวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลในขอบเขตของกลวิธีทางวรรณศิลป์ 3 วิธีที่ใช้เป็นหลักอยู่ในงานนิพนธ์เล่มนี้ ได้แก่การผูกแต่งบทสนทนา การอ้างอิงอดีต และการใช้แนวเทียบ ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาของปรัชญานิพนธ์เมิ่งจื่อนี้ ประกอบขึ้นมาจากการวิวาทะทางปัญญาระหว่างแนวคิดทางปรัชญาการปกครองหลายหลากแนวคิดที่เคลื่อนไหวเป็นกระแสพลวัตร่วมสมัยอยู่ในขณะนั้น ความประสงค์หลักของวรรณกรรมเล่มนี้คือความพยายามเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการปกครองและนำพาบ้านเมืองสู่สภาวะสังคมในอุดมคติโดยใช้ปรัชญาของขงจื๊อเป็นแก่น ประสมประสานกับปรัชญาต่างแนวคิดและปรับเปลี่ยนรายละเอียดให้มีความประนีประนอมกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปแล้วจากสมัยของขงจื๊อ ความประนีประนอมกับบริบทสังคมและการประสมประสานแนวคิดต่าง ๆ เข้ากับแนวปรัชญาขงจื๊อดังกล่าว สังเกตเห็นได้จากตัวบทที่ใช้กลวิธีทางวรรณศิลป์ช่วยในการแสดงออก กล่าวคือ ใช้การผูกแต่งบทสนทนาหยิบยกประเด็นปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาในรูปแบบของการถกเถียงตอบโต้กันทำให้เกิดบรรยากาศของการศึกษาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ใช้กลวิธีการอ้างอิงอดีตเสนอแนวทางการปกครองโดยแสดงแนวโน้มของการประนีประนอมรูปแบบหรือแนวคิดในหลาย ๆ มิติ เช่น การต่อรองสิทธิอำนาจและหน้าที่ระหว่างชนชั้นปกครองกับชนชั้นใต้ปกครอง การปรับเปลี่ยนจารีตโบราณให้เข้ากับธรรมเนียมปฏิบัติในสังคมใหม่ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว การปรับปรุงคติความเชื่อเก่าที่ถือคุณธรรมเป็นหลักให้เข้ากับคติใหม่ที่ถือผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง และใช้กลวิธีการใช้แนวเทียบสำหรับการปรุงแต่งให้ความหมายหรือภาพพจน์ต่าง ๆ ในตัวบทมีความชัดเจนขึ้นพร้อมกับสร้างความประสมกลมกลืนระหว่างอารมณ์กับเหตุผลเพื่อโน้มนำให้เกิดความรู้สึกคล้อยตามตัวบทได้โดยง่ายen_US
dc.description.abstractalternativeTo examine THE MENGZI in order to understand the essence and the functions of the text as well as the relationship between the content and its literary art. My analysis of the text is based primarily on the Chinese original document within the framework of three major literary modes, namely dialogue construction, past reference and analogy. It is found from the study that the content of THE MENGZI was derived from the intellectual debates between diversified dynamic contemporary political ideologies during that period. The main goal of this literary work was an attempt to propose a political ideology so as to propose an ideological model for society, i.e. to follow the Confucius’ philosophy as the core principle, combined with various thoughts, and adjusted in details to negotiate with changing context different from that in the time of Confucius. Contextual negotiation and integration of different thoughts with the Confucius’ philosophy were illustrated in THE MENGZI text via the use of three literary modes. Firstly, dialogues were used when topics were introduced for discussions, disputes and debates which consequently created the atmosphere of effective idea exchanges. Secondly, the strategy of past reference was utilized in order to offer an alternative political ideology by referring to different dimensions of possible negotiation modes such as negotiation between rulers and subordinates regarding rights to power and obligations, integration of traditional customs to correspond with common practices in the changing society, and modification of traditional beliefs focusing on ethical values toward benefit orientation goal. Lastly, analogy was applied so as to clarify the different images in the text as well as to integrate emotive and rational elements in order to convince the readers.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1089-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเม่งจื๊อen_US
dc.subjectปรัชญาจีนen_US
dc.subjectวรรณคดีจีน -- ประวัติและวิจารณ์en_US
dc.subjectMenciusen_US
dc.subjectPhilosophy, Chineseen_US
dc.subjectChinese literature -- History and criticismen_US
dc.titleวิวาทะทางปัญญาและกลวิธีทางวรรณศิลป์ในปรัชญานิพนธ์เมิ่งจื่อen_US
dc.title.alternativeIntellectual debates and modes of literary expression in the Mengzien_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwanna.Sat@Chula.ac.th-
dc.email.advisorTrisilpa.B@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1089-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pakorn_li.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.