Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36351
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สำลี ทองธิว | - |
dc.contributor.advisor | พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์ | - |
dc.contributor.author | นวลทิพย์ อรุณศรี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-10-24T10:41:08Z | - |
dc.date.available | 2013-10-24T10:41:08Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36351 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | พัฒนาโปรแกรมการดำเนินงานตามทฤษฎีการสร้างความรู้ในองค์กร และแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ และประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมโดยใช้กรณีศึกษา วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก กลุ่มเป้าหมายในการทดลองมีจำนวน 42 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหัวหน้าภาคและคณาจารย์ จำนวน 17 คน และกลุ่มบุคลากรสนับสนุน จำนวน 25 คน การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นพัฒนาโปรแกรม ขั้นการทดลองใช้โปรแกรม และขั้นการประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสะท้อนความคิด แบบประเมินผลงาน และแบบประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีขั้นตอนการปฏิบัติ 9 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างกลุ่มชุมชนแนวปฏิบัติและการเตรียมความพร้อม ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์งานและระบุงานตามหน้าที่ ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์และนำเสนอปัญหาในการทำงาน การกำหนดความเร่งด่วนและเป้าหมายในการแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ 4 การเล่าเรื่องเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขั้นที่ 5 การสรุปแนวทางการแก้ปัญหาหรือแนวทางการปฏิบัติใหม่โดยจัดทำเป็นเอกสาร ขั้นตอนที่ 6 การหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติใหม่ ขั้นตอนที่ 7 การนำแนวทางการปฏิบัติใหม่ไปทดลองใช้ ขั้นตอนที่ 8 การสรุปข้อความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 9 การนำแนวทางปฏิบัติใหม่หรือความรู้ใหม่ไปเผยแพร่ในองค์กร จากการประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมตามตัวชี้วัดด้านลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 5 ข้อ พบว่า ตัวชี้วัดที่มีค่าอยู่ในระดับดี 2 ตัวชี้วัด เหมือนกันทั้ง 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ ด้านการมีวิธีคิดอย่างเป็นระบบและด้านความพึงพอใจในการเรียนรู้ร่วมกัน ส่วนตัวชี้วัดด้านมีการถ่ายทอดความรู้ฝังลึกระหว่างกันเพื่อสร้างแนวทางปฏิบัติงานใหม่หรือความรู้ใหม่ กลุ่มเป้าหมายหัวหน้าภาควิชาและคณาจารย์มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก ขณะที่กลุ่มเป้าหมายบุคลากรบุคลากร สนับสนุนมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี ตัวชี้วัดด้านการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ กลุ่มเป้าหมายหัวหน้าภาควิชาและคณาจารย์มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก และกลุ่มเป้าหมายบุคลากรสนับสนุนมีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับตัวชี้วัดด้านการร่วมกันหาแนวทางพัฒนางาน กลุ่มเป้าหมายหัวหน้าภาควิชาและคณาจารย์มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก และกลุ่มเป้าหมายบุคลากรสนับสนุนมีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับตัวชี้วัดด้านลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 10 ข้อ พบว่าวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกมีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในระดับดีมากใน 4 ตัวชี้วัดคือ ด้านการมีผลงานการสร้างความรู้เกิดขึ้นในวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ด้านผลงานการสร้างความรู้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและตรงตามความต้องการของ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ด้านผู้บริหาร มีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างความรู้และด้านมีกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ในวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ส่วนตัวชี้วัดที่อยู่ในระดับดีมี 6 ตัวชี้วัด คือด้านการมีระบบและกลไก การสร้างความรู้ในวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ด้านมีการสร้างความรู้ตามกระบวนการที่มีแนวคิดทฤษฎีสนับสนุน ด้านมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการมอบอำนาจในการปฏิบัติงานให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันในวิทยาลัยกองทัพบก | en_US |
dc.description.abstractalternative | To develop and assess a learning organization development program based on theory of organizational knowledge creation and action learning approach, using a case study of The Royal Thai Army Nursing College (RTANC).The targets of the experiment were forty-two in total, dividing into two groups comprising of three department heads and fourteen teachers, and another group of twenty-five supporting staffs. The research was conducted in four phases; preparation phase, program development phase, program implementation phase and evaluation phase. Data was collected through participant observation and in-depth interview using observation assessment form, interview form, personal reflection form and evaluation form for program output and outcome. The research result was found that the developed program had nine steps as follow: Step 1: Formation of groups of communities of practices and preparation. Step 2: Jobs analysis and tasks description. Step 3: Problems analysis: setting priority and goals in solving the problems. Step 4: Storytelling to share experience. Step 5: Summarizing of possible solutions or new courses of actions in the form of document.Step 6: Knowledge acquisition in order to develop new courses of actions.Step 7: Trial of new courses of actions. Step 8: Summarizing new knowledge gained from practice. Step 9: Sharing of new knowledge or new courses of actions in the organization. The evaluation of the efficiency of the program according to five indicators for becoming learning personnel revealed that two indicators at the level of "good" for both target groups were "systematic thinking" and" joint learning complacency", whereas indicators about transferring tacit knowledge among the group of department heads and teachers was at the level of "excellence" but for the group of supporting staffs it was at the level of "good". For the indicator about continually acquiring new knowledge, for the target group of department heads and teachers, it was at the level of "excellence" and for the group of supporting staffs it was only at the level of “moderate". About indicator for joint -effort job development, it was at the level of "excellence" for the group of department heads and teachers, and "moderate" for the group of supporting staffs. For ten indicators in becoming learning organization, it was found that RTANC had the characteristics of becoming learning organization at the level of "excellence" in the following four indicators; new knowledge creation; new knowledge creation which was useful for the development of and satisfied the need of RTANC, executives had participation in knowledge creation and having knowledge sharing, Other remaining six indicators were at "good" level. These indicators were: systematic knowledge creation, knowledge creation based on supporting concepts and theories, joint learning by communities of practices, determining joint vision, delegation of authority to target groups, and enhancing joint learning atmosphere in RTANC. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1136 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก | en_US |
dc.subject | การเรียนรู้องค์การ | en_US |
dc.subject | การบริหารองค์ความรู้ | en_US |
dc.subject | Royal Thai Army Nursing College | en_US |
dc.subject | Organizational learning | en_US |
dc.subject | Knowledge management | en_US |
dc.title | การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ในองค์กร และแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก | en_US |
dc.title.alternative | Development of a learning organization development program based on theory of organizational knowledge creation and action learning approach : a case study of the Royal Thai Army Nursing College | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | หลักสูตรและการสอน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sumlee.T@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Puangtip.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1136 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nuantip_ar.pdf | 6.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.