Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36335
Title: ปัจจัยจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาล และเอกชน กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Discriminating factors of the health care consumers in governmental and private Hospitals, Bangkok metropolitan
Authors: สุธีราพร อ่วมคร้าม
Advisors: บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Boonjai.S@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลของรัฐ
โรงพยาบาลเอกชน
การตัดสินใจ
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
Public hospitals
Hospitals, Proprietary
Decision making
Hospital nursing services
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่สามารถจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน กรุงเทพมหานคร รวบรวมข้อมูลจากผู้รับบริการที่มารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลจำนวน 400 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้รับบริการที่มารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐบาลจำนวน200 คนและโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 200 คน วิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 กำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย โดยทบทวนวรรณกรรมร่วมกับการสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 สร้างแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แบบสอบถามที่มีข้อมูลครบถ้วน 400 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ100 ของจำนวนแบบสอบถามทั้งหมดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ( Discriminant analysis ) ด้วยวิธีขั้นตอน( Stepwise method) และวิธี Enter ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ตัวแปรจำนวน 2 ตัวแปรที่สามารถจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาล ได้แก่ มีการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ บุคคลใกล้ชิด ส่วนตัวแปรจำนวน 6 ตัวแปรที่สามารถจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลเอกชน ได้แก่ คุณภาพการรักษาของแพทย์ มีระบบการให้บริการที่ดี พฤติกรรมบริการของพยาบาล มีการประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลผ่านตามสื่อต่างๆ ราคาค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับบริการที่ได้รับ สถานที่ให้บริการโดยตัวแปรทั้ง 8 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์การเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชนได้ร้อยละ 99.25 2.สมการจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาลได้ถูกต้องร้อยละ 99.5 และสามารถพยากรณ์การเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลเอกชนได้ถูกต้องร้อยละ 99 โดยสมการจำแนกกลุ่มสามารถพยากรณ์การเป็นสมาชิกกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 99.25 คือ Z = .590 ( คุณภาพการรักษาของแพทย์ ) -.499( มีการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ) +.388(มีระบบบริการทดี)+.297(พฤติกรรมบริการของพยาบาล) )+.197(มีการประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลผ่านตามสื่อต่างๆ)-.195(บุคคลใกล้ชิด)+.143 (ราคาค่าใช้จ่ายมีความเหมาะสมกับบริการที่ได้รับ) )+.107 (สถานที่ให้บริการ)
Other Abstract: The purpose of this research was to determine the variable discriminating health care consumers , governmental hospitals and private hospitals, Bangkok metropolis. Data were collected from 400 health care consumers. The number of health care consumers in governmental hospitals and private hospitals was 200 in each group. Three main step were conducted. The first step was to conduct for research framework concept by literature review and interviewed through semi-structured format. A total of 10 health care consumers for interview. Of these, 5 were health care consumers in governmental hospitals and 5 were health care consumers in private hospitals,who serviced in that hospital more than 3 time per year. The second step was to develop the questionnaire. The questionnaire was judged to be acceptable by the panel of experts. The third step was collecting data. The research instrument consisted of the questionnaire. A total of completed questionnaires were 400 which was 100 percent of the total questionnaires. The data were analyzed by using discriminant analysis with stepwise and enter. Research finding were as follows: 1.The 2 variables discriminating health care consumers, governmental hospitals were Treatment is withdrawn,social factors.The 6 variables discriminating health care consumers, private hospitals were quality of medical treatment,good service system,behavioral health services, publictty through the media,value for money service and property. 2.The percent correctly discriminant function health care consumers, governmental hospitals and private hospitals were 99.5 and 99 percent respectively.The average percent correctly function was 99.25 .The discriminant function was Follow: Z =.590(QUALITY OF MEDICAL TREATMENT)-.499 (WITHDRAWN )+.388 (GOOD SERVICE SYSTEM)+.297(BEHAVIORAL HEALTH SERVICES)+.197(PUBLICTTY THROUNGH THE MEDIA)-.195(SOCIAL FACTORS)+1.43 (VALUE FOR MONEY)+.107 (PROPERTY)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36335
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1493
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1493
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sutreraporn_ua.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.