Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3637
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมุรธา พานิช-
dc.contributor.advisorสุชิต พูลทอง-
dc.contributor.authorหทัยชนก สุขเกษม, 2522--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-07-13T07:27:34Z-
dc.date.available2007-07-13T07:27:34Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9745326887-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3637-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าความแข็งของเคลือบฟันระหว่างเคลือบฟันปกติ เคลือบฟันที่ถูกสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา กับเคลือบฟันที่ถูกส่งเสริมให้มีการสะสมแร่ธาตุกลับคืนด้วยเคซีนฟอสโฟเปปไทด์-อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต (ซีพีพี-เอซีพี) และเพื่อเปรียบเทียบผลของซีพีพี-เอซีพีและน้ำลายเทียมต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความแข็งเคลือบฟันที่ถูกสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา โดยเตรียมชิ้นตัวอย่างจากเคลือบฟันของฟันกรามน้อยมนุษย์ที่ถูกถอนจำนวน 10 ซี่ โดยตัดแบ่งฟันตามแกนฟันในแนวด้านใกล้แก้ม-ใกล้ลิ้น และวัสดุค่าความแข็งของเคลือบฟันบริเวณหน้าตัดด้านในของฟันที่ระยะห่างจากขอบนอกของเคลือบฟัน 200 ไมครอน วัดค่าความแข็งของเคลือบฟันก่อนการทดลองด้วยเครื่องวัดความแข็งผิวแบบจุลภาคที่ใช้หัวกดวิกเกอร์ส จากนั้นทำให้เคลือบฟันเกิดการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา วัดค่าความแข็งของเคลือบฟันอีกครั้งเพื่อเป็นค่าความแข็งของเคลือบฟันหลังการสึกกร่อน ทำการส่งเสริมให้เกิดการสะสมกลับของแร่ธาตุโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย ซีพีที-เอซีพี น้ำลายเทียม ซีพีพี-เอซีพีร่วมกับน้ำลายเทียม และน้ำปราศจากไอออน วัดค่าความแข็งของเคลือบฟันเพื่อเป็นค่าความแข็งของเคลือบฟันหลังการทดลอง นำค่าความแข็งของเคลือบฟันก่อนการทดลอง หลังการสึกกร่อน และหลังการทดลองมาทดสอบด้วยสถิติแพร์แซมเปิล ที เทสท์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่าเครื่องดื่มโคลามีผลทำให้เคลือบฟันมีค่าความแข็งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ซีพีพี-เอซีพี น้ำลายเทียม และซีพีพี-เอซีพีร่วมกับน้ำลายเทียมทำให้ค่าความแข็งของเคลือบฟันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ซีพีพี-เอซีพี และซีพีพี-เอซีพีร่วมกับน้ำลายเทียมสามารถทำให้เคลือบฟันที่ถูกสึกกร่อนมีค่าความแข็งเพิ่มขึ้นได้มากกว่าน้ำลายเทียมอย่างมีนัยสำคัญen
dc.description.abstractalternativeThe aims of this study were to compare hardness of enamel, eroded enamel by a Cola drink and remineralized enamel by casein phosphopeptide-amorphous calcium phosphate (CPP-ACP) and to compare remineralization effect of CPP-ACP to that of artificial saliva. Thespecimens were prepared from 10 extracted human premolars, sectioned longitudinally in bucco-lingual direction. The hardness was measured at cutting surface 200 microns away from outer surface. Baseline vickers hardness was measured. The demineralization process was done by immersion of specimens in a Cola drink. The hardness measurements were repeated for demineralization hardness. For remineralization process, the demineralized specimens were randomly divided into 4 groups and 4 regimens of remineralization used CPP-ACP, artificial saliva, CPP-ACP with artificial saliva and deionized water. The hardness measurements were repeated for remineralization hardness. Baseline, demineralization and remineralization hardness were analyzed with Paired-sample T-Test and One Way ANOVA. The results from this in vitro study showed that the Cola drink had significantly negative effect on enamel hardness, while CPP-ACP, artificial saliva and CPP-ACP with artificial saliva had significantly positive effect on enamel hardness after demineralization. The remineralization effect of CPP-ACP and CPP-ACP with artificial saliva was significantly higher than that of artificial saliva.en
dc.format.extent912675 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1234-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเคลือบฟันen
dc.subjectน้ำอัดลมen
dc.subjectเคซีนฟอสโฟเปปไทด์-อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตen
dc.titleผลของเคซีนฟอสโฟเปปไทด์ - อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตต่อความแข็งของเคลือบฟันที่ถูกสึกกร่อนโดยเครื่องดื่มโคลาen
dc.title.alternativeEffect of casein phosphopeptide-amorphous calcium phosphate on hardness of enamel eroded by a cola drinken
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineทันตกรรมหัตถการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisormupanich@yahoo.com-
dc.email.advisorSuchit.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.1234-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
hathaichanok.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.