Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36331
Title: การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมผู้สร้างสรรค์พุทธศิลป์เพื่อการธำรง และการสืบต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้การสร้างสรรค์พุทธศิลป์
Other Titles: Proposing way in promoting buddhism artist by presearing and transfering innovative learning culture
Authors: วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์
Advisors: อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร
จุลนี เทียนไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Ubonwan.H@Chula.ac.th
Chulanee.T@Chula.ac.th
Subjects: พิชัย นิรันต์ -- ผลงาน
ปริญญา ตันติสุข -- ผลงาน
นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน -- ผลงาน
พัดยศ พุทธเจริญ -- ผลงาน
ศิลปกรรมพุทธศาสนา
การเรียนรู้
พุทธศาสนา
Pichai Niran
Prarin Tantisuk
Nonthivathn Chandanaphalin
Phatyoth Buddhacharoen
Buddhist art
Learning
Buddhism
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการเรียนรู้ของผู้ สร้างสรรค์พุทธศิลป์ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการธำรง และการสืบต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้ การสร้างสรรค์พุทธศิลป์ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตกรณีศึกษาคือ ผู้สร้างสรรค์พุทธศิลป์สาขา ทัศนศิลป์ เนื่องจากทัศนศิลป์เป็นพื้นฐานของงานศิลปะหลายสาขาและมีการเผยแพร่ผลงาน อย่างกว้างขวาง การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยประวัติชีวิต การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.ขั้นตอนการคัดเลือกกรณีศึกษา 2.ขั้นตอนการเก็บข้อมูล 3.ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล 4.ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูล 5.ขั้นตอนการสรุปผลและนำเสนอข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ผู้สร้างสรรค์พุทธศิลป์ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1. อาจารย์พิชัย นิรันต์ 2.รองศาสตราจารย์ปริญญา ตันติสุข 3. ศาสตรเมธีนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน และ 4.รองศาสตราจารย์พัดยศ พุทธเจริญ โดยกลุ่มผู้สร้างสรรค์ดังกล่าว มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย แนวทางการเรียนรู้หลักใน 2 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย ด้านแรก การเรียนรู้ด้าน พระพุทธศาสนา โดยเน้นหลักธรรมคำสอน ด้านที่สอง คือ การเรียนรู้ด้านศิลปะที่เกิดจากการ ปลูกฝังโดยสภาพแวดล้อมที่ผู้เรียนรู้ได้เติบโตมา การเลือกสาขาวิชาเข้าศึกษาต่อในระดับการ ศึกษาต่างๆ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ทั้งสองด้านนั้นดำเนินไปอย่างผสมสาน แบ่งออกเป็น 3 ช่วง การเรียนรู้ คือ ช่วงชีวิตการเรียนรู้ ช่วงชีวิตการเติบโตและช่วงชีวิตการค้นหา ทั้งสามช่วง การเรียนรู้นั้นได้พัฒนาผู้เรียนสู่การเป็นผู้มีปรีชาสามารถในการสร้างสรรค์พุทธศิลป์ ขณะเดียวกัน กระบวนการนี้ก็ได้กลายเป็นวิถีชีวิต การพัฒนาตัวตนและจิตใจของผู้สร้างสรรค์พุทธศิลป์ หล่อ หลอมให้ดำเนินชีวิตอยู่บนวิถีที่มุ่งสู่ปัญญาเป็นเป้าหมายระดับสูง และแนวทางการธำรงและ สืบต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้การสร้างสรรค์พุทธศิลป์ ประกอบด้วย การใช้กลไกทางสังคมสำหรับ ดำเนินการธำรงและสืบต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้การสร้างสรรค์พุทธศิลป์ ประกอบด้วย สถาบัน ครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันรัฐ สถาบันศาสนา สถาบันวิชาชีพ สถาบันเศรษฐกิจ และสถาบันสื่อมวลชน ซึ่งกลไกสังคมต่างๆ นั้นต้องมีแนวทางการสร้างความศรัทธา การถ่ายทอด ความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่เอื้อต่อวัฒนธรรมการสร้างสรรค์พุทธศิลป์ มีการสร้างแรงบันดาลใจ ทางศิลปะ และการถ่ายทอดความรู้ทางศิลปะที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์พุทธศิลป์
Other Abstract: The research objectives aimed to study the various learning cultures of Buddhist artists in order to best preserve and learn how to transfer this knowledge to others. The researcher has recruited two groups of informants: four Thai well-known Buddhist artists in visual arts (Ajarn Pichai Niran, Associate Professor. Prarin Tantisuk, Professor Nonthivathn Chandanaphalin, and Associate Professor Phatyoth Buddhacharoen) and those who involved in art preservation (i.e. the academia, artists, and policy-makers). Life history, structured interview, and non-participant observation were employed in order to capture all of the research objectives. Research result revealed that each of the Buddhist artists has their own way in cultivating their knowledge in Buddhism arts, in which it was reflected through their individual identity and aspects of Buddhism that they believed in. In order to become a Buddhist artist, one must learn and live the life of Buddhism. The result also showed that there are similarities found in the learning culture—that is the artists usually are groom in Buddhism family and involved themselves in Buddhism practice since they were young. Before becoming a full-grown Buddhist artist, every artist has passed through three stages: 1. Learning about Buddhism and the making of Arts stage, 2. Growing by incorporating Buddhism into their lifestyle and inventing new creation of Buddhism Arts, and 3. Evolving one self identity as a Buddhism artist. In order to best preserve and transfer Buddhism art knowledge, it required many social institutions in Thai society to work hand in hand. The mechanism of preserving and transferring Buddhism arts strongly emphasize cooperation between family, education government, religious, professional, economics, and mass media institutions. Most importantly, recommendation for making Buddhism arts to be sustainable is to create space for Buddhism arts presentation and to build upon Thai society to be based on the spirit of believing in Buddhism faith, good moral, aesthetics, and truth.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36331
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.748
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.748
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wisit_po.pdf25.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.